HomeDigital“มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” โพสต์ยินดี นักวิจัยถอดรหัสสมองผู้พิการให้สื่อสารได้อีกครั้งในรอบ 16 ปี

“มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” โพสต์ยินดี นักวิจัยถอดรหัสสมองผู้พิการให้สื่อสารได้อีกครั้งในรอบ 16 ปี

แชร์ :

mark zuckerberg shutterstock

มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ประกาศความสำเร็จผลงานการวิจัยของทีมมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ( University of California San Francisco : UCSF) ซึ่งเป็นทีมวิจัยด้านการทำงานของคอมพิวเตอร์และสมองที่ Facebook ให้การสนับสนุน หลังมีผลการทดลองที่สามารถทำให้ผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถด้านการพูดไปแล้วอย่างสิ้นเชิงสามารถกลับมาสื่อสารได้อีกครั้งในรอบ 16 ปี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

มาร์ค ซักเคอร์เบิร์กอธิบายถึงความสำเร็จนี้ว่า ทางทีมวิจัยสามารถ “ถอดรหัส” สิ่งที่คน ๆ นั้นคิดว่าจะพูด จากคลื่นสมองส่งออกมาจากสมองส่วนสั่งการไปยังระบบที่ควบคุมการออกเสียงได้ และเป็นการถอดรหัสในแบบที่แทบจะเรียลไทม์ (เกือบจะเร็วเท่ากับเวลาที่เราคิดและพูดออกไป) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน และผลการศึกษาครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านการแพทย์ The new england journal o f medicine ด้วย

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Tech.fb.com ระบุว่า สิ่งที่ผู้พิการ (เป็นอัมพาต) สื่อสารออกมาเป็นประโยคแรกให้นักวิจัยได้ทราบ เกิดขึ้นหลังจากที่เขามองจอมอนิเตอร์ที่ทักเขาไปว่า “Hello, How are you today?” ก็คือการตอบว่า “I am very good.” โดยคำตอบของผู้พิการปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอมอนิเตอร์

เว็บไซต์ของ Facebook ระบุว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปีที่ผู้ป่วยรายนี้สามารถกลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง โดยที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์สวมศีรษะใด ๆ เพื่อพิมพ์สิ่งที่เขาอยากจะพูด ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของวงการประสาทวิทยา

สำหรับเบื้องหลังของความสำเร็จ ทีมวิจัยเผยว่า มีการผ่าตัดสมองเพื่อใส่แผ่นอุปกรณ์อิเล็กโตรดลงบนพื้นผิวสมองของคนไข้ และทีมวิจัยได้พยายามสื่อสารกับผู้พิการรายนี้เป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อเก็บข้อมูลคลื่นสมองที่ส่งออกมา จากนั้น ทีมวิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวไปสร้างเป็นโมเดล Machine Learning เพื่อวิเคราะห์คำ หรือสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร ซึ่ง ดร. Edward Chang แห่ง Chang Lab นักประสาทวิทยาแห่ง UCSF ได้ออกมาขอบคุณ Facebook สำหรับการสนับสนุนทุนวิจัย และคำแนะนำด้านการใช้ Machine Learning ด้วย

ส่วนการนำไปใช้นั้น Facebook อาจนำไปพัฒนาวิธีควบคุมอุปกรณ์สวมศีรษะ AR หรือริสต์แบนด์ของบริษัทให้คล่องตัว และตรงกับสิ่งที่ใจคิดได้มากขึ้นก็เป็นได้

Source

Source


แชร์ :

You may also like