HomeSponsoredSuccess Story : 3 กลยุทธ์ค้นหา “โอกาสใหม่ๆ” สำหรับ SMEs ในยุคที่ต่อสู้คนเดียวไม่ได้

Success Story : 3 กลยุทธ์ค้นหา “โอกาสใหม่ๆ” สำหรับ SMEs ในยุคที่ต่อสู้คนเดียวไม่ได้

แชร์ :

ท่ามกลางปัจจัยลบรุมเร้ารอบด้าน ทำให้ผู้ประกอบการยุคนี้ต้อง “เหนื่อย” และมีสปิริตของ “นักสู้” อย่างเต็มเปี่ยม จึงจะสามารถนำพาธุรกิจให้เติบโตไปถึงฝั่งฝันได้อย่างที่ตั้งใจ ​คนที่แข็งแรงและพร้อมเท่านั้นจึงจะเป็น “ผู้รอด” และสามารถสร้างที่ยืน สร้างตลาดเป็นของตัวเองได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

และถึงแม้จะเป็น SMEs แต่วิธีการคิดและการเดินเกมธุรกิจในปัจจุบันก็ต้องลงสนามเดียวกัน คือ การเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้บริโภคให้ได้ ดังนั้น แม้จะเป็น SMEs แต่เมื่อลงสนาม ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ การหาตลาดหรือ Segment ที่ใช่จริงๆ จึงเป็นหนึ่งวิธีการสู้อย่างชาญฉลาด

มองตลาดให้ถูก เท่ากับพบโอกาสเติบโต

Coffee Talk Series สัมมนาครั้งล่าสุดจากศูนย์ธุรกิจเอสเอ็มอี SCB Business Center ในหัวข้อ Market ตลาดใหม่ โอกาสใหม่ ของ SMEs ไทย ชี้ให้เห็นวิธีสร้างตลาดของ SMEs ที่แม้จะแข่งในสนามที่มียักษ์ใหญ่เป็นเจ้าตลาดก็สามารถหาที่ยืนและสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวเองได้ ผ่านตัวแทนจาก 3 ธุรกิจ ได้แก่ ดร.ทวิชา ตระกูลยิ่งยง จาก SANSIRI บริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับประเทศ ร่วมให้มุมมองแก่ธุรกิจ SME ที่ไม่ควรมองข้ามการให้ความสำคัญและตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ

คุณเทพวรรณ คณินวรพันธุ์ จาก ZAAP PARTY บริษัทรับจัดงานอีเวนท์ที่ได้ใจวัยรุ่นจากประสบการณ์ที่โดนใจ​  และ  คุณมารุต ชุ่มขุนทด จาก CLASS CAFE จากธุรกิจร้านกาแฟที่ปรับตัวให้เข้ากับยุค Digital Disruption มาสู่การทำ Co-working Space และขยับตัวไปเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างและพร้อมที่จะ Join กับทุกธุรกิจ

เริ่มด้วย ดร.ทวิชา ตระกูลยิ่งยง จาก SANSIRI ​​​ให้มุมมองในฐานะคนจากฟากเทคโนโลยี ​​​ที่ช่วยชี้โอกาสให้ผู้ประกอบการยุคใหม่เห็นถึงมุมมองในการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจ โดยเฉพาะในมิติของการนำไปช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการช่วยสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่แตกต่างจากตลาดและคู่แข่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้เพิ่มมากขึ้น

เพราะจากนี้และในอนาคต ช่องว่างของธุรกิจที่มีความสามารถในการเข้าใจและสามารถผสมผสานการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ กับผู้ที่ไม่เข้าใจ​ในเรื่องเหล่านี้ก็จะยิ่งขยายกว้างมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องของเทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสและจุดแข็งให้กับธุรกิจตัวเอง

สำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้นนั้น อาจะทำได้ผ่านเครื่องมือดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งถือเป็น Touchpoint ที่ช่วยสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า และยังได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถนำไปต่อยอดการนำเสนอบริการให้ลูกค้าได้ในแบบรายบุคคลหรือ Personalization โดยเฉพาะความสามารถในการตอบโจทย์ได้แบบ Unmet Need ที่ธุรกิจเป็นผู้ครีเอทความต้องการให้กับลูกค้าได้ก่อนที่ลูกค้าจะรู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองต้องการอะไร โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การนำเสนอสินค้าหรือบริการได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา และมีความใส่ใจ

ประสบการณ์ที่สมบูรณ์จำเป็นต้องเชื่อมโยงโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันได้แบบไร้รอยต่อ ทั้งสเต็ปในช่วงก่อนมาซื้อสินค้าและบริการ หรือหลังจากซื้อไปแล้ว รวมทั้งความสามารถในการทำให้ลูกค้าเข้ามาใช้เวลาอยู่​ด้วยได้นานๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำความรู้จักและเข้าใจความต้องการ พฤติกรรม และอินไซต์ต่างๆ ของลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดไปสู่การพัฒนาโมเดลธุรกิจได้อย่างตรงจุดและถูกต้อง เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจสามารถขยายการ Engage ไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น”

ด้าน คุณบาส เทพวรรณ คณิณวรพันธุ์ จาก ZAAP PARTY (แซ้บ​ ปาร์ตี้) ​ซึ่งวัยเพียง 28 ปี แต่ได้ชื่อว่าเป็นตัวพ่อของวัยรุ่น เพราะเข้าใจอินไซต์ของกลุ่มวัยรุ่นเป็นอย่างดี เริ่มทำธุรกิจจัดอีเวนท์มาตั้งแต่ตอนยังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 3 แต่เพียงแค่จับงานแรกในชีวิตก็ล้มเหลว แถมยังต้องเป็นหนี้สูงถึง 9 แสนบาท แต่​ก็ไม่ท้อถอยลุกขึ้นมาหาทางสู้ต่อ และพยายามเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ​​จนปัจจุบัน​ ZAAP PARTY ได้รับความไว้วางใจให้จัดงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอีเว้นท์ที่จับกลุ่มวัยรุ่นไม่ต่ำกว่า 600 เวทีต่อปี

คุณบาส แชร์ประสบการณ์ที่น่าสนใจและเคล็ดลับในการเอาชนะใจกลุ่ม​ตลาดวัยรุ่น ด้วยการมอบ Experience​ ที่โดนใจ และพยายามเข้าใจอินไซต์กลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะทำจริงๆ ได้มีโอกาสเป็นผู้นำโปรเจ็กต์ เพราะการเลือกคนให้ถูกกับงานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เช่น เมื่อ ZAPP ต้องทำอีเวนท์หมอลำ ก็เปิดโอกาสให้ยามที่บริษัทซึ่งเป็นผู้ที่รู้เรื่องหมอลำดีที่สุด เข้ามามีส่วนร่วมและเป็น Head Project จนได้รับผลตอบรับที่ดีและสามารถขยายทาร์เก็ตไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้นกว่าเดิมได้

“​การจะจัดอีเวนท์ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน รวมทั้งมีความเข้าใจ รู้จัก​ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย​​ เพื่อทำให้งานออกมาสนุก ​ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในจุดที่เคยล้มเหลวมา​ ก็จะพบว่าการจัดงานในช่วงเริ่มต้นเลือกที่จะเอาความคิดของตัวเองเป็นหลัก มากกว่าให้ความสำคัญกับการเข้าใจและตอบโจทย์อินไซต์ที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่จะพลิกเกมด้วยการหันมาใช้ประโยชน์จากการเป็นวัยรุ่น มีเพื่อนรอบตัวที่ล้วนแล้วแต่เป็นวัยรุ่นที่ชื่นชอบงานสังสรรค์​ ปารตี้ รวมทั้งพยายามสังเกตวิธีการการ​ทำให้วัยรุ่นที่มาปาร์ตี้มี Engage กับงาน เป็นที่มาของงาน “ปาร์ตี้คนโสด” ที่ได้รับการตอบรับอย่างดี ทำให้ ZAPP Party ได้รับการยอมรับในฐานะ Organizer ที่โฟกัสกลุ่มวัยุร่นอย่างชัดเจน และต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยาวนานมากว่า 7-8 ปีแล้ว”

ความสำเร็จของ ZAAP มาจากความสามารถในการดีไซน์ประสบการณ์ เพื่อสร้างความสุขให้ทุกคนที่มาร่วมงาน ​ซึ่งสุดท้ายแล้วทุกอย่างมาจากการเข้าใจ Insight  โดยคุณบาส ทิ้งท้ายว่า ความภูมิใจในการจัดงานแต่ละครั้งของ ZAPP นั้น ไม่ได้วัดจากแค่จำนวนคนมาร่วมงานว่ามีมากแค่ไหน แต่จะดูจากประสบการณ์ที่สามารถส่งมอบให้กับผู้ร่วมงานว่าทำให้ทุกคนมีความสุขหรือพอใจได้มากแค่ไหน ผ่านการดูแลรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ​ เพื่อความสะดวกสบายหรือสุนกสนานได้เต็มที่ขึ้น เช่น การทำให้คนเข้างานได้อย่างสะดวก ไม่ต้องต่อคิวหรือเข้าแถวรอหน้างานนานๆ รวมทั้งกล้าที่จะออกจากกรอบ และพร้อมสำหรับการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลง มองความเปลี่ยนแปลงเหมือนเพื่อน เพราะวัยรุ่นก็เป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน จึงต้องพร้อมต่อการปรับและเปลี่ยน เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และพยายามมองหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ

ขณะที่ คุณกอล์ฟ มารุต ชุ่มขุนทด จาก CLASS CAFÉ ผู้เข้ามาปฏิวัติการแข่งขันในธุรกิจร้านกาแฟ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นธุรกิจที่ไม่มีความต่าง รวมทั้งไม่มีภูมิต้านทานจากปัจจัยภายนอก ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่ธุรกิจจะไปไม่รอด​ ขณะที่ CLASS CAFÉ แตกต่างจากร้านกาแฟทั่วไป เพราะสามารถมอบสิ่งที่เรียกว่า Beyond Experience ให้กับลูกค้า เพื่อให้ตอบโจทย์ได้มากกว่าแค่เรื่องของรสชาติกาแฟ ดีไซน์ที่สวยงาม และประสบการณ์ที่ดี ตามสูตรสำเร็จของธุรกิจกาแฟโดยทั่วไป

ความแข็งแรงของ CLASS CAFÉ มาจากการเดินกลยุทธ์ป่าล้อมเมือง เริ่มมาจากตลาดที่หลายๆ คนอาจมองข้าม อย่างในภาคอีสาน ทั้งโคราช​​ บุรีรัมย์ ขอนแก่น หรืออุดรธานี เพราะส่วนใหญ่​เมื่อนึกถึงร้านกาแฟ มักจะนึกถึงภาคเหนือ อย่างเชียงใหม่ เชียงราย แต่ภาคอิสานก็มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะจำนวนคนที่มีอยู่ค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันการเลือกเข้าไปในตลาดที่ไม่ค่อยมีคนสนใจก็จะทำให้มีคู่แข่งในตลาดน้อยลงด้วยเช่นกัน”

​นอกจากนี้ ยังเลือกใช้วิธีคิดแบบใหม่และแตกต่าง รวมทั้งพยายามพัฒนาโมเดลธุรกิจจากการเป็นเพียงธุรกิจร้านกาแฟแบบเดิมๆ ​ไปสู่โมเดลธุรกิจที่กำลังอยู่ในกระแสอย่าง Co-working Space โดยที่กาแฟเป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบของทั้งหมด เพื่อสามารถสร้างการเติบโตได้หลายเท่าตัวเหมือนวิธีคิดของกลุ่มสตาร์ทอัพ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จาก​ Big Data เพื่อให้มีความสามารถในการเข้าไป Connect กับชีวิตลูกค้า ​โดยเปลี่ยนวิธีคิดในการทำธุรกิจจากการขายกาแฟ มาเป็นการทำให้ลูกค้าเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ในร้านได้นานมากขึ้น

“เมื่อโจทย์ตั้งต้นในการทำธุรกิจเปลี่ยนไป วิธีคิด วิธีทำก็ต้องเปลี่ยน รวมทั้งต้องทรานสฟอร์มตัวเอง มีมุมมองใหม่ในการทำธุรกิจ มองตัวเองเป็น Open Coffee Platform เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพต่างๆ และทำให้ร้านเรากลายเป็นแพลตฟอร์มที่เต็มไปด้วยโอกาส ​เปิดโอกาสให้คนที่ถนัดในแต่ละเรื่องมาสร้างพื้นที่ของตัวเองในแพลตฟอร์มเรา​​ ทำให้พื้นที่ภายในร้านเป็นพื้นที่สำหรับสร้างอีโคซิสเต็ม จากการที่ทุกคนอยากมา Connect ผ่านแพลตฟอร์มเรา โดยที่เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเพียงคนเดียว แต่ช่วยสนับสนุนให้เกิด Ecosystem ที่เข้มแข็งในการทำธุรกิจ ผ่านการมีพันธมิตรที่หลากหลาย และทำให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งพึ่งพาอาศัยกันได้“

SME ​​ต้องครบทั้งฮาร์ดแวร์​และซอฟต์แวร์

แม้ Technology Disruption เป็นหนึ่งในความท้าทายและภัยคุกคามของหลายธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็ได้ทลายกำแพงในการแข่งขัน และกลายเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจขนาดกลางๆ หรือเล็กๆ ที่มีวิธีคิดที่แตกต่าง และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ดีกว่า มีโอกาสที่จะเติบโต เข้ามาท้าทายรายใหญ่ได้ แบบที่อาจจะไม่ค่อยเคยได้เห็นมามากนักในยุคก่อนหน้านี้

ขณะที่การเตรียมความพร้อมสำหรับกลุ่ม​ SME หรือเหล่าผู้ประกอบการยุคใหม่นั้น การมีพาร์ทเนอร์​ มีที่ปรึกษา เพื่อเป็นเพื่อนคู่คิด ที่คอยให้มุมมองหรือแนวทาง ให้มองเห็นโอกาสใหม่ๆ  หรือช่วยสร้างแรงบันดาลใจ แชร์ประสบการณ์ แชร์ไอเดีย รวมไปถึงอาจจะกลายเป็นพื้นที่ในการบ่มเพาะโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ก็จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะเติบโตในโลกธุรกิจได้อย่างแข็งแรง และแข็งแกร่งต่อไป

เรียกได้ว่า การทำธุรกิจในยุคนี้ ต้องมีครบทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เพราะปัจจัยลบและความท้าทายที่อยู่รอบด้าน ซึ่งศูนย์ธุรกิจเอสเอ็มอี SCB Business Center มีความเข้าใจความต้องการของเหล่านักรบ SME ในยุคนี้เป็นอย่างดี จึงได้ปรับตัวให้สามารถตอบ Need ให้กับผู้ประกอบการ ได้ครบถ้วนมากขึ้น

ผ่านการปรับคอนเซ็ปต์ SCB Business Center ใหม่ ภายใต้แนวคิดจุดศูนย์รวมของคนอยากทำธุรกิจ เพื่อร่วมให้กำลังใจและชวนผู้ประกอบการ SME ลุกขึ้น “สู้” กับทุกอุปสรรคในการทำธุรกิจ ในฐานะพื้นที่จุดประกายความคิดต่อยอดธุรกิจได้ครบจบในที่เดียว โดยนำร่องใน 3 แห่ง​ ได้แก่ สยามสแควร์  เซ็นทรัลเวิลด์ ​และเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์

สำหรับไฮไลท์ใน SCB Business Center โฉมใหม่ ปรับรูปแบบให้มี Co-working Space สามารถเข้ามานั่งทำงาน พูดคุยธุรกิจ พร้อมกับมีร้านกาแฟอย่าง Class Cafe ที่มาให้บริการภายใต้ชื่อ CLASS.SCB นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรที่เข้ามาให้บริการพร้อมคำปรึกษา ไม่ว่าจะเป็น Wongnai, Get, ไปรษณีย์ไทย พร้อมกับดีลพิเศษต่างๆ ซึ่งไม่สามารถหาได้จากที่อื่น มีเฉพาะใน SCB Business Center เท่านั้น อีกทั้งมีบริการที่ปรึกษาทางการเงินโดยผู้เชี่ยวชาญแบบตัวต่อตัว หรือหากต้องการจัดประชุม ก็สามารถจับจองพื้นที่ห้องประชุมได้ พร้อมให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี นอกจากนี้ยังให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดงานสัมมนาเป็นประจำ โดยหัวข้องานสัมมนาจะสลับสับเปลี่ยนไป ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นต้น เพื่อติดอาวุธให้เอสเอ็มอีสามารถทำธุรกิจได้มีประสิทธิภาพและมีการเติบโตทางยอดขาย

นอกจากนี้ ที่ SCB Business Center สยามสแควร์ ยังได้ทดลองสาขาต้นแบบในการให้บริการทางการเงินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ผู้ประกอบการยุคใหม่ที่อาจไม่มีเวลาไปทำธุรกรรมทางการเงินตามเวลาทำการปกติ โดยที่สาขานี้ จะเปิดให้ทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ ฝาก ถอน โอน เปิดบัญชี ปรึกษาผลิตภัณฑ์ธนาคาร ฯลฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แบบไม่มีวันหยุด

และเพื่อเติมเต็มผู้ประกอบการให้ครบทั้งในมิติของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ภายใน SCB Business Center ยังได้จัด Coffee Talk Series สัมมนาฟรี ที่มอบความรู้ แชร์ข้อมูล ไอเดีย รวมทั้งประสบการณ์ตรงทั้งจากเจ้าของธุรกิจหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้สนใจ โดยเนื้อหาที่นำมาจัดสัมมนานั้นล้วนได้รับการโหวตมาจากความสนใจของกลุ่ม SME เป็นหลัก เพื่อให้ SCB Business Center โฉมใหม่ เป็นจุดศูนย์รวมของคนอยากทำธุรกิจที่สามารถตอบความต้องการ สอดรับกับจุดประสงค์ในการทำธุรกิจของลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง


แชร์ :

You may also like