HomePR Newsผ่าธุรกิจมันฝรั่งทอดกรอบ “หมื่นล้าน” กับภารกิจ “เลย์” ดันเกษตรไทยและอุตสาหกรรมให้ยั่งยืน

ผ่าธุรกิจมันฝรั่งทอดกรอบ “หมื่นล้าน” กับภารกิจ “เลย์” ดันเกษตรไทยและอุตสาหกรรมให้ยั่งยืน

แชร์ :

“มันฝรั่ง” ถือเป็นหนึ่งในพืชอาหารที่สำคัญและมีศักยภาพสูงในเชิงเศรษฐกิจระดับโลก โดยติดอันดับหนึ่งใน 5 ของพืชอาหารที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดในโลก รองจากข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด และอ้อย โดยในปี พ.ศ. 2559 มีปริมาณการผลิตมันฝรั่งทั่วโลกถึง 376 ล้านตันต่อปี1สำหรับในประเทศไทยนั้น แม้ว่ามันฝรั่งจะไม่ได้เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยวซึ่งมีมูลค่านับหมื่นล้านบาท ทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อภาคเกษตรกรรมเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรไทยจำนวนกว่า 10,000 ครัวเรือน โดยมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเกษตรกรไทยเป็นจำนวนมากกว่า 1,270 ล้านบาทต่อปี2

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แม้ว่าจะมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศในฝั่งตะวันตก แต่มันฝรั่งก็สามารถปลูกได้ในประเทศไทยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมันฝรั่งเป็นพืชล้มลุกที่เติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงกลางวันอยู่ที่ประมาณ 24 – 26 องศาเซลเซียส ส่วนกลางคืนอยู่ระหว่าง 14 – 18 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม มันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างแป้งเป็นระยะเวลา 12 – 14 ชั่วโมงต่อวัน โดยทั่วไปมันฝรั่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “มันฝรั่งพันธุ์บริโภค” หรือที่ใช้รับประทานสด และ “มันฝรั่งพันธุ์โรงงาน” ซึ่งใช้สำหรับแปรรูปในโรงงานหรือผลิตเป็นมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ

สำหรับในประเทศไทยนั้น ได้มีการเพาะปลูกมันฝรั่งมาอย่างยาวนานในบริเวณภาคเหนือตอนบนเพื่อนำมาใช้บริโภคสด ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2530 – 2531 ได้เริ่มมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปแปรรูปเป็นมันฝรั่งทอดกรอบ เมื่อได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น ภายหลังจึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกและรับซื้อผลผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปผ่าน “โครงการทดลองปลูกมันฝรั่งเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูป”ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการหลวง บริษัทเอกชน สำนักงานเกษตรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มเกษตรกรในอำเภอสันทราย

ด้วยแนวโน้มการบริโภคมันฝรั่งทอดกรอบที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีส่งผลให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งเพิ่มมากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งรวมทั้งสิ้น 37,858 ไร่3แบ่งเป็นพันธุ์โรงงาน 35,482 ไร่ และพันธุ์บริโภค 2,376 ไร่ โดยมีผลผลิตรวม 107,103 ตันต่อปี4แบ่งเป็นพันธุ์โรงงาน 101,080 ตันต่อปี และพันธุ์บริโภค 6,023 ไร่ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ สกลนคร และนครพนม

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ในเครือเป๊ปซี่โค ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย “เลย์” ถือเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจมันฝรั่งแปรรูปที่ผลักดันให้ตลาดมันฝรั่งทอดกรอบมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา ตลาดมันฝรั่งทอดกรอบมีมูลค่าสูงถึง 10,612 ล้านบาท5และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 8.96ทั้งนี้ ในแต่ละปี ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณความต้องการมันฝรั่งพันธุ์โรงงานสูงถึง 140,000 – 150,000 ตัน โดยในปี พ.ศ. 2561 เกษตรกรไทยสามารถสร้างผลผลิตได้ถึง 114,903 ตัน7หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 75 ของปริมาณทั้งหมดโดยส่วนที่เหลือยังต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

นายเคิร์ธ พรีชอว์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจขนมขบเคี้ยว บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในฐานการผลิตหลักและเป็นตลาดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจของเป๊ปซี่โคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะธุรกิจขนมขบเคี้ยวซึ่งเราได้ทำตลาดมานานกว่า 20 ปี โดยมี ผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบเลย์ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้บริโภคและครองตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดมันฝรั่งทอดกรอบมากว่าทศวรรษ โดยปัจจุบัน มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าร้อยละ 758

“นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป๊ปซี่โคได้เริ่มดำเนินธุรกิจขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย เราได้ยึดถือนโยบายการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด ด้วยการมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนเกษตรกรไทยผ่าน‘โครงการส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนภายใต้สัญญาข้อตกลงซื้อขายผลผลิตมันฝรั่งที่กำหนดราคารับซื้อที่แน่นอน’เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชุมชนในทุกพื้นที่ที่เราดำเนินธุรกิจ โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกและรับซื้อมันฝรั่งจากเกษตรกรไทยราว 3,500 ราย ครอบคลุมพื้นที่การเพาะปลูกรวมกว่า 22,000 ไร่ใน 6 จังหวัดภาคเหนือ คือ  เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และตาก รวมถึง 2 จังหวัดในภาคอิสาน คือสกลนครและนครพนม”

“ปัจจุบัน ตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 36,000 ล้านบาท9โดยมีอัตราการเติบโตที่ประมาณ 6%10โดยมันฝรั่งทอดกรอบถือเป็นเซ็กเม็นต์ที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม – ตุลาคม 2561) มีอัตราการเติบโตสูงถึงถึง 14%11ซึ่งสะท้อนถึงปริมาณความต้องการของวัตถุดิบอย่างมันฝรั่งพันธุ์โรงงานที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง” นายเคิร์ธ กล่าวเสริม

นายชวาลา วงศ์ใหญ่ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า “เป๊ปซี่โคให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมมุ่งส่งเสริมความยั่งยืนในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเราจะเข้าไปทำงานกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิดเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะปลูกจากต่างประเทศ พร้อมพัฒนาทักษะความชำนาญให้กับเกษตรกรเพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น บริษัทฯ ยังได้ให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ อาทิ ปุ๋ย ยา รวมถึงหัวพันธุ์มันฝรั่งที่มีคุณภาพสูง นอกจากนี้ เรายังได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ เพื่อให้การสนับสนุนเกษตรกรในมิติต่างๆ อย่างครบวงจร”

“ไม่เพียงเท่านั้น เรายังได้รับซื้อผลผลิตมันฝรั่งจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าราคาประกันขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด โดยปัจจุบันราคาประกันการรับซื้อมันฝรั่งพันธุ์โรงงานในฤดูแล้ง (มกราคม – มิถุนายน) อยู่ที่ 10.60 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาประกันในฤดูฝน (กรกฎาคม – ธันวาคม) อยู่ที่ 14 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรในพัฒนาคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานที่สูงยิ่งขึ้นโดยแต่ละปี เป๊ปซี่โคได้รับซื้อผลผลิตมันฝรั่งจากเกษตรกรไทยทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 70,000 ตัน”

โครงการส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนฯ ของเป๊ปซี่โค ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มันฝรั่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงานเพื่อทดแทนพื้นที่เพาะปลูกกระเทียม หอมแดงและหอมหัวใหญ่ ให้ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากการเพาะปลูกมันฝรั่งในประเทศไทยกว่าร้อยละ 90 อยู่ภายใต้ระบบสัญญาข้อตกลงการผลิตที่มีการประกันราคารับซื้อที่แน่นอนหรือที่เรียกว่า“คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง” (Contract Farming)จึงทำให้ระบบการผลิตมีความมั่นคงทั้งต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งและภาคเอกชนผู้รับซื้อ โดยช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการปัญหาความไม่แน่นอนของรายได้และลดความเสี่ยงจากปัญหาปริมาณสินค้าล้นตลาด ในขณะที่ภาคเอกชนก็ได้รับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปริมาณตามที่กำหนด ส่งผลให้ทุกภาคส่วนมีความมั่นใจที่จะพัฒนาผลผลิต เทคโนโลยี ตลอดจนขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา รัฐบาลยังได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่สร้างความเป็นธรรมให้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งยังช่วยผลักดันและยกระดับให้อุตสาหกรรมเกษตรของไทยมีความมั่นคงและยั่งยืนด้วย

นายบุญศรี ใจเป็ง

หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งที่เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนฯ ของเป๊ปซี่โค คือ นายบุญศรี ใจเป็ง เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของรางวัล “เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชไร่ภาคเหนือ ปี 2553”กล่าวว่า “โดยทั่วไป การเพาะปลูกมันฝรั่งในประเทศไทยนั้นมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 – 3 ตันต่อไร่ แต่สำหรับพื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ เราได้มีการพัฒนา เรียนรู้ และทดลองการเพาะปลูกร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่าง บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด มาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี ทั้งในรูปแบบเกษตรพันธสัญญาและแบบอื่นๆ โดยปัจจุบัน เรามีพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งรวมกว่า 1,500 ไร่ต่อปี และสามารถสร้างผลผลิตมันฝรั่งได้สูงถึง ตันต่อไร่”

“เพื่อให้ได้ผลผลิตมันฝรั่งที่มีคุณภาพ เราใส่ใจกับทุกรายละเอียดของการเพาะปลูก รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ อากาศ หัวพันธุ์ ปุ๋ย ตลอดจนเทคนิคและเทคโนโลยีการเพาะปลูก โดยเราได้ทำงานร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเป๊ปซี่โค เริ่มตั้งแต่ไถเตรียมดิน ขุดทำร่องแปลงพร้อมใส่ปุ๋ย นำหัวพันธุ์มันฝรั่งมาหว่านใส่และกลบดิน จากนั้นเมื่อมันฝรั่งโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยวก็จะใช้เครื่องจักรกลในการขุด และมีคนงานเก็บผลผลิตใส่ตะกร้าเพื่อนำเข้าโรงคัดแยก โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ มาตรวจสอบคุณภาพและเก็บเข้าห้องเย็นเพื่อรอส่งโรงงานต่อไป”

“สิ่งที่ผมภาคภูมิใจที่สุดคือ การได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรแปลงปลูกมันฝรั่งของครอบครัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ตั้งใจและอดทน ซึ่งผมได้ยึดถือและน้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวมาเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาการเพาะปลูกมันฝรั่งในจังหวัดเชียงใหม่ ควบคู่ไปกับแนวทางส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนของเป๊ปซี่โค จนปัจจุบันแปลงปลูกมันฝรั่งในอำเภอสันทรายได้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ในด้านการเพาะปลูกมันฝรั่งของประเทศ โดยในทุกปีเราได้ร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรและภาคเอกชนจัดงาน Field Dayซึ่งเป็นงานประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน พร้อมขยายผลแปลงสาธิตต้นแบบไปสู่เกษตรกรทั่วประเทศ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการผลิตและการแปรรูป ทั้งยังช่วยลดปริมาณการนำเข้ามันฝรั่งจากต่างประเทศลงได้”  นายบุญศรี กล่าวทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like