HomePR Newsเอสเอ็มอี (SMEs) ต้องรู้ !! กลยุทธ์ใหม่ ในยุคธุรกิจทำลายล้าง ที่คุณจะ “รอด” หรือ “ร่วง” กับ 5 ความท้าทาย 5 วิธีรับมือ 4 องค์ความรู้ [PR]

เอสเอ็มอี (SMEs) ต้องรู้ !! กลยุทธ์ใหม่ ในยุคธุรกิจทำลายล้าง ที่คุณจะ “รอด” หรือ “ร่วง” กับ 5 ความท้าทาย 5 วิธีรับมือ 4 องค์ความรู้ [PR]

แชร์ :

เอสเอ็มอี (SMEs) นับว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในหลายมิติ ทั้งทางด้านการผลิต การจ้างงาน หรือการลงทุน เป็นพลังมวลใหญ่ที่ทำให้ประเทศเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการมากกว่า 90% เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) แต่ก็เหมือนสวรรค์แกล้งเมื่อธานอสสวมถุงมือ The Infinity Gauntlet แล้วดีดนิ้วเพียงเปราะเดียว SMEs ของประเทศไทยก็หมดสิทธิ์ไปต่อถึง 50% ส่วนที่เหลือก็เข้าสู่สมรภูมิการแข่งขันอันดุเดือด ในยุคดิสรัปชั่น (Disruption) ที่ต้องนำเสนอความแตกต่าง ความโดดเด่น สร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งองค์ความรู้ เพื่อจะพาธุรกิจฝ่าการแข่งขันรอบด้านไปให้ได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “โลกที่หมุนอยู่ท่ามกลางกระแสดิสรัปชั่น (Disruption) เราจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบและเร่งรีบ เพื่อเพิ่มการเรียนรู้และสร้างทักษะใหม่ (New Skill Set) ให้ทันท่วงที ซึ่งเอสเอ็มอีจะปรับตัวได้ทันเกมและเข้าใจความท้าทายใหม่ที่กำลังเผชิญ ต้องค้นหาวิธีการรับมือการเปลี่ยนแปลง พร้อมเพิ่มองค์ความรู้ใหม่เพื่อให้เอสเอ็มอีไม่ใช่เพียง “อยู่รอด” แต่ต้อง  “อยู่ได้” และสามารถร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกับองค์กรใหญ่ๆ ของประเทศไทยในอนาคตได้ แล้วเราจะมีสูตรกลยุทธ์สู่ความสำเร็จหรือไม่ เราต้องเรียนรู้องค์ความรู้อะไรใหม่บ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมได้ถ้ารู้ว่าเราต้องเผชิญกับอะไร และเสริมการเรียนรู้อย่างไร”

5 ความท้าทายของเอสเอ็มอีในโลกยุคดิสรัปชั่น (Disruption)

1. ไม่มีคำว่า “แน่นอน” ในอนาคต ความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงของลูกค้า ทำให้เราไม่สามารถกำหนดแผนงานหรือกลยุทธ์การตลาดในระยะยาวได้ ดังนั้น เราต้องเข้าใจ ปรับตัว และปรับกลยุทธ์ให้ทัน อาทิ ถ้าเราทำธุรกิจโรงแรมเป็นเวลานานจากยุคพ่อแม่ เราคุ้นชินกับการจองและจ่ายเงินแบบก่อนๆ แต่ปัจจุบันเราเกิดแพลตฟอร์มใหม่อย่าง AirBnB หรือ เอเจนซี่โรงแรมมากขึ้น พฤติกรรมของลูกค้าจึงเปลี่ยนไป เราจึงต้องมีวิธีจัดการและกลยุทธ์ใหม่ๆ เข้ามาเพื่อรองรับความต้องการใหม่ของลูกค้า

2. โลกเปลี่ยนแปลง กฎย่อมเปลี่ยนไป หากเรามองดูรูปแบบการทำธุรกิจสมัยก่อนเราย่อมรู้ว่ากฎปลาใหญ่กินปลาเล็กเป็นเรื่องจริง เราสามารถกำหนดโฆษณากับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดและได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง แต่เมื่อโลกอยู่ในยุคดิสรัปชั่นกฎต่างๆ ย่อมเปลี่ยนไป ทำให้วิธีการแบบเดิมๆ ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

3. ยอมรับว่า “เทคโนโลยี” สำคัญ ถ้าวันนี้เรายังไม่รู้จักใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า  เราย่อมก้าวถอยหลังคู่แข่งทางธุรกิจไปเรื่อยๆ หรือถ้าตัวบุคคลไม่เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ อาจจะสูญเสียงานของเราต่อเทคโนโลยีในอนาคตได้

4. “ข้อมูล” เป็นสิ่งจำเป็น โลกยุคดิจิตอลทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลอันมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว  แต่เราต้องตระหนักว่าเราจะนำข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์กับธุรกิจได้อย่างไร ในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างไร หรือแม้แต่การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาดอย่างไร หมายความว่าเรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มาจากความพัฒนาและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น แต่หากไม่รู้วิธีหรือไม่มีทักษะความรู้ในการแปลข้อมูลให้เชื่อมโยงกับสิ่งที่เราทำอยู่ ข้อมูลที่จำเป็นนั้นก็ไร้ค่า

5. จุดเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถกำหนดได้ เป็นธรรมดาของโลกยุคนี้ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา บางครั้งอาจเกิดก่อนเวลาที่เหมาะสม หรือก่อนเวลาที่เราจะเปลี่ยนสินค้า ดังนั้นเราต้องรู้จักเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อปรับตัวให้ทันกระแส

ซึ่ง SEAC ได้นำเสนอ 5 มุมมองวิธีการรับมือ เป็นแนวทางให้เอสเอ็มอีสามารถเตรียมตัวรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที

1. Retraining เป็นสิ่งจำเป็น ต้องรู้จักพัฒนาคนในองค์กรด้วยการรีเทรนนิ่ง ซึ่งไม่ใช่แค่การส่งบุคลากร ไปอบรมหลักสูตรการเรียนรู้เดิมๆ เท่านั้น แต่หลักสูตรที่ดีต้องเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตของบุคลากรทั้งองค์กรด้วย เป็นเสมือนการอัพเกรดหลักสูตรที่มีการปรับปรุงให้ดูทันยุคและเข้ากับสถานการณ์ของแต่ละธุรกิจ

2. Reskilling เป็นเรื่องใหญ่ นอกจากพื้นฐานของบุคลากรที่ต้องเพิ่มเติมเรื่อง รีเทรนนิ่ง (Retraining) การเพิ่มทักษะให้กับพนักงานและองค์กรแบบรอบด้าน เพื่อทำให้บุคลากรมีทักษะหลายด้านและมีมุมมองใหม่ๆที่ไม่เคยเกิดขึ้นในองค์กรมาก่อน ส่งผลให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์สินค้าหรือมุมมองที่มีต่อกลยทุธ์การตลาดใหม่ๆ ได้ โดย Reskilling เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ไม่ใช่การเรียนหรืออบรมครั้งเดียว หรือแค่วิชาเดียวแล้วจบ

3. New Talent เพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถ การขยายกำลังคนให้กับองค์กรเป็นเรื่องที่เอสเอ็มอี มักมองข้าม เพราะมองเพียงด้านเดียวว่ายังเป็นองค์กรขนาดเล็กคนไม่ต้องเยอะก็ได้ แต่ในทางกลับกันการเพิ่มกำลังคนคือการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของคนที่เข้ามามากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถก้าวหน้าหรือเกิดไอเดียมุมมองใหม่ในการเจาะตลาดลูกค้า ทำให้องค์กรมีการเคลื่อนไหวและประสิทธิภาพในเชิงบวกแบบคุณภาพ

4. Digitization ห้ามมองว่าองค์กรไม่จำเป็นต้องพัฒนา เพราะในความเป็นจริงเราต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้กับองค์กรให้มากขึ้น คือกระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อส่งผลต่อความก้าวหน้าทางการดำเนินธุรกิจ เพราะช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารธุรกิจลงได้ เมื่อทุกอย่างถูกบริหารจัดการผ่านออนไลน์      สามารถเชื่อมกันได้ตลอดเวลา แถมตรวจสอบข้อมูลได้แบบ Real-time

5. Managing transition ความท้าทายสำคัญในการสร้างสมดุลระหว่างองค์กรกับบุคลากรต่อการเปลี่ยนแปลงคือสร้างการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นที่องค์กรจะต้องเปลี่ยนแปลง การสร้างขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะธุรกิจ รวมถึงการรับมือกับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงาน เพื่อที่จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิผล

นอกจากเรื่อง 5 ความท้าทายของโลกยุคดิสรัปชั่น (Disruption) และ 5 วิธีการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งหนึ่งที่เราต้องเสริมเพิ่มเติมคือการเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้ใหม่ 4 ประการ ที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ควรมีซึ่งจะเป็นเสมือนกุญแจทองคำในการไขสู่ยุคใหม่ของการดำเนินธุรกิจในอนาคต

1. องค์ความรู้จะเกิดขึ้นด้วย “เลนส์ในการมองใหม่”

เอสเอ็มอี ต้องรู้จักปรับมุมมองใหม่ หรือ Mindset เพราะ “คนเราจะมองเห็นแต่ในสิ่งที่มองหา” เราต้องรู้จักเปิดใจยอมรับมุมมอง วิธีคิด และผลลัพธ์ที่แตกต่างจากเลนส์ใหม่ของคนที่เรากำลังสนทนา หรือดำเนินธุรกิจด้วยกัน เพราะเมื่อเราปรับ Mindset แล้ว เราจะสามารถนำพาองค์กรไปสู่มิติการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เปิดกว้างมากกว่าเดิม

2. องค์ความรู้จะเกิดขึ้นด้วย “การทำงานที่เร็วขึ้น”

เมื่อเราทำงานเร็วขึ้น เราจะพบข้อผิดพลาดเร็วขึ้น วนเป็นวงโคจรเป็นเหมือนการสั่งสมประสบการณ์ให้มีความมั่นคงและแข็งแกร่งในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบกับเอสเอ็มอีที่ทำงานช้าเพราะกังวลว่าจะเกิดข้อผิดพลาด สิ่งนั้นจะเป็น   เกราะป้องกันไม่ให้เอสเอ็มอีสามารถก้าวข้ามอุปสรรคเวลาเจอข้อผิดพลาด เพราะยิ่งเอสเอ็มอีเหล่านั้นทำงานช้าย่อมมีประสบการณ์ในการรับมือและแก้ไขสถานการณ์ช้าตามไปด้วย

3. องค์ความรู้จะเกิดขึ้นด้วย “การเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด”

เกิดเป็นคำถามที่ว่าเอสเอ็มอีทำงานเร็วขึ้น แต่ทำไมไม่ก้าวหน้า สาเหตุหนึ่งมาจากการที่เอสเอ็มอีนั้น เกิดความผิดพลาดแล้ว แต่ไม่เรียนรู้และพัฒนามุมมองจากจุดที่ผิดพลาด เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และถ้าเรายังเกิดความผิดพลาดและอยู่กับที่เรื่อยๆ ก็จะเกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่ที่จะดึงองค์กรกลับมาได้ลำบากขึ้น จนองค์กรจะชะลอความสำเร็จและชะลอการเรียนรู้ในที่สุด

4. องค์ความรู้จะคงอยู่ ต่อเมื่อรู้จักเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เอสเอ็มอีต้องมี “ทัศนคติที่อยากจะเรียนรู้” และ “วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม” เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และต่อยอดสู่ความสำเร็จ จนในที่สุดองค์กรสามารถยืดหยัดเคียงคู่กับองค์กรใหญ่ๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

ซึ่ง SEAC ได้สร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดของโลกขึ้นมาได้สำเร็จ ภายใต้ชื่อ 4Line Learning” โดยนำเสนอการเรียนรู้ผ่านโมเดลที่ชื่อ “YourNextU”  เพื่อสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองสไตล์การเรียนรู้ของคนทุกเพศทุกวัยและของแต่ละคน พร้อมอัพเดทสิ่งใหม่ๆ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างทันท่วงที ท่ามกลางโลก Disruption ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ ร่วมเปิดโลกแห่งการเรียนรู้และค้นหาทักษะเพื่อพัฒนาตนเองได้แล้วกับ SEAC พร้อมสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่ให้คุณเรียนรู้ในรูปแบบไม่จำกัดได้ตั้งแต่วันนี้ ที่ www.yournextu.com


แชร์ :

You may also like