HomePR News“โออิชิ” เปิดกลยุทธ์ความสำเร็จ ผลประกอบการไตรมาส 2 เติบโต [PR]

“โออิชิ” เปิดกลยุทธ์ความสำเร็จ ผลประกอบการไตรมาส 2 เติบโต [PR]

แชร์ :

นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัทฯ ตอกย้ำสถานะผู้นำตลาดชาพร้อมดื่มและธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ทั้งในด้านองค์กร และ ด้านผลประกอบการ โดยล่าสุดสามารถรักษาอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ A+ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากการมีผลการดำเนินงานที่ดี ประกอบกับการมีตราสินค้าซึ่งเป็นที่รู้จัก ซึ่งจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับเครดิตแห่งแรกของประเทศไทย ‘ทริสเรทติ้ง จำกัด’ อีกทั้งยังได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2561 ในระดับ “ดีเลิศ” ซึ่งประเมินโดย ‘สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท’ นอกจากนั้น ในด้านผลประกอบการ บริษัทฯ สร้างผลงานได้เป็นที่น่าพอใจทั้งรายได้และผลกำไร โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2 (ม.ค. – มี.ค. 2562) เนื่องจากภาพรวมตลาดเครื่องดื่มฟื้นตัว ประกอบกับการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของธุรกิจอาหาร และการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯ ในไตรมาส 2 นายกฤษฎา วรรธนะภาคิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการเงินการบัญชี บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 2 ของรอบบัญชี (ม.ค. – มี.ค. 2562) บริษัทฯ มีรายได้รวม 3,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่ม 1,684 ล้านบาท เติบโต 11.1% และรายได้จากธุรกิจอาหาร 1,798 ล้านบาท เติบโต 11.9% ขณะที่กำไรสุทธิรวม 397 ล้านบาท ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คิดเป็น 62.7% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นผลกำไรจากธุรกิจเครื่องดื่ม 275 ล้านบาท เติบโต 48.6% และผลกำไรจากธุรกิจอาหาร 122 ล้านบาท เติบโต 106.8% ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้บริษัทฯ จ่ายเงินปันผลครึ่งปีแรกตอบแทนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราหุ้นละ 1.10 บาท” ในด้านธุรกิจเครื่องดื่ม นางเจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “โออิชิยังคงครองตำแหน่งผู้นำในตลาดชาพร้อมดื่มในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 46.2% (ข้อมูลจาก Nielsen : เดือน มี.ค 2562) จากการประสบความสำเร็จของการผสานพลังสามธุรกิจหลัก ทั้ง โออิชิ กรีนที, ร้านอาหารโออิชิ และ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (Packaged Food) ในการจัดซัมเมอร์โปรโมชั่นในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา รวมทั้งการกลับมาผลิตสายเครื่องดื่ม UHT ได้เต็มประสิทธิภาพหลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ ในปีนี้เรามุ่งเน้น 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ (1) Grow Portfolio  เพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีอินโนเวชั่น สร้างสีสันให้กับตลาด (2) Premiumization ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ยกระดับสินค้าให้มีความพรีเมี่ยม (3) Healthier Product นำเสนอเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพ โดยล่าสุดได้ออก ‘โออิชิ โกลด์ เก็นไมฉะ’ ตอบโจทย์ผู้รักสุขภาพ จนขึ้นแท่นผู้นำชาพรีเมี่ยมในช่องทาง MT (Modern trade) และ CVS (Convenience Store) และในร้านอาหารโออิชิทั่วประเทศ ในด้านการส่งออก โออิชิ กรีนทียังครองผู้นำในตลาดอาเซียน โดยเป็นอันดับ 1 ในลาวและกัมพูชา เราจึงมุ่งสร้างการเติบโตในตลาดต่างประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผลักดันการเติบโตในตลาด CLMV นอกจากนั้นในด้านภาพลักษณ์ เรายังรักษาภาพลักษณ์แบรนด์ได้อย่างแข็งแกร่งในทุกมิติ จากการวัดสุขภาพแบรนด์ (Brand Health) เติบโตในทุกๆ ด้าน ได้แก่ การเป็นแบรนด์ที่เหมาะกับฉัน (Brand For Me) การเป็นแบรนด์ที่เหมาะสำหรับวัยรุ่น (Suitable for Teens) การเป็นแบรนด์ที่เท่&คูล (Cool Brand) และการเป็นแบรนด์ที่ทันสมัย (Modern Brand)”

สำหรับธุรกิจอาหาร กลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น (Restaurant) นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ผลงานที่ดีขึ้นในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา มาจากการขยายสาขาร้านอาหารใหม่ ซึ่งปัจจุบันเรามีสาขาทั้งหมด 258 สาขาทั่วประเทศ ประกอบกับการเติบโตของยอดขายของสาขาเดิม รวมถึงการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงเมนูอาหาร และการพัฒนาระบบบริการ delivery สำหรับกลยุทธ์หลักในปีนี้ เรามุ่งเน้นไปที่ (1) Store Expansion ขยายสาขาต่อเนื่อง ตั้งเป้าเปิด 15-20 สาขาในปี 2562 นี้ และ 20 สาขาในปี 2563 โดยกระจายไปเจาะตลาดในจังหวัดเมืองรอง เพื่อให้เข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ๆ ให้มากยิ่งขึ้น (2) Brand Building & Customer Retention สร้างแบรนด์และรักษาลูกค้า ด้วยการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้น นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า โดยเฉพาะการขยายรูปแบบและช่องทางการบริการ ทั้งด้านการสั่งอาหารออนไลน์และบริการส่ง ผ่านช่องทางการสั่งซื้อออนไลน์ www.oishidelivery.com เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุค ดิจิตัล ให้เข้าถึงง่าย และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ผลักดันให้ปริมาณการใช้งานและสั่งซื้อสินค้าเติบโตถึง 17% อีกทั้งเน้นการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โดยยึดหลักการยึดมั่นในคุณภาพอย่างยั่งยืน” ด้านกลุ่มอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (Packaged Food) นางสาวเมขลา เนติโพธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหารสำเร็จรูป บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในปี 2562 นี้ บริษัทฯ สร้างแบรนด์อาหารสำเร็จรูปโออิชิให้แข็งแกร่งและเป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ (1) Brand Building รีแบรนด์ดิ้งอาหารพร้อมทาน ให้เป็น ‘One Brand’ ภายใต้แบรนด์ ‘โออิชิ อีทโตะ’ (OISHI EATO) เพื่อสร้างการรับรู้และความคุ้นเคย เมื่อลูกค้านึกถึงอาหารพร้อมทานสไตล์ญี่ปุ่นต้องนึกถึง OISHI EATO พร้อมสร้าง Brand Connection และ Brand Engagement กับผู้บริโภค (2) New Product เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย โดนใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง (3) Distribution ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ ได้แก่ ช่องทาง Food Services และ HORECA รวมทั้งผสานเครือข่ายธุรกิจภายในกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งรักษาช่องทางจำหน่ายทาง MT (Modern trade) และ CVS (Convenience Store) อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมุ่งเน้นขยายการเติบโตทางช่องทางใหม่ๆ เช่น Food Services, HORECA และต่างประเทศ พร้อมเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดปริมาณของเสียให้มากที่สุด “จากความมุ่งมั่นพิถีพิถันในทุกขั้นตอนเพื่อคัดสรรคุณภาพและคุณค่าก่อนส่งมอบสินค้าถึงมือผู้บริโภค ทำให้โออิชิได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าจนครองความเป็นผู้นำด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น การันตีจากรางวัลในด้านต่างๆ จากหน่วยงานชั้นนำ อาทิ รางวัล Thailand’s Most Admired Brand 2019” จากนิตยสารแบรนด์เอจ, รางวัล The Most Powerful Brands of Thailand 2018 จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนแล้ว   ยังรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการสร้างสรรค์โครงการเพื่อสังคม ได้แก่ โครงการ “ให้” และ โครงการ “อิ่มจัง” ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและมอบประสบการณ์พิเศษแก่ผู้ยากไร้” นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล กล่าวปิดท้าย


แชร์ :

You may also like