HomeInsightจับตา 10 ความเปลี่ยนแปลงของโลกช้อปปิ้ง ที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2019 หรืออาจเกิดขึ้นแล้วด้วยซ้ำ!

จับตา 10 ความเปลี่ยนแปลงของโลกช้อปปิ้ง ที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2019 หรืออาจเกิดขึ้นแล้วด้วยซ้ำ!

แชร์ :

ปี 2018 มีการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง และการก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อการซื้อขายมากมาย ส่งผลให้ในปี 2019 นี้ พฤติกรรมหลายอย่างของผู้บริโภครวมทั้งการทำตลาดทั่วโลกจะมีการปรับตาม และเพื่อให้แบรนด์รู้ทันถึงสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้โลกแห่งการช้อปก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้เตรียมรับได้ทัน วันนี้เรามีการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงแนวโน้มบางอย่างมาเล่าให้ฟัง ลองมาดูกันว่าความเปลี่ยนแปลงประเด็นใดบ้าง ที่จะมีบทบาทสำคัญในวงการค้าปลีกและอุตสาหกรรมช้อปปิ้งในปี 2019

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Cashierless Stores

Amazon เปิดร้านค้าแบบไม่ใช้เงินสด Amazon Go แห่งแรกในซีแอตเทิลเปิดตัวเมื่อเดือนมกราคมและหลังจากนั้นความพยายามกำจัดวิธีการชำระเงินแบบเดิมๆ ถือเป็นความนิยมที่ใหญ่ที่สุดของปี ทั้งจากฝั่งอเมริกาและเอเชีย ที่ร้านค้าแบบนี้ผุดขึ้นมาให้เห็นรัวๆ 

ไม่ใช่เพียงแค่แบรนด์ใหญ่อย่าง Amazon Go เท่านั้นที่มุ่งหน้าขยายไปยังชิคาโกและซานฟรานซิสโก แต่ startups อย่าง Zippin และ Standard Cognition ก็ได้เปิดร้านค้าปลอดเคาน์เตอร์ชำระเงินของตนเอง และยังมีรายงานว่า Microsoft กำลังทดสอบเทคโนโลยี Go-like นอกจากนั้นยังมีผู้ค้าปลีกเช่น Macy’s, Sam’s Club และ 7-Eleven ซึ่งมีแผนการณ์ของตัวเองและ Walmart and Target ซึ่งทำร้านค้าของตัวเองให้สามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์พกพาเพื่อช่วยในการชำระค่าสินค้าให้กับผู้ซื้อในช่วงวันหยุด และด้วยรายงานที่บอกว่า Amazon กำลังมองหาสนามบินเพื่อขยายสาขาเพิ่มเติม เหล่านี้ยิ่งตอกย้ำกับเราว่าร้านค้าปลีกรูปแบบนี้มาแน่ๆ 

Autonomous Delivery

ในขณะที่ผู้ค้าปลีกยังคงโยนนู่นนี่ลงไปเพื่อดูว่าอะไรจะขายดีกว่ากันในโลกออนไลน์ ทำให้บริษัทขนส่งมองเห็นโอกาสในการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ อย่าง Autonomous Delivery หรือการขนส่งด้วยตัวเองเริ่มขึ้นมา Kroger ประกาศว่ากำลังวางแผนทดลองบริการดังกล่าว โดยร่วมมือกับบริษัท Nuro ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา และบริการนี้ก็เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ด้วยรถยนต์ไร้คนขับสองคันในเมืองสกอตส์เดล รัฐอริโซนา ขณะเดียวกัน Walmart ประกาศเกี่ยวกับการทดลองให้บริการ self-driving delivery ร่วมกับอดีตโปรเจครถยนต์ขับเคลื่อนตัวเองของ Google อย่าง Waymo ในแชนด์เลอร์ รัฐอริโซนาเช่นกันในเดือนกรกฎาคม ซึ่งตามมาด้วยการทดลองกับ Ford และ Postmates ในไมอามีในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ล่าสุดหลังจากการที่แพลตฟอร์มอย่าง Postmates มีบริการหุ่นยนต์ส่งสินค้า เช่น ส่งอาหาร ของชำและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึง Savioke ซึ่งมีหุ่นยนต์ที่ใช้ส่งอาหารและซักรีดในโรงแรม

BOPIS – Buy Online Pick Up In Store

2018 อาจเป็นปีแห่ง BOPIS หรือ Buy Online Pick Up In Store ซึ่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของคำศัพท์ยอดฮิตในวงการค้าปลีก ซึ่ง BOPIS ขยายตัวร้อยละ 46 ต่อเนื่องทุกปีและ 73% ของพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในวันขอบคุณพระเจ้าและ Black Friday

Cannabis

จากการปรับกฎหมายว่าด้วยกัญชาในสหรัฐฯ ที่เปิดให้เป็นเรื่องถูกกฎหมาย ทำให้คาดว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการขายผลิตภัณฑ์ CBD แน่นอนว่าด้วยรัฐต่างๆ อย่าง New Jersey และ New York กำลังเคลื่อนไปสู่การทำกัญชาอย่างถูกกฎหมาย อุตสาหกรรมที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องต้องห้ามจะเติบโตและมีการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการทำการตลาด ไม่ว่าจะผ่าน Museum of Weed หรือขายในช้อปใหญ่อย่าง MedMen นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เห็นการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมมากมายในปี 2018 และจะยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้ กระแสการบริโภคกัญชาเกิดขึ้นทั่วโลก นั่นทำให้วิธีการพัฒนาสินค้า รวมทั้งรูปแบบการขายสุดมันส์แบบใหม่ๆ คงเกิดขึ้นมาด้วย 

Social Commerce

แบรนด์มาไกลจากการทำ Omni-Channel บนโซเชียลคอมเมิร์ซ แต่นั่นไม่ได้เป็นจุดสิ้นสุดของบริษัทในการพยายามขายผลิตภัณฑ์ใหม่บนแพลตฟอร์มโซเชียลอย่าง Snapchat และ Instagram ซึ่ง Snapchat นับเป็นผู้นำบนแพลตฟอร์มกับแบรนด์อย่าง Jordan และ Adidas ซึ่งแต่ละแบรนด์มีการบันทึกยอดขายอย่างน่าจับตามอง Instagram ยังคงพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ บนแพลตฟอร์มที่สามารถนำเสนอการรองรับความต้องการทั้งฝั่งแบรนด์และผู้บริโภค และยังได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ 3 อย่าง ได้แก่ การช็อปปิ้งจากวิดีโอ บันทึกสินค้าที่ถูกแท็กในสตอรี่ และความการกดเข้าไปดูลิสต์รายการสินค้าทั้งหมดของร้าน

มีข่าวลือเกี่ยวกับ Instagram ว่ากำลังซุ่มพัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับการช็อปปิ้งที่แยกออกมาโดยเฉพาะ และมีรายงานว่า Imran Khan อดีตหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ของ Snap Inc. นั้นก็กำลังสร้างแอปฯ อีคอมเมิร์ซแบบสแตนด์อโลนของตัวเองเช่นกัน

Crowdsourcing Design

ต้องขอบคุณโซเชียลคอมเมิร์ซที่ทำให้แบรนด์ต่างๆ ขายสินค้าใหม่หรือสินค้าพิเศษบนแพลตฟอร์มเหล่านี้โดยเฉพาะ ทั้ง Nyden, H&M และแบรนด์ใหม่อย่าง Choosy ได้สัมผัสกับพลังของ Instagram ในการค้นหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ อย่าง เช่น เคสของ Choosy แบรนด์แฟชั่นแบรนด์นี้จะอาศัยการติดตามความชื่นชอบของผู้คนในโซเชี่ยลมีเดีย และออกแบบสินค้านั่นออกมา อย่างเช่น ชุดหนึ่งของ Choosy ก็ได้แรงบันดาลใจจากชุดของ Meghan Markle 

ไม่ใช่แค่เรื่องของดีไซน์เท่านั้น แต่โมเดลการขายก็ด้วย Choosy จะผลิตชุดขึ้นมาหลังจากที่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วเท่านั้น ทางแบรนด์เชื่อว่าแนวคิดเช่นนี้จะช่วยให้เกิดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน แบรนด์ไม่ต้องเสียทรัพยากรของโลกไปกับเสื้อผ้าที่ไม่มีคนใส่มัน รวมทั้งเป็นความปลอดภัยสำหรับแบรนด์น้องใหม่ที่ต้องควบคุมต้นทุนให้ดีด้วย  

Challenger Brands

ลิสต์ปี 2018 คงไม่สมบูรณ์ถ้าไม่เอ่ยถึงการมาถึงของแบรนด์ใหม่ๆ ที่พร้อมจะเข้ามาตีอุตสาหกรรมและตลาด แบรนด์อย่าง Tuft and Needle หรือ Walker and Brands ถูกแบรนด์เก่าๆ ซื้อไป ในขณะที่อีกลายๆ แบรนด์ยังคงมองหาสิ่งใหม่ๆ อย่าง Away ที่ระดมทุน 50 ล้านเหรียญใน Series C Funding เมื่อต้นปีที่แล้ว แบรนด์เหล่านี้จำนวนมากเช่น Brandless หรือ Allbirds ได้เริ่มทดสอบกลยุทธ์ bricks-and-clicks ซึ่งแน่นอนว่าจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในปี 2019 กระแสการเกิดขึ้นใหม่ของแบรนด์แฟชั่น ที่ใช้นวัตกรรมทั้งในส่วนของโปรดักท์หรือว่ารูปแบบการขาย น่าจะเกิดให้เห็น และแบรนด์เหล่านี้น่าจะมีอิทธิพลกับผู้บริโภครุ่นใหม่มากขึ้น

‘Retailtainment’

ปัจจัยแวดล้อมมากมายที่เป็นแรงกดดันให้ผู้ค้าต้องการเหตุผลมาจูงใจผู้บริโภคในการเยี่ยมชมร้านค้าให้มากขึ้น เช่น Crate and Barrel ที่เปิดร้านอาหารในช้อป ไม่เพียงแต่เป็นการกระตุ้นปริมาณการเข้าชม แต่ยังสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมี Restoration Hardware ที่สร้าง “90,000-square-foot experience” เหมาเอาอาคารโบราณมาทำเป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์สุดหรูของตัวเอง ซึ่งดูจากความอลังการงานสร้างแล้ว แล้วน่าจะเรียกว่าเป็นแกลอรี่จัดนิทรรศการเลยจะเหมาะสมกว่า เช่นเดียวกับ AT&T ที่เลือกเปิดร้านค้า / ร้านกาแฟในซีแอตเทิล แนวคิดนี้ไม่ได้ใหม่ซะทีเดียวเพราะแบรนด์จิวเวลรี่อย่าง Tiffany & Co. ได้เปิด Blue Box Café ที่แฟล็กชิพสโตร์ในนิวยอร์กตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งสร้างปรากฏการณ์คิวเข้าร้านเต็มตั้งแต่ 2 นาทีแรกที่เปิดจอง 

อาคารเก่าแก่ในนิวยอร์คที่ Restoration Hardware นำมาแปลงโฉมจัดวางสนิค้าของตัวเอง

Restoration Hardware ใช้อาคาร 6 ชั้น มาจัดแสดงสินค้า

แนวทางการเสกสรรค์ปั้นแต่งร้าน เพื่อส่งมอบสุดยอดประสบการณ์ให้กับลูกค้าในอนาคตข้างหน้า เชื่อว่าเจ้าของร้านและครีเอทีฟต้องงัดกลเม็ด และไอเดียประโคมโหมใส่เข้ามาเต็มๆ เพื่อให้ผู้บริโภคประทับใจสินค้าและนำไปสู่การซื้อในที่สุด

Healthcare

อีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่กระตุ้นผู้ค้าให้สนใจคือเรื่องสุขภาพ นี่คือปีที่เราเห็น Amazon ฮุบธุรกิจจัดยาตามใบสั่งแพทย์และขายผลิตภัณฑ์ยาอย่าง CVS Health โดยเข้าซื้อกิจการจากบริษัทประกันภัย Aetna เช่นเดียวกับที่มีรายงานว่า Walmart ต้องการซื้อบริษัทประกันภัย Humana ก่อนหน้านี้แบรนด์ร้านชำ Albertsons และร้านขายยา Rite Aid ประกาศความตั้งใจที่จะรวมในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ดีลดังกล่าวถูกยกเลิก ทั้งสองตัดสินใจที่จะแยกทางกันในอีกไม่กี่เดือนต่อมา

Mall Stores Rise From The Dead

ประวัติศาสตร์ปัจจุบันอาจไม่ได้ใจดีกับห้างสรรพสินค้า แต่บริษัทเงินทุนกำลังให้โอกาสผู้ค้าปลีกเหล่านี้ในการปรับโฉมและแนะนำพวกเขาใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งรวมถึง Sycamore Partners ที่ซื้อ Nine West ในปี 2006 ในทำนองเดียวกัน Gordon Brothers Finance Company เข้าซื้อ Wet Seal ในเดือนมีนาคมและเปิดมันขึ้นมาใหม่ในฐานะ E-Commerce ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมในเดือนกันยายน และยังมี Walmart ที่ประกาศว่าได้ทำการซื้อ Eloquii ที่เคยปิดตัวลงในปี 2013 และทำให้กลับมามีชีวิตชีวาในฐานะแบรนด์โดยตรงสู่ผู้บริโภคในปี 2014 ดีลควบรวมกิจการหรือนำเอาแบรนด์เก่าๆ ที่อยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่มาปีดฝุ่นใหม่แล้วพลิกโฉมใหม่ เพื่อให้เท่าทันยุคสมัย น่าจะยังมีให้เห็นอยู่ต่อไป 

Source


แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM


แชร์ :

You may also like