จีนเป็นหนึ่งประเทศในเอเชียที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากคนไทย ทั้งนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ รวมถึงนักเรียนนักศึกษา เพราะนอกจากจะมีอารยธรรมโบราณที่โดดเด่น และธรรมชาติสวยงามแล้ว ยังเป็นมหาอำนาจที่มีความก้าวหน้าด้านธุรกิจและเทคโนโลยี แต่ด้วยความที่จีนมีความเฉพาะเจาะจงหลายอย่างทั้งวัฒนธรรม ภาษา และเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญมากที่สุดอย่างเรื่องการใช้จ่ายเงิน ยูเนี่ยนเพย์ เพื่อนรู้ใจด้านการชำระเงิน จึงขอไขข้อข้องใจ เพื่อช่วยให้คุณใช้จ่ายเงินได้อย่างสบายใจเมื่อไปเที่ยวจีน
RMB (Renminbi), CNY (Chinese Yuan) และเงินหยวนต่างกันอย่างไร ทั้งสามชื่อข้างต้นมีความหมายกว้างๆ คือ เงินที่ได้รับการยอมรับและสามารถใช้ได้ในจีน โดยแต่ละคำจะมีความหมายที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย RMB หรือ Renminbi (เหรินหมินปี้) เป็นชื่อค่าเงินอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นชื่อที่คนจีนเองนิยมเรียก แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมธนาคารหรือร้านแลกเงินจึงแสดงค่าเงิน CNY นั่นเป็นเพราะ CNY ย่อมาจาก Chinese Yuan ซึ่งเป็นชื่อเรียกสกุลเงินตามมาตรฐานสากล โดยใช้อักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อสกุลเงิน เหมือนที่ไทยมีสกุลเงิน THB ในขณะที่ หยวน เป็นหน่วยเงินของสกุลเงินดังกล่าว เช่น สินค้ามีราคา 10 หยวน หรือ 10 บาท
ดังนั้น จำง่ายๆ คือ เมื่อไปแลกเงิน ให้มองหาสกุลเงิน CNY แต่เมื่อเที่ยวจีนและสอบถามราคากับแม่ค้าให้เรียกหน่วยเงินที่จ่ายว่า หยวน นั่นเอง
คิวอาร์โค้ดที่ใช้ในไทยและจีนเหมือนกันหรือไม่ จีนเป็นหนึ่งในสังคมไร้เงินสดที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ปัจจุบันร้านค้าส่วนใหญ่จึงนิยมรับชำระเงินด้วยระบบอีเพย์เมนต์ โดยเฉพาะการจ่ายเงินผ่านคิวอาร์โค้ด ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ผู้บริโภคไทยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า คิวอาร์โค้ดทั้งหมดใช้ระบบเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว คิวอาร์โค้ดที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตในต่างประเทศนั้น ต้องมีเครือข่ายการชำระเงินระดับโลกรองรับ ในปัจจุบันธนาคารของไทยหลายแห่งก็กำลังพัฒนาแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินที่มีอยู่นี้ และหนึ่งในนั้นก็คือแอปพลิเคชัน BeWallet ของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือบัตรสามารถจ่ายเงินที่ร้านค้ากว่า 10 ล้านจุด ทั้งในประเทศจีนและทั่วโลกได้ผ่านคิวอาร์โค้ดของยูเนี่ยนเพย์
เราต้องคำนึงถึงอะไรบ้างเวลาเลือกบัตรเครดิตหรือเดบิตสำหรับใช้จ่ายเวลาไปเที่ยวจีน การใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตที่ออกโดยธนาคารของไทยยังคงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด แทนการพกเงินสดจำนวนมาก มาก เมื่อไปเที่ยว ไปทำงาน หรือไปเรียนต่อที่จีน เพื่อให้ทุกการใช้จ่ายสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ควรเลือกบัตรที่มีระบบการชำระเงินมาตรฐานสากลที่มีเครือข่ายร้านค้าและเอทีเอ็มที่รองรับแพร่หลายในจีน และมีการยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขพิน 6 หลัก เรียกว่าช้อปและกินได้ทุกที่ และไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็ไม่ต้องกังวลว่าบัตรหายแล้วจะมีขโมยนำไปใช้
บัตร Travel Card คืออะไร และมีประโยชน์อะไรบ้าง สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ บัตรเดบิตประเภท Travel Card ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ถือบัตรสามารถแลกเงินเป็นสกุลท้องถิ่นใส่ไว้ในบัตร ดังนั้น เวลารูดบัตรซื้อของในจีน ผู้ถือบัตรจึงไม่ต้องเสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน และยังสามารถควบคุมยอดการใช้จ่ายได้ตามจำนวนเงินที่เราใส่ไว้ในบัตร นอกจากนี้ ธนาคารบางแห่งยังให้อัตราแลกเปลี่ยนที่คุ้มค่าพอๆ กับร้านแลกเงินอีกด้วย
สมัครบัตรใหม่เพื่อใช้แค่เวลาไปเที่ยวจีนจะคุ้มหรือไม่ สำหรับคนที่ไม่ได้เดินทางไปประเทศจีนบ่อย อาจมองว่าการเปิดบัตรเครดิตหรือเดบิตใหม่ไม่คุ้มกับเวลาที่ต้องเสียไป เพราะคงได้ใช้สิทธิประโยชน์แค่ไม่กี่ครั้ง แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเหล่านี้ในไทยได้คุ้มค่าไม่แพ้กัน เพราะระบบการชำระเงินและธนาคารหลายแห่งก็จัดเต็มโปรโมชันในไทยด้วย ดังนั้น ถ้าวางแผนการใช้เงินดีๆ อาจได้ความคุ้มค่าถึงสองต่อเลยทีเดียว
สำหรับใครที่กำลังวางแผนเดินทางไปเที่ยวจีน ยูเนี่ยนเพย์ ได้จับมือกับธนาคารกรุงไทย ออกบัตร Krungthai Travel UnionPay Debit Card ซึ่งเป็นบัตรเดบิตที่รองรับการใช้จ่ายในสกุลเงินบาทและหยวน คุ้มค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศที่ดีที่สุด แลกเงินและจัดการบัตรได้สะดวกตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงสามารถใช้จ่ายเงินได้ที่เครือข่ายจุดชำระเงินของยูเนี่ยนเพย์ทั่วประเทศจีนกว่า 26 ล้านจุด และถอนเงินสดสกุลหยวนได้ที่เอทีเอ็มกว่า 9 แสนจุดอีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้ถือบัตรยังสามารถรับสิทธิประโยชน์จากยูเนี่ยนเพย์ในประเทศไทยอีกมากมาย เช่น ซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ราคา 88 บาท ทุกเรื่องทุกรอบ หรือ คูปองเงินสดมูลค่า 100 บาท เมื่อซื้อสินค้า 600 บาทขึ้นไปต่อเซลสลิป ที่ Gourmet Market, Home Fresh Mart, Villa Market, Foodland และ Central Food Hall โดยสามารถติดตามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/UnionPayThailand/