HomeFoods - Life“พระนครบาร์แอนด์แกลเลอรี่” การกลับมารีแบรนด์ของต้นตำหรับ “บาร์ลุง”

“พระนครบาร์แอนด์แกลเลอรี่” การกลับมารีแบรนด์ของต้นตำหรับ “บาร์ลุง”

แชร์ :

พระนครบาร์แอนด์แกลเลอรี่ (Phranakorn Bar & Gallery) ร้านอาหารดังย่านถนนราชดำเนินกลาง ขวัญใจเด็กยุค ’90 ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ด้วยการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อนที่มีความหลงใหลในศิลปะและรถเก่า อาศัยทำเลหัวมุมตึกสูง 4 ชั้น ถนนราชดำเนิน นั่นทำให้ลูกค้าร้านนี้ได้รับชมวิวยามค่ำคืนที่มีฉากหลังเป็น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และภูเขาทอง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา พระนครบาร์แอนด์แกลเลอรี่ได้กลายเป็นสถานที่ที่คนในวงการศิลปะ ผู้กำกับ และเอเจนซี่โฆษณา ตลอดจนนักศึกษา แวะเวียนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ใช่แค่แหล่งแฮงค์เอาท์แต่ยังแหล่งชุมชนของคนรักงานศิลปะที่มารับชมผลงานสร้างสรรค์พร้อมๆ กับชิมอาหารที่แซ่บถึงใจตามสไตล์ ที่ “พี่สยาม-สยาม เนียมนำ” หนึ่งในผู้กอ่ตั้ง เรียกร้านของตัวเองว่า “บาร์ลุง” ด้วยรสชาติจัดจ้าน กับแกล้มไม่มีของเบา มีแต่ของหนัก กินเป็นกับข้าวได้เลย

การกลับมาอีกครั้งของ “ตำนาน”

เพราะว่า “โควิด” ทำให้ธุรกิจร้านอาหารย่านพระนครซบเซาลงอย่างมาก ร้านในตำนานหลายแห่งโบกมือลาจากไป แต่ยังคงมี พระนครบาร์แอนด์แกลเลอรี่ ที่กัดฟันยืดหยัดมาจนกระทั่งได้ประกาศปิดตัวลงในเดือนกันยายน ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ร้านได้กลับมาเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของรุ่นน้องในวงการ พร้อมๆ กับหารปรับเรื่องการตลาดให้เข้ากับยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ การแบ่งพื้นที่ ให้ชั้น 1 เป็น “บาร์ลุง” จับกลุ่มคอมมูนิตี้คนรักศิลปะ กลุ่มเป้าหมายดั้งเดิมของร้าน พร้อมกับบรรยากาศเพลงเก่า ส่วนชั้น 3 จะยังเก็บไว้สำหรับเป็นแกลลอรี่แสดงผลงานาที่แวะเวียนสับเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ ให้ ศิลปินได้มีพื้นที่โชว์ และไฮไลต์ที่ ชั้นดาดฟ้า (Rooftop) ยังคงเสน่ห์ที่สามารถชมวิวภูเขาทองและบรรยากาศยามค่ำคืนของกรุงเทพฯ ได้อย่างสวยงาม

โดยมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ภายใต้คอนเซปต์ “พระนครบาร์คนละชั้น” ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นหลายโซน เช่น “บาร์ลุง” ที่ชั้น 1 ห้องกระจกบรรยากาศอบอุ่นเหมือนสังสรรค์ในชุมชน มองออกไปเห็นวิถีชีวิตของผู้คนย่านราชดำเนิน หรือ จะรับชมเกมฟุตบอลผ่านจอทีวี ส่วน ชั้น 3 เป็นพื้นที่ของ “Listening Bar” สำหรับคนรักเสียงเพลง และที่พลาดไม่ได้ก็คือ Rooftop ที่เป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ชั้น 2 ยังเป็นพื้นที่ที่เก็บไว้โชว์งานศิลปะของเพื่อนพ้องในแวดวง

Rooftop ที่แรกๆ ในเมืองไทย

ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น ธุรกิจบาร์และร้านอาหารในกรุงเทพฯ งัดเอารสชาติ รูปแบบของอาหารตลอดจนการตกแต่งร้านมาเป็นจุดเด่น เพื่อดึงดูดลูกค้า

สยาม เนียมนำ หนึ่งในผู้ก่อตั้งรุ่นแรก – ปัจจุบัน

ความโดดเด่นของพระนครบาร์ที่หาได้ยากก็คือ ชั้นดาดฟ้า (Rooftop) หัวมุมตึก ความสูง 4 ชั้น สามารถมองเห็นวิวเมืองย่านพระนคร ได้อย่างชัดเจน และอาจจะนับว่าเป็นบาร์แห่งแรกๆ ของกรุงเทพที่นำเอาดาดฟ้ามาดัดแปลงเป็นร้านนั่งชิล ล้ำสมัยเกินยุค

‘กับแกล้ม’ ของคนวัยเก๋า

นอกเหนือจากบรรยากาศที่แตกต่างจากที่อื่นด้วยกลิ่นอายกรุงเก่า “พระนครบาร์ฯ” ยังมีความโดดเด่นด้วย “เมนูอาหาร” จะเป็นกับแกล้ม หรือกินเอาอิ่มก็ได้ทั้งนั้น พร้อมกับความหลากลาย ทำให้ลูกค้ากลับมาซ้ำ ไม่ใช่แค่โดดใจเหล่าฟู้ดดี้ที่ตระเวนล่าร้านใหม่ๆ เท่านั้น

โดยเฉพาะอาหารไทยที่มีรสชาติแซ่บสาแก่ใจ เช่น “วุ้นเส้นผัดชะอมแหนม” ที่ปรับจากผัดสามเหม็น, “เนื้ออบชายเล็ก” สูตรดั้งเดิมจากรุ่นคุณยาย  “ไก่จ๋า” หนังหน้าอกไก่แผ่นยาว เมนูที่ถือกำเนิดขึ้นจากความเมา แต่กลายเป็นเมนูเด็ด

นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น “Long Island Ice Tea” ค็อกเทลคลาสสิกที่ผสมแอลกอฮอล์หลากหลายไม่น้อยกว่า 7 ชนิดเข้าด้วยกัน ที่เรียกได้ว่าเป็นเมนูเด็ดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชาวต่างชาติ ที่ครั้งหนึ่งได้รับการรีวิวจากหนังสือ Lonely Planet จน Expat และนักท่องเที่ยวต้องมาตามรอย  เพื่อท้าพิสูจน์ด้วยตัวเอง

 

พระนครบาร์ เคยผ่านยุคทองของช่วงสมัย ที่รุ่งเรืองพร้อมกับกระแสความนิยมของย่านราชดำเนินที่มีร้านเพื่อนบ้านมากมายฮิตไม่แพ้กัน กระทั่งวันเวลาเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งมรสุมครั้งใหญ่ของ Covid-19 ทำให้ความครึกครื้นในพื้นที่เงียบลงไปไม่เหมือนก่อน แต่ “พระนครบาร์” วันนี้กัดฟันกลับมาสู้รีแบรนด์อีกครั้ง และการกลับมาครั้งนี้ก็อาศัยพลังของสื่อโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อปลุกความคิดถึงให้หวนคืน

สำหรับใครที่สนใจเสพงานศิลป์ พร้อมๆ กับชิมอาหารรสชาติแซ่บๆ ต้นตำหรับอย่าง “พระนครบาร์แอนด์แกลเลอรี่” เขากลับมาให้บริการอีกครั้งแล้ว ชั้น 4 นั่งชิลล์เสพบรรยากาศยามตค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร พร้อมฟังเพลง ส่วนชั้น 1 เป็นแหล่งชุมนุมของพี่ๆ ศิลปินทั้งหลาย ที่ชั่วโมงนี้ยอมรับว่า “อ้อ…เพราะเดินขึ้นชั้น 4 ไม่ไหวกันแล้ว” สมชื่อ “บาร์ลุง”


แชร์ :