โซเชียล มีเดีย ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลสำหรับ Users ชาวไทย และช่วงตลอดปี 2019 ที่ผ่านมา ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ บนสื่อโซเชียล มีเดีย ที่น่าสนใจและจำเป็นต้องรู้เท่าทัน ซึ่งทางไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลบนสื่อโซเชียล โดย คุณกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้สรุปความเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เกิดขึ้น และจะส่งผลต่อเนื่องมาสู่ปี 2020 นี้ ผ่านการบรรยายในหัวข้อ The SHIFT of Consumer Insight ภายในงาน Thailand Zocial Awards 2020 Forum Day
คุณกล้า สรุป 6 ความเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย
1. จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียไม่ได้เพิ่มขึ้น ยังคงมีสัดส่วนอยู่ที่ 74% เท่าเดิม แต่มีปริมาณการใช้เพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่าจำนวนข้อความบนโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น 36% จาก 5.3 พันล้านข้อความในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 7.2 พันล้านข้อความ ในปีนี้ โดยเป็นคอนเทนต์ที่มาจากแบรนด์ราวว 85,000 ข้อความ จาก 1,399 แบรนด์
2. จาก 1,399 แบรนด์ ที่ทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งบนโซเชียล พบว่า มีถึง 84% ของแบรนด์ มีการใช้โซเชียลมีเดียตั้งแต่ 2 แพลตฟอร์มขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ดังนั้น ถ้าแบรนด์ใดที่มีแพลตฟอร์มหลักแค่แพลตฟอร์มเดียว จำเป็นต้องปรับตัวและหาแพลตฟอร์มใหม่เพิ่มเติม
นอกกจากนี้ การวัดประสิทธิภาพของคอนเทนต์ที่แบรนด์ส่งออกไป จะเทียบจากค่ากลาง ที่เรียกว่า P90 ซึ่่งเป็นค่าเฉลี่ยของคอนเทนต์ในกลุ่ม Top Form และคอนเทนต์ทั่วไป โดยแพลตฟร์มหลักอย่างเฟสบุ๊ก, ทวิตเตอร์, IG จะวัด P90 จากเอนเกจเม้นต์ ส่วนยูทูปจะวัดจากยอดวิว โดย P90 ของเฟสบุ๊ก อยู่ที่ 1,297 engagement, Twitter 201 Engagement, IG 938 Engagement ส่วน P90 ของ YouTube จะอยู่ที่ 630,480 วิว
3. ความเปลี่ยนแปลงในกลุ่ม Influencers ซึ่งยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้สื่อสารแทนแบรนด์ต่างๆ โดยพบว่า เกือบทั้งหมดของ Influencers หรือ 97% มีการนำเสนอเนื้อหาข้ามหมวดหมู่ตั้งแต่ 2 หมวดหมู่ขึ้นไป สะท้อนว่าอินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบันไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นหมวดหมู่อีกต่อไป ทำให้มักจะเห็นอินฟลูเอนเซอร์หมวดความสวยงาม เริ่มหันมานำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หรือออกกำลังกายมากขึ้น และยังคงได้รับความนิยมสูงจากผู้ติดตาม รวมถึงกระจายเนื้อหาไปได้ในวงกว้างมากขึ้น
ดังนั้น แบรนด์ที่ต้องการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร จำเป็นต้องเลือกจากคาแร็คเตอร์ หรือจากคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาตรงกับส่ิงที่แบรนด์อยากจะพูดมากกว่าดูจากการจัดหมวดหมู่ของ Influencers แต่ละราย
4. ความโดดเด่นและ Powerful ของคอนเทนต์ในกลุ่มลูกทุ่ง ที่มาแรงอย่างมากในปีที่ผ่านมา โดยพบว่าคอนเททนต์ในกลุ่ม Top 20 เพลงฮิตบนยูทูป เป็นเพลงลูกทุ่งไปแล้ว 12 เพลง และเมื่อพิจารณากลุ่ม Top 10 ของเพลงลูกทุ่ง จะพบยอดวิวที่สูงมากกว่า Top 10 ของเพลงประเภทอื่นๆ รวมกันถึง12%
และหากมีศิลปินหมวดอื่นๆ ทำ Collaborate กับศิลปินลูกทุ่ง หรือออกซิงเกิลเพลงลูกทุ่ง พบว่ายอดวิวจะเพิ่มสูงขึ้นมมากกว่าเดิมถึง 480% ดังนั้น หากต้องการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่ม Mass การเลือกใช้คอนเทนต์เพลงลูกทุ่งเป็นการวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ
5. บนโซเชียลมีเดีย ยังมีมุมดาร์กไซด์ที่จำเป็นต้องรู้เท่าทัน และสังคมควรตระหนักถึงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายและไม่เหมาะสมต่างๆ โดยพบว่า มีข้อความมากกว่า 1.2 แสนข้อความ ที่ Mention ถึงเรื่องการพนันออนไลน์, มากกว่า 7.75 แสนข้อความ เป็นเรื่องของการ Bullying หรือการกลั่นแกล้งกันผ่านทางออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน และมีมากกว่า 1.3 ล้านข้อความ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ โดยที่มีการระบุราคาซื้อบริการไว้อย่างโจ่งแจ้ง
6. ในแง่ของ Social Listening หรือการวิเคราะห์ประมวลผลจากการเก็บข้อมูลต่างๆ จะทำได้ดีและมีความลึกซึ้งมากขึ้น จากที่เคยเป็นแบบ Human Base Insight หรือการใช้คนเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูล แต่ด้วยปริมาณมหาศาลของข้อมูล จำเป็นต้องนำ AI เข้ามาเพื่อช่วยให้ประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจมนุษย์มากขึ้น ทำให้แบรนด์หรือนักการตลาด สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ นำมาซึ่งการวางกลยุทธ์องค์กร หรือการทำตลาดอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
“ในปีนี้สิ่งที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญคืออ การฟังเสียงของลูกค้า เพื่อให้รู้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถปรับตัวได้ทันกับโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงต้องมองภาพรวมอย่างรอบด้าน เพื่อประเมินสถานการณ์และคู่แข่ง รวมทั้งการมอองหาเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน และวางแผนรับมือได้อย่างทันท่วงที”