สตาร์ทอัพไทยยังมีหวังเติบโตในยุค Covid-19 และยุคหลัง Covid-19 เนื่องจากเป็นยุคที่ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกันมากขึ้น เพียงแต่จะเติบโตอย่างไร หรือมีใครพร้อมสนับสนุนบ้างนั้น อาจต้องลองฟังทัศนะ และแนวโน้มจากยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีอย่างไมโครซอฟท์ – เอไอเอส
ในส่วนของความน่าสนใจในสายตานักลงทุน มีการเปิดเผยจากผู้บริหารเอไอเอส คุณซันเจย์ แอนดรูว์ โทมัส หัวหน้าคณะผู้บริหารด้
ทั้งนี้ จุดเด่นที่คุณซันเจย์มองเห็นในตลาดสตาร์ทอัพไทยก็คือเรื่องของต้นทุนในการตั้งธุรกิจที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับการตั้งธุรกิจในประเทศอื่น ๆ และตลาดไทยก็มีขนาดใหญ่ – มีความหลากหลายสูง อีกทั้งยังตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในอีกด้าน ธุรกิจในประเทศไทยขณะนี้มีความต้องการ “ตัวช่วย” ที่หลากหลายมากขึ้น จากการมาถึงของเทคโนโลยี 5G ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนในอนาคตได้อีกมาก เช่น การพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ การติดตั้งอุปกรณ์ IoT การพัฒนาบล็อกเชน หรือแม้แต่ AR/VR ฯลฯ
อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีสตาร์ทอัพถึง 92% ที่ต้องพับกิจการจากไป และมีไม่ถึง 0.01% ที่เติบโตจนกลายเป็นยูนิคอร์นได้ ข้อมูลจาก CB Insight ระบุว่า ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้สตาร์ทอัพไปไม่ถึงฝันก็คือ
- 42% ผลิตสิ่งที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด
- 29% ขาดเงินทุนสนับสนุน
- 23% ขาดทีมงานที่เหมาะสม
- 6% เลือกใช้เทคโนโลยีไม่ถูก
ไมโครซอฟท์ชี้ สตาร์ทอัพไทยสำเร็จหลายราย
ด้านคุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพไทยประสบความสำเร็จหลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบัซซี่บี (BuzzeBees) เจ้าของเทคโนโลยี CRM ที่ครองส่วนแบ่งในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน – โทรคมนาคมเอาไว้ได้กว่า 70 – 80% หรือกรณีของ ZipEvent ที่ผันตัวจากแพลตฟอร์มจัดอีเวนท์ออฟไลน์มาเป็นออนไลน์เต็มรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้จัดงานที่เปลี่ยนไป
“การใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น สตาร์ทอัพจึงมีความจำเป็นมากในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค ซึ่งไมโครซอฟท์ ในฐานะ Technology Platform มีหน้าที่ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพให้ทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ”
คุณธนวัฒน์ยังได้ยกตัวอย่างการร่วมมือกันของเอไอเอสและไมโครซอฟท์ก่อนหน้านี้ เช่น การทำระบบลงทะเบียนซื้อไอโฟน 12 ที่ต้องรองรับความต้องการของคนจำนวนมากอย่างไรให้ระบบไม่ล่ม (ไอโฟน 12 เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกของ Apple ที่รองรับ 5G) และด้วยความอัจฉริยะของคลาวด์ (Intelligent Cloud) ที่สามารถขยาย – ลดแบนด์วิธได้เอง ทำให้การจองไอโฟน 12 ผ่านพ้นไปด้วยดี
แต่ไม่เฉพาะเอไอเอส ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ คุณธนวัฒน์มองว่า สตาร์ทอัพก็สามารถเข้าถึง Intelligent Cloud, Intelligent Edge และเทคโนโลยีอื่น ๆ ของไมโครซอฟท์ได้เช่นกัน และการจ่ายเงินก็เป็นการจ่ายแบบ Pay Per Use หรือจ่ายตามที่ใช้จริง ซึ่งมองว่าจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายให้กับสตาร์ทอัพได้ดีกว่าด้วย
ผุดโครงการ “AIS x Microsoft for Startups”
นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยให้โตต่อไปได้ ทางเอไอเอสจึงมีการจับมือกับไมโครซอฟท์ เปิดโครงการ “AIS x Microsoft for Startups” โดยสตาร์ทอัพที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมได้ที่ https://thestartup.ais.co.th/register
สำหรับสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ “AIS x Microsoft for Startups” จะได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ต่าง ๆ และเทคนิคการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาด เช่น
- สร้างธุรกิจบนคลาวด์พร้อมระบบความปลอดภัยแบบ built-in ของ Azure และได้รับการสนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายไฟเบอร์ และ 5G จากเอไอเอส
- เตรียมความพร้อมในการจำหน่ายโซลูชันให้กับลูกค้าองค์กร ผู้ประกอบการ และ SME
- การเชื่อมต่อเข้ากับคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัพไทยเพื่อเชื่อมต่อและเรียนรู้จากสตาร์ทอัพอื่น ๆ รวมถึงผู้พัฒนา และวิศวกรที่อยู่ในชุมชนทั้งจากโครงการ Microsoft for Startups, AIS The StartUp และนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระอีกมากมาย
ในโครงการดังกล่าว สตาร์ทอัพสามารถใช้ Azure, Visual Studio, Microsoft365 ฯลฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเปิดโอกาสในการต่
“เมื่อพัฒนาโซลูชันสำเร็จ สตาร์ทอัพที่เข้าร่