“ตอนนี้โลกของการทำธุรกิจอยู่ในยุค Disruption คำถามคือ เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ ให้ต่างไปจากเดิม ธุรกิจไทยทั้งบริษัทที่เป็นนำของประเทศไปจนถึงกลุ่มบริษัทขนาดกลาง และรายย่อย จะขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้าเติบโตได้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร?”
จากจุดนี้เองทำให้ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ผนึกกำลังกับ สถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกอย่าง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และยักษ์ใหญ่ใน 3 อุตสาหกรรมแถวหน้าในไทย อย่าง AIS, AP Thailand และ KBank ร่วมเปิด The Stanford Thailand Research Consortium ซึ่งถือเป็นการทำวิจัยระดับโลกที่ครบวงจรที่สุดแห่งแรกของประเทศไทย โดยเชื่อว่าผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือนี้จะเป็นเสมือนเข็มทิศที่ช่วยให้ธุรกิจไทยก้าวหน้าไปอีกขึ้น และผลักดันให้สังคม เศรษฐกิจไทย เติบโตได้อย่างแข็งแรง และมั่นคง
ทั้งนี้ อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยระดับโลก เปิดใจถึงการเชื่อมโยงภาคการศึกษาระดับโลก กับ บริษัทเอกชนแบรนด์ไทยว่า ที่ผ่านมาในต่างประเทศมีการ Research เกี่ยวกับความท้าทายของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ แต่ต้องยอมรับว่าผลการวิจัยเหล่านี้ไม่อาจนำมาเป็นตัวชี้วัดการทำธุรกิจในไทยได้ เพราะแหล่งที่มาและปัญหาทางธุรกิจที่มาจากการทำวิจัยนั้นไม่ได้มาจากบริบทที่เกิดขึ้นจริงในไทย แต่จากนี้ไปจากผลการวิจัยโดยตรงจาก The Thailand Research Consortium จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอุปสรรค ความท้าทาย และโอกาสของธุรกิจไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม และทำให้เกิดการพัฒนา ต่อยอดธุรกิจหนีพ้นจากการถูกดิสรัปชั่นได้จริงๆ
โมเดลการร่วมมือในครั้งนี้ คือ ทางคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จะร่วมมือกับภาคธุรกิจไทยทั้ง 3 อุตสาหกรรมนี้ ร่วมกันศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อค้นหาคำตอบของการทำธุรกิจใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งในเรื่องของธุรกิจ บุคลากร เทคโนโลยี เพื่อให้บริษัทสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น และทำให้ภาพรวมของธุรกิจไทยโตขึ้นด้วย
พร้อมด้วยประสบการณ์จากการทำงานด้านเทรนนิ่งและ Consulting ของ SEAC จะเข้ามาช่วยให้การทำ The Stanford Thailand Research Consortium เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดย SEAC จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างทั้ง 3 องค์กรและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพื่อร่วมค้นคว้า สรรหาความเหมาะสมในการทำหัวข้อวิจัย เพื่อที่จะได้สอดคล้องกับบริบทในอุตสาหกรรมของแต่ละบริษัทที่ต้องเผชิญอยู่ และได้คำตอบที่สามารถนำมาประยุกต์ ต่อยอด สร้างโอกาสทางเลือกใหม่ๆ ให้กับธุรกิจนั่น
การลงทุนกว่า 100 ล้านบาทในการทำ The Thailand Research Consortium นี้ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการ ทำงานวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ที่ทางภาคเอกชนได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในการทำการวิจัยแบบเจาะลึกเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาพัฒนาธุรกิจให้สามารถก้าวทันโลกการแข่งขั้นได้ โดยปัจจุบันมีสมาชิก 3 องค์กร เร็วๆนี้ ไทยยูเนี่ยน จะเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นด้วย
มิส โรนี่ย์ ชิโล่ ผู้อำนวยการโครงการอาวุโส Stanford Center for Professional Development มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า หลายโครงการที่เกิดขึ้นใน The Thailand Research Consortium ได้แรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 ในการยกระดับคุณค่าของมนุษย์ เพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ยกระดับความเป็นอยู่ของสังคมให้ดียิ่งขึ้น และส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยในการดูเรื่องของผู้สูงวัย และศึกษาเรื่องของการใช้ที่ดินและการตัดไม้ทำลายป่าในจังหวัดน่าน เป็นต้น
ทั้งนี้ อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดใจถึงเหตุผลที่เลือกทำการวิจัยในงานนี้ว่า เพราะทำธุรกิจทุกวันนี้ องค์กรต้อง Reskill และ Upskill ให้ทันความต้องการของตลาด รวมถึงต้องการมุ่งไปที่การวิจัย เรื่อง Well being โดยเฉพาะ Well being ของลูกบ้าน ส่วนภายในเองต้องการเรื่องของ Innovation Culture คือ การ Transform ในองค์กร เพื่อให้เกิดการ Move forward ได้เร็วต้องทำอย่างไร โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องเพิ่มความสุขให้กับคนในองค์กร เพราะเชื่อความเมื่อเกิดความสุขในการทำงาน จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อมีการทำวิจัยเสร็จ บริษัทฯ จะนำผลมารวมปรับองค์กรเพื่อทำให้คนในองค์กรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสุข เพื่อพัฒนาองค์กรได้ดีขึ้น
ผลจากความร่วมมือนี้ ทาง นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ย้ำว่า AIS โฟกัสในเรื่องของการเติบโตอย่างยั่งยืน เติบโตไปพร้อมกัน โดยกรอบความร่วมมือ 5 ปี นอกจากมีการทำวิจัยทางธุรกิจร่วมกันแล้ว ยังมีการทำกิจกรรมเพื่อค้นหาสิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยดีขึ้น อย่าง ตอนนี้ ทาง AIS ได้ทำเรื่องของการการศึกษา AIS เชื่อในเรื่อง Academy For Thai และรับรู้ละว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการศึกษาแต่ทำอย่างไรให้องค์กรรู้ด้วยเป็นต้น
“AIS ไม่ได้มองแค่ในเรื่องของการวิจัยที่ทางมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ทำให้กับ AIS เท่านั้น แต่การที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและองค์กรอื่นๆ ได้ร่วมมือกับ AIS ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่จะช่วยทำให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น”
ส่วนทางด้าน ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวฉายภาพของการพัฒนาในครั้งได้อย่างน่าสนใจว่า บริษัทได้ร่วมมือกับ The Stanford Thailand Research Consortium ประโยชน์ที่จะได้รับคือได้ผู้เชี่ยวชาญจากทางมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่มีความรู้ทางด้านทรัพยากรต่างๆ มาช่วยเราได้ โดยได้ร่วมกันทำ 2 เรื่องคือ โครงการรักป่าน่าน และโครงการ Chula Care ที่ทำร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาด้วย ซึ่งจะทำให้ลักษณะ Heath Care (AI Health Care for Elderly) และก็จะมีอีกหลายๆ โครงการตามมา
“ความร่วมมือที่เกิดขึ้น เป้าหมายที่จะเกิดขึ้นมี 2 ด้าน หลักๆ คือ Doing Well กับ Doing Good อย่าง Doing Good ก็คือการทำให้ประเทศดี และขับเคลื่อนไปข้างหน้า ส่วน Doing Well คือทำให้บริษัทดี คือการมองการไกล ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อาจจะเป็นเรื่องของ Innovation เกี่ยวกับเรื่องของ Start up ของทางบริษัทที่ลงทุนอยู่หรือดูแลอยู่จะใช้เทคโนโลยีอะไรมาช่วยให้พวกเขาโตขึ้น
ถึงวันนี้ทุกฝ่ายเชื่อว่า The Stanford Thailand Research Consortium งานวิจัยเชิงประยุกต์ที่องค์กรไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยด้านการสอนและการวิจัยชั้นนำระดับโลก ในครั้งนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้อย่างแน่นอน
ทั้งในแง่ของ “ทรัพยากรบุคลากร” โอกาสที่ได้เรียนรู้กับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกทำให้คนไทยได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีศักยภาพทางความคิดการทำงานที่มากขึ้น ภาคองค์กรบริษัทใหญ่ได้รับข้อมูลการวิจัยที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนขับเคลื่อนองค์กรได้เติยโตได้อย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ
ที่สำคัญคือ ผลลัพธ์ของโครงการที่ออกมา จะทำให้เห็นว่าวันนี้สังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสังคม คนสูงอายุ เด็กรุ่นใหม่ ไปจนถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม สุขภาพต่างๆ เมื่อเห็นที่มาของปัญหาก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างระบบ และทำให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาในทุกมิติ ทั้ง สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ GDP ของประเทศไทยดีขึ้นตามลำดับอย่างที่ควรจะเป็น