HomeSponsoredSilicon Craft ผู้สร้างไมโครชิพสัญชาติไทย เบื้องหลังความสำเร็จนวัตกรรมอัจฉริยะระดับโลกที่ทุกคนต้องเคยสัมผัส

Silicon Craft ผู้สร้างไมโครชิพสัญชาติไทย เบื้องหลังความสำเร็จนวัตกรรมอัจฉริยะระดับโลกที่ทุกคนต้องเคยสัมผัส

แชร์ :

“บางครั้งการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่จะมีเพียงความไฮเทคและความสามารถอันชาญฉลาดเท่านั้น เพราะถ้าอยู่ไม่ถูกที่ถูกตลาด ต่อให้เทคโนโลยีนั้นสุดล้ำขนาดไหน คงไม่เกิดประโยชน์และเติบโตได้” นี่น่าจะเป็นคำกล่าวที่ตรงที่สุดสำหรับ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SICT กับเส้นทางการสร้างธุรกิจออกแบบไมโครชิพ (Microchip) ที่สร้างชื่อเสียงให้เมืองไทยจนโด่งดังไปทั่วโลก ตลอด 18 ปีที่ผ่านมา ซิลิคอน คราฟท์ ยังคงเดินหน้าพัฒนาไมโครชิพอัจฉริยะอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อให้มีความ Wow ในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับนำหุ้นโลดแล่นบนกระดานในตลาด mai ภายใต้ชื่อหุ้น “SICT”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

วันนี้ Brand Buffet จะพามาทำความรู้จักกับผู้สร้างไมโครชิพสัญชาติไทยถึง Passion และความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ไมโครชิพอย่างต่อเนื่อง พร้อมเผยเบื้องหลังความสำเร็จในการปลุกปั้นแบรนด์ไมโครชิพไทยให้ครองความนิยมในตลาดโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 3 ของโลกในตลาดไมโครชิพระบุตัวตนของสัตว์ (Animal ID) เป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือ ทั้งยังตั้งเป้าจะก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งด้านการออกแบบไมโครชิพตลาด Animal ID ระดับโลกในอีก 4 ปีข้างหน้า

เส้นทางออกแบบไมโครชิพสัญชาติไทย

หากย้อนกลับไปเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา “ไมโครชิพ” (Microchip) ยังเป็นเรื่องไกลตัวผู้บริโภคมาก ชนิดที่หลายคนอาจนึกภาพของชิพขนาดจิ๋วที่ถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ออกทีเดียว ทำให้การใช้งานที่ผ่านมาจึงยังเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก

ในโลกปัจจุบัน “ไมโครชิพ” เริ่มขยับเข้ามาใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น จนหลายคนอาจไม่เคยรู้เลยว่าอุปกรณ์ หรือแอปพลิเคชันที่เราใช้กันหลายๆ อย่างในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น กุญแจรถยนตร์ บัตรคีย์การ์ดสำหรับเข้า-ออกคอนโด โรงแรม และสถานที่ต่างๆ รวมถึงบัตรรถไฟฟ้า ล้วนมีชิ้นส่วนของไมโครชิพฝังอยู่ ซึ่งไมโครชิพเป็นส่วนนึงที่ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น และไมโครชิพนี่เองก็มาจากฝีมือผู้ประกอบการสัญชาติไทย ที่มีชื่อว่า “ซิลิคอน คราฟท์” ก็มีประสิทธิภาพและสามารถทำให้ทุกคนใช้งานได้งานอย่างง่ายดายไม่แพ้คู่แข่งระดับโลก

คุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เล่าถึงความเป็นมาของแบรนด์ ซิลิคอน คราฟท์ ว่า เกิดจากความฝันของวิศวกรไทยผู้มีประสบการณ์ทำงานด้านการออกแบบไมโครชิพใน ซิลิคอน วัลเลย์มากว่า 12 ปี และอยากเห็นคนไทยมีความสามารถในการออกแบบเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) เพราะเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูง โดยเฉพาะการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ หรือ RFID Application จนกระทั่งในปี 2545 หลังกลับเมืองไทยและกำลังค้นหาว่าจะทำธุรกิจอะไร จึงตัดสินใจรวมตัวกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวงจรรวม (IC Design) เปิดบริษัทออกแบบไมโครชิพไทยแท้ขึ้น

แม้จะมีองค์ความรู้และประสบการณ์ทำงานออกแบบไมโครชิพมาก่อน แต่เมื่อลงสู่สนามธุรกิจ กลับพบความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะความใหม่ของอุตสาหกรรม ทำให้ในช่วงแรกของบริษัทจึงเน้นการวิจัยและพัฒนาไมโครชิพสำหรับส่งสัญญาณบนคลื่นวิทยุ (RFID : Radio Frequency Identification) ของตนเองที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานในอุตสาหกรรมเพื่อเป็นต้นแบบให้โลกเห็น

“3 ปีแรกเป็นช่วงที่เราล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูก แต่ละครั้งคือการสั่งสมองค์ความรู้ที่ได้ทำการวิเคราะห์จากจุดเสียเดิมว่าเป็นอย่างไรและปรับปรุงขึ้นมาเรื่อยๆ จนออกมาเป็น Animal ID ที่สามารถทำเป็นเชิงพาณิชย์ได้ โดยเริ่มเจาะตลาดฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศออสเตรเลียเป็นกลุ่มแรก จากช่วงที่มีโรคระบาดในสัตว์ จนรัฐบาลต้องออกนโยบายให้มีการระบุตัวตนเพื่อใช้ในการตรวจสอบติดตาม”

จากน้องใหม่ สู่ผู้ผลิตไมโครชิพสำหรับ Animal ID อันดับต้นๆ ของโลก

แม้จะเป็นตลาดที่โอกาสเติบโตสูง แต่ RFID ก็เป็นเทคโนโลยีที่มีความเฉพาะเจาะจง ในตลาดจึงมีผู้เล่นไม่ถึง 5 ราย (และรายย่อยอื่นๆ) โดยแต่ละรายล้วนเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่กว่า ซิลิคอน คราฟท์ เป็นพันเท่า โดยในช่วง 4 ปีแรก ซิลิคอน คราฟท์ จึงวางตัวเองเป็น Analog Value Company โดยมุ่งโฟกัสตลาด Animal ID อย่างหนักเพียงอย่างเดียว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยอมรับในแบรนด์

“เราไม่จำเป็นจะต้องเจ๋งกว่าเขาทุกอย่าง เพราะการแข่งกับคนที่ใหญ่กว่าเราพันเท่าไม่ง่าย เราต้องมีความสามารถในการแข่งขันอย่างน้อยที่สุดในบางเซกเมนต์หรือในบางแอปพลิเคชันที่เราเจ๋งกว่า ก็แข่งตรงนั้น ส่วนผลิตภัณฑ์ไหนแข่งไม่ได้ เราก็อาจจะนำเอาฟีเจอร์บางอย่างที่เหนือกว่าไปตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในเซกเมนต์ย่อยๆ ในบางตลาด”

กระทั่งในปี 2549 เขาจึงเริ่มพัฒนาไมโครชิพให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย (Multi-Purpose) มากขึ้น จนปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทแบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักตามการใช้งาน ได้แก่ 1.ไมโครชิพสำหรับระบุตัวตนในสัตว์ (Animal Tag) 2.ไมโครชิพสำหรับระบบกุญแจสำรองอิเล็กทรอนิกส์ของยานยนต์ (Immobilizer) 3.ไมโครชิพสำหรับระบบเข้าออกสถานที่ (Access Control) และระบบอ่านข้อมูลสินค้า (Interrogator) และ 4.ไมโครชิพในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือไมโครชิพที่มี NFC (Near Field Communication) ซึ่งเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายด้วยคลื่นความถี่ในระยะใกล้ สำหรับระบบฉลากอัจฉริยะเพื่อป้องกันการปลอมแปลงสินค้า หรือตรวจวัดค่าเซ็นเซอร์ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังขยายตลาดในหลายประเทศ ทั้งออสเตรเลีย จีน สหรัฐอเมริกา และในยุโรป ปัจจุบันมีสัดส่วนตลาดต่างประเทศ 99% และตลาดไทย 1%

“เพราะไมโครชิพเป็น Component โดยต้องนำ RFID Chip ไปทำเป็น RFID Tag ซึ่ง RFID Tag ก็ยังเป็น Component อยู่ดี ซึ่งตลาด Component ไทยเล็กมาก เนื่องจากในช่วงที่เราพัฒนา Deep tech ยังใหม่มาก ขณะที่ในต่างประเทศจะเห็น Value ของผลิตภัณฑ์มากกว่า ซึ่งในอนาคตเราอาจจะโฟกัสตลาดไทยมากขึ้น เพราะเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ”

คุณมานพ ให้เหตุผลที่ยังไม่ได้เล่นกับตลาดในเมืองไทยเป็นหลัก และบอกว่า จากวันที่ต้องแข่งกับคนที่ทิ้งห่างไปหลายเท่า ถึงวันนี้ผลิตภัณฑ์ของซิลิคอน คราฟท์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับในตลาด โดยในปัจจุบัน ครองส่วนแบ่งตลาด Animal ID มากกว่า 20%

“เราพอใจในระดับหนึ่งเพราะเราเริ่มต้นมาจากศูนย์ แต่เราต้องการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงมากกว่านี้ เพื่อให้ผู้ผลิต Tag ทั่วโลกหันมาใช้ไมโครชิพจากซิลิคอน คราฟท์”

“ความต่าง” ช่วยให้สำเร็จ

โดยสิ่งที่ซิลิคอน คราฟท์ยึดมั่นมาตลอดในการทำธุรกิจกว่า 18 ปี คือ ความต่าง ด้วยการพัฒนาวิจัยไมโครชิพให้โดดเด่นจากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาด, การ Co-Creation กับแบรนด์สินค้าในการออกแบบชิพร่วมกัน และการเพิ่มมุมแปลกใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ซิลิคอน คราฟท์ ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานและเติบโตอย่างแข็งแกร่งจนถึงวันนี้

สำหรับหลักคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าแต่ละครั้งนั้น คุณมานพ บอกว่า มาจาก Creativity ซึ่งเป็นการผสมผสานหลายส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งการช่วยกันระดมสมองดูเทรนด์อนาคตที่กำลังเติบโตของทีมวิจัย ขณะเดียวกันยังมีการสำรวจตลาดว่ามี Pain Point อะไรบ้างเพื่อนำความต้องการเหล่านั้นมาออกแบบดีไซน์ชิพให้ตอบโจทย์ลูกค้าอยู่ตลอดเวลา

โดยปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของซิลิคอน คราฟท์ จะมาจากธุรกิจ Animal ID ประมาณ 33-42% ธุรกิจ Immobilizer ประมาณ 25-38% ขณะที่ธุรกิจ Access Control ประมาณ 27-32% และไมโครชิพที่ประยุกต์ใช้ตามการใช้งานต่างๆ เช่น NFC ประมาณ 1-2% โดยภายใน 3-5 ปีจากนี้ สัดส่วนของธุรกิจไมโครชิพที่ใช้เทคโนโลยี NFC จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น

บุกตลาด Digital Health ดันธุรกิจก้าวสู่เบอร์ 1 โลก

ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไมโครชิพอาจจะยังอยู่ในตลาดเฉพาะกลุ่มสำหรับอุตสาหกรรม แต่คุณมานพ กล่าวว่า เทรนด์การนำ RFID มาใช้งานจากนี้ไปจะถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้มีแนวโน้มเข้ามาใกล้คอนซูเมอร์มากขึ้น โดยจะเห็นการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบันมากขึ้น

ส่งผลให้ทิศทางการทำธุรกิจของซิลิคอน คราฟท์ นับจากนี้ มีแผนขยายเข้าไปในตลาด Digital Health และ Telemedicine ที่สามารถนำมาเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อวัดสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นความดัน คอเลสเตอรอล และน้ำตาล โดยตอนนี้อยู่ระหว่างการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจและนักพัฒนาเซ็นเซอร์เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจสุขภาพได้เองที่บ้าน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลการวิเคราะห์ด้วยเซ็นเซอร์

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่กำลังดำเนินการพัฒนาออกแบบสินค้าถึง 3 โครงการด้วยกัน 1. กลุ่มไมโครชิพที่มีเทคโนโลยี NFC ไม่ว่าจะเป็น การใช้ NFC สำหรับเครื่องตรวจวัดอัจฉริยะ เช่น อาทิ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดปริมาณของแข็งที่แขวนลอยหรือละลายในน้ำ (TDS) ตรวจวัดเชื้อโรคในสารคัดหลั่ง ตรวจวัดสารเคมีตกค้างในน้ำประปาหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น 2. ไมโครชิพ NFC ที่มีความสามารถในการวัดอุณหภูมิและจัดเก็บข้อมูล (data logger) สำหรับงานโลจิสติกที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ (cold chain logistic) ที่ต้องการความปลอดภัยสูง และ มีเซนเซอร์ป้องกันการงัดแงะหรือเปิดบรรจุภัณฑ์ 3. พัฒนาศักยภาพของไมโครชิพสำหรับการป้องกันการปลอมแปลงสินค้า

“ตอนนี้เรามีความพร้อมมากที่จะขยับให้เป็นเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรม และต้องการเป็นบริษัทด้านการออกแบบไมโครชิพไทยที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเรามีแผนจะเข้าซื้อขายในตลาด mai ในไตรมาส 3 ปี 2563 และยอดขายเติบโต 2 เท่าใน 4 ปี รวมถึงต้องสามารถแตกกิ่งก้านผลิตภัณฑ์ให้เกิดความแข็งแรงได้ไม่น้อยกว่า 5-10 ปี”

คุณมานพ กล่าวถึงเป้าหมาย และเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน เพราะหากดูจากผลิตภัณฑ์ที่ทำตลาดในตอนนี้ แต่ละเซกเมนต์ยังคง เติบโต ไปตามอุตสาหกรรม โดย Animal ID มีการเติบโตเร็วกว่าที่คาดคิดไว้อย่างมาก เนื่องจากการระบาดของโรคต่างๆ ในสัตว์ จึงกลายเป็นภาคบังคับในการใช้ Animal ID ซึ่งจะเป็นตัวเพิ่มอัตราเร่งการเติบโตให้กับบริษัทอย่างมาก ขณะที่กลุ่มไมโครชิพสำหรับธุรกิจกุญแจสำรองรถยนต์ สามารถเติบโตได้จากการขยายตลาดเข้าไปในสหรัฐอเมริกาและจีนได้เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น

ส่วนไมโครชิพสำหรับระบบเข้า-ออกสถานที่ (Access Control) และระบบอ่านข้อมูลสินค้า (Interrogator) มีการเติบโตตามการใช้งาน จึงยังสามารถเติบโตต่อได้อีกมาก สำหรับไมโครชิพในรูปแบบของ NFC และแอปพลิเคชันอื่นๆ เชื่อว่าจะเปิดความว้าวใหม่ๆ ในแง่การใช้งานผ่านแพลตฟอร์มบนมือถือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งตอนนี้บริษัทยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังพัฒนาต่อไปอีกเรื่อยๆ ต่อไปถ้าสามารถเข้าไปอยู่ในตลาดสุขภาพและกลายเป็นมาตรฐานของการประยุกต์ใช้ในอนาคต จะเป็นโอกาสในการเติบโตอีกมาก

 


แชร์ :

You may also like