HomeBrand Move !!สรุปมหากาพย์โรงแรมหรู “ดาราเทวี” กับเส้นทาง 19 ปี จนถึงวันล้มละลาย ในมือ IFEC

สรุปมหากาพย์โรงแรมหรู “ดาราเทวี” กับเส้นทาง 19 ปี จนถึงวันล้มละลาย ในมือ IFEC

แชร์ :

Dhara Dhevi Chiang Mai

facebook : Dhara Dhevi Chiang Mai

เป็นกระแสข่าวสะเทือนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย.2563 กับการประกาศปิดกิจการของโรงแรมหรู “ดาราเทวี” เชียงใหม่ เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินใช้เจ้าหนี้ ตลอดเส้นทาง 19 ปี ของ “ดาราเทวี” ตั้งแต่วันก่อตั้งถึงวันปิดกิจการ เป็นอีกหนึ่งมหากาพย์ลากยาวมาหลายปีก่อนปิดฉากในมือของ IFEC

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

รู้จักโรงแรมหรู “ดาราเทวี เชียงใหม่”

โรงแรมดาราเทวี เชียงใหม่ เริ่มก่อสร้างในปี 2545 ก่อนจะเปิดให้บริการในปี 2547 โดยเลือกเชนโรงแรมหรู “แมนดาริน กรุ๊ป” เป็นผู้บริหาร ในยุคเริ่มต้นจึงใช้ชื่อ “แมนดาริน โอเรียลเต็ล ดาราเทวี” เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมการก่อสร้างแบบล้านนาโบราณ ตั้งอยู่บนทำเลทองที่ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่ราว 148 ไร่  มีจำนวนห้องพัก 123 ห้อง ใช้เงินลงทุนราว 3,000 ล้านบาท

ผู้ก่อตั้งโรงแรมดาราเทวี ที่ถือเป็นเจ้าของคนแรก คือ คุณสุเชฏฐ์ สุวรรณมงคล ครอบครัวเป็นดีลเลอร์ขายรถอีซูซุใหญ่ที่สุดในภาคใต้ มีความชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา จึงได้ตัดสินใจลงทุนสร้างโรงแรมดาราเทวี

หลังจากดำเนินกิจการได้เพียงไม่กี่ปี ก็มีข่าว “ดาราเทวี เชียงใหม่” ขายกิจการออกมาตลอด มีกลุ่มทุนหลายรายทั้งนักลงทุนไทยและนักลงทุนจีน สนใจซื้อกิจการและร่วมทุน

แต่บทสรุปช่วงปลายปี 2558 “ดาราเทวี” มาอยู่ในมือของ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ขณะนั้นมี นพ.วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ IFEC

Dhara Dhevi Chiang Mai

facebook : Dhara Dhevi Chiang Mai

IFEC ซื้อกิจการกลุ่มดาราเทวี 2,520 ล้านบาท

เส้นทางมหากาพย์บทใหม่เริ่มต้นเมื่อ IFEC ที่ทำธุรกิจพลังงาน ต้องการขยายการลงทุนในธุรกิจโรงแรมกลุ่มดาราเทวี เชียงใหม่  ซึ่งมองว่าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพและสามารถต่อยอดธุรกิจด้านสุขภาพ ด้วยการใช้ภูมิปัญญาไทย แบบล้านนามาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับวิธีการดูแลสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน คาดว่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในอนาคต

คณะกรรมการจึงมีมติเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2558 อนุมัติให้ บริษัทอินเตอร์ ฟาร์อีสท์ แคป แมนแนจเม้นท์ จำกัด (ICAP) บริษัทย่อย IFEC เข้าซื้อกิจการกลุ่มดาราเทวี เชียงใหม่ จากนั้นวันที่ 15 ธ.ค.2558  ICAP ได้เข้าลงทุนในกลุ่มดาราเทวี เชียงใหม่ ประกอบด้วย

1. บริษัท โรงแรมดาราเทวี จำกัด  (DDV) โรงแรมรีสอร์ท ห้องชุด

2. บริษัท เอ.พี.เค. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (APK) ให้เช่าอสังหาฯ

3. บริษัท ดาราเทวี จำกัด (DV) ผู้ถือกรรมสิทธิ์และให้เช่าเครื่องหมายการค้า “โรงแรมดาราเทวี เชียงใหม่”

สำหรับมูลค่าการลงทุนโรงแรม 1,660 ล้านบาท และซื้อหนี้ของโรงแรมดาราเทวีจำนวน 860 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 2,520 ล้านบาท 

ปัญหาบริหารภายใน IFEC ปะทุ

หลังซื้อกิจการกลุ่มดาราเทวีมาแล้ว ช่วงปี 2559-2561 การบริหารธุรกิจ IFEC เริ่มมีปัญหาจากความขัดแย้งของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 ฝ่าย คือ นพ.วิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ประธานกรรมการ และคุณสิทธิชัย พรทรัพย์อนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ตำแหน่งในขณะนั้น ปัจจุบันได้ลาออกจาก IFEC แล้วทั้งคู่)

โดยผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่ายมีการยื่นฟ้องร้องคดีต่อหน่วยงานรัฐ ทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในคดีทุจริตใน IFEC  กล่าวโทษกับอดีตผู้บริหารเดิมกระทำทุจริต ในหลายประเด็นทั้งพยายามครอบงำกิจการและปฏิบัติหน้าที่กรรมการทำให้ IFEC ได้รับความเสียหาย เรื่องทุจริตการซื้อขายโรงแรมดาราเทวี ด้วยราคาขายเกินจริง

นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นรายย่อย IFEC เรียกร้องให้ ก.ล.ต. ตรวจสอบความผิดปกติของราคาที่ IFEC ซื้อโรงแรมดาราเทวี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุปัญหาทางการเงินของ IFEC จนส่งผลต่อเจ้าหนี้เงินกู้และผู้ถือหุ้นรายย่อย

ปัญหาต่างๆ ทั้งตัว IFEC และโรงแรมดาราเทวี ทำให้ธุรกิจของ IFEC เอง ก็ต้องยื่นขอฟื้นฟูกิจการเช่นกัน (ยื่นฟื้นฟูทั้งบริษัทแม่-บริษัทลูก) โดยศาลล้มละลายกลาง มีกำหนดนัดฟังคำสั่งของบริษัท IFEC ในวันที่ 15 ก.พ.2564

Dhara Dhevi Chiang Mai

facebook : Dhara Dhevi Chiang Mai

โควิด-19 ปิดชั่วคราว ท้ายสุด “ล้มละลาย”  

หลังจาก IFEC มีกรรมการและผู้บริหารใหม่เข้ามาในปี 2562 ก็ต้องมาแก้ปัญหาการบริหารในองค์กรรวมทั้งกิจการโรงแรมดาราเทวี ที่ยังคงมีปัญหาขาดทุน และกระทบหนักในช่วงโควิด-19 โดยประกาศปิดบริการชั่วคราวในเดือน เม.ย.2563

โดยในวันที่ 4 มิ.ย. 2563 คณะกรรมการ IFEC ได้อนุมัติให้โรงแรมดาราเทวี ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง จากนั้นเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2563 ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่ง “ยกคำร้องฟื้นฟูกิจการ”

ต่อมาโรงแรมดาราเทวี ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่ง และท้ายสุดศาลอุทธรณ์ ก็มีคำสั่ง “ยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ” เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2563 ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการล้มละลายในท้ายที่สุด

เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2563 โรงแรมดาราเทวี ได้ประกาศปิดกิจการอย่างเป็นทางการ พร้อมหนังสือเลิกจ้างพนักงานทุกคน และรอกรมบังคับคดีขายทอดตลาดเพื่อจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้

จากนั้นวันที่ 10 ม.ค.2564 สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศประมูลขายทอดตลาดทรัพย์สินโรงแรม “ดาราเทวี” ด้วยราคาเริ่มต้น  2,116 ล้านบาท เปิดประมูลครั้งแรกวันที่ 18 ก.พ.2564

Dhara Dhevi Chiang Mai

facebook : Dhara Dhevi Chiang Mai

เรื่องไม่จบ!  IFEC ค้าน “ราคา” ขายทอดตลาด “ดาราเทวี”

หลังจากมีประกาศขายทอดตลาดโรงแรมดาราเทวี ออกมาเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2664 คุณทวิช เตชะนาวากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IFEC ได้ส่งหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2564 ค้านราคา ขายทอดตลาดทรัพย์สินโรงแรมดาราเทวี ดังนี้

โดย IFEC แจกแจงคดี ที่ได้ลงนามในสัญญาประณีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาแล้วเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2561 ปรากฎว่าผู้บริหารขณะนั้นได้นำ 4 บริษัทย่อยของ IFEC คือ

  1. บริษัท โรงแรมดาราเทวี จำกัด
  2. บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีส แคป แมนเนจเม้นท์ จำกัด
  3. บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีส เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด
  4. บริษัท เอ.พี.เค. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย

ผลจากคำพิพากษาทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยึดทรัพย์สินของ บริษัท โรงแรมดาราเทวี จำกัด คือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 87 แปลง และเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ประกาศขายทอดตลาดรวม 4 ครั้ง ในวัน 18 ก.พ. 2564 วันที่ 11 มี.ค. 2464 วันที่ 1 เม.ย. 2564  และวันที่ 22 เม.ย. 2564  กำหนดราคาดังนี้

  1. ทรัพย์สิน 18 แปลง ราคาประเมิน 1,343,212,890 บาท
  2. ทรัพย์สิน 69 แปลง ราคาประเมิน 773,019,480 บาท

รวม 87 แปลง ราคาประเมิน 2,116,232,370 บาท

จากประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินโรงแรมดาราเทวีของกรมบังคับคดีดังกล่าว บริษัทโรงแรมดาราเทวี (บริษัทย่อย IFEC) ได้คัดค้านการกำหนดราคา ของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ โดยได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งศาลได้กำหนดนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 15 มี.ค. 2564 เวลา 9.00 น.

นอกจากนี้ IFEC ยังเห็นว่าการลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว “ผู้บริหาร” ในขณะนั้นได้นำ 4 บริษัท (บริษัทย่อย IFEC)เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก “ผู้บริหาร” ในขณะนั้น ไม่มีอำนาจทำการแทน IFEC แล้ว

โดยทั้ง 4 บริษัทย่อย IFEC ที่ไปลงนามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน หรือมีฐานที่ต้องรับผิดร่วมตามกฎหมาย แต่ต้องเข้าไปเป็นจำเลยร่วมตามคำพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ทาง IFEC ได้ฟ้อง “ผู้บริหาร” ในขณะนั้น เป็นคดีอาญาต่อศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3498/2561 ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งศาลอาญาได้มีคำสั่งว่า “คดีมีมูล” โดยกำหนดนัดสอบคำให้การวันที่ 22 มี.ค. 2564 และคดีอาญาเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.3228/2563 ซึ่งศาลอาญาได้มีคำสั่งไต่สวนมูลฟ้อง ในวันที่ 5 เม.ย. 2564

นอกจากนี้ IFEC ยังระบุว่า ทรัพย์สินของบริษัท โรงแรมดาราเทวี จำกัด ได้จดจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ โกลบอลวัน จำกัด และ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด (บริษัทย่อย IFEC)  ซึ่งทั้ง 2 บริษัทได้ยื่นคำร้องขอบุริมสิทธิจำนองไว้ตามกฎหมายแล้ว (คือ เมื่อขายโรงแรมดาราเทวีได้ ทั้ง 2 บริษัทจะได้สิทธิรับเงินก่อน)

เรียกว่าเป็นมหากาพย์โรงแรมหรู “ดาราเทวี” ที่มีปัญหาขาดทุนนับตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการ จนกลายเป็นหนึ่งในปมการทำธุรกิจของ IFEC ที่ต้องขอฟื้นฟูกิจการเช่นกัน และต้องจับตาเส้นทางของโรงแรมดาราเทวี ว่าจะอยู่ในมือใครต่อไป!


แชร์ :

You may also like