ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ละครหรือซิทคอมไทย คงรู้จักช่อง ONE31 เป็นอย่างดี ตั้งแต่ยุคทีวีแอนาล็อกที่เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอเป็นผู้ผลิตรายการให้ทีวีช่องต่าง ๆ จนกระทั่งมีช่องเป็นของตัวเองในยุคทีวีดิจิทัล ละครหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นวันทอง กระเช้าสีดา เมีย2018 และรายการประกวดร้องเพลงที่เพิ่งกลับมาเปิดเวทีอย่าง The Star Idol ต่างก็เคยสร้างปรากฏการณ์ที่เป็น Talk of the town มาแล้ว
เบื้องหลังคอนเทนต์เหล่านี้คือ ผลงานของ ‘บมจ. เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ (ONEE)’ และบริษัทในกลุ่ม ภายใต้การนำของ ‘บอย – ถกลเกียรติ วีรวรรณ’ ผู้เชื่อมาตลอดว่า คนดูทุกเพศทุกวัยต้องการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ แม้ช่องทางการรับชมจะเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้ชมและยุคสมัย
The One Enterprise มีธุรกิจอะไรบ้าง?
แม้เพิ่งจัดตั้งบริษัทในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่มีการประมูลช่องทีวีดิจิทัลในประเทศไทย แต่ผู้ก่อตั้งและทีมผู้บริหารของกลุ่ม ONEE คลุกคลีอยู่ในอุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิงมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น คุณถกลเกียรติ วีรวรรณ Group CEO คุณระฟ้า ดำรงชัยธรรม Group CMO คุณอรรณพ เสนะสุทธิพันธุ์ Group CFO คุณสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา CEO Change2561 คุณนิพนธ์ ผิวเณร CPO (Drama) คุณสถาพร พานิชรักษาพงศ์ CEO GMMTV คุณเอกชัย เอื้อครองธรรม Vice President GMM Studios คุณเดียว วรตั้งตระกูล COO ONE31 คุณสุธาสินี บุศราพันธ์ CPO (Variety) และคุณสมโรจน์ วสุพงศ์โสธร CEO GMM Media
โดยคอนเทนต์สร้างชื่อของกลุ่ม ONEE นั้น เริ่มมาตั้งแต่ยุคของซิทคอม 3 หนุ่ม 3 มุม ที่ออกอากาศนานกว่า 8 ปี และล่าสุด ละครฟอร์มยักษ์เรื่องวันทอง ซึ่งเป็นการนำเสนอวรรณคดีไทยในรูปแบบใหม่ ที่เน้น Speak Out เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และตีความตอนจบแบบใหม่ ก็สามารถสร้างเรตติ้งทั่วประเทศสูงสุด ในกลุ่มผู้ชมอายุ 15 ปีขึ้นไป (ข้อมูลจาก Nielsen ณ วันที่ 30 เมษายน 2564 หากเปรียบเทียบเรตติ้งตอนจบเทียบกับเรตติ้งต่อตอนของละครเรื่องอื่น ๆ ที่ถูกเผยแพร่ในช่วงเดือนมกราคมปี 2564 ถึงเมษายนปี 2564)
และในช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา กลุ่ม ONEE ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยกลุ่มบริษัทฯ จะดูแลส่วนธุรกิจผลิตคอนเทนต์ทั้งหมดของ “จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง” รวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนการตลาดของช่อง GMM25
การเข้าซื้อ “จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง” ในครั้งนี้ ทำให้บทบาทการเป็น Content Creator ของกลุ่ม ONEE โดดเด่นขึ้นไม่น้อย เพราะบริษัทเหล่านี้เป็น Content Creator ที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น GMMTV เชี่ยวชาญในการผลิตคอนเทนต์สำหรับวัยรุ่น Change2561 เชี่ยวชาญในการผลิตคอนเทนต์ Real และแซ่บ และ GMM Media ที่เชี่ยวชาญเรื่องการผลิต Voice Content และเป็นเจ้าของรายการวิทยุชื่อคุ้นหูอย่าง GREENWAVE และ EFM
จะเห็นได้ว่า เวลานี้กลุ่ม ONEE มีการเผยแพร่คอนเทนต์อยู่ในแทบทุกแพลตฟอร์ม ทั้งสื่อดั้งเดิมอย่างช่อง ONE31 ช่อง GMM25 จนถึงสื่อใหม่อย่างช่องทางออนไลน์ผ่านช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ และ OTT Platform ของพันธมิตร ทำให้ปัจจุบันฐานผู้ชมของกลุ่ม ONEE กระจายอยู่ในพื้นที่กว่า 15 ประเทศทั่วโลก และกลุ่มบริษัทฯ ยังรับหน้าที่จากช่องทีวีและ OTT Platform ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการเป็นผู้ผลิต Original Content อีกด้วย
เช่นเดียวกับธุรกิจวิทยุ ที่แม้หลายคนจะมองว่าเป็นขาลง แต่รายการวิทยุของกลุ่ม ONEE ที่เน้นการเป็น Lifestyle Content ตอบโจทย์กลุ่มผู้ฟังที่ต้องการมากกว่ารายการเปิดเพลง นอกจากนี้ ยังมีการขยายช่องทางการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ทำให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ Go Digital ขณะเดียวกัน กลุ่มบริษัทฯ ก็นำคอนเทนต์เหล่านี้ไปต่อยอดผลิตเป็นรายการทีวี จนกระทั่งออกมาเป็น “พุธทอล์ค พุธโทร เดอะ สตอรี่ส์” และ “อังคารคลุมโปง เดอะ ซีรีส์” นั่นเอง
ขณะที่ธุรกิจอีเวนต์ ก็แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะพฤติกรรม New Normal และข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้ปัจจุบัน กลุ่ม ONEE ได้เริ่มขยายช่องทางจาก On Ground ไปสู่ Online มากขึ้น เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ แม้โรคระบาดจะยังไม่คลี่คลาย
กลุ่ม ONEE ในช่วงยุค Digital Disruption
การที่กลุ่มบริษัทฯ มีจุดเริ่มต้นจากการเป็น Content Creator ที่คุมการผลิตเองทั้งหมด ทำให้กลุ่ม ONEE ต่างจากคู่แข่งในอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่เป็นเพียงเจ้าของสื่อ ไม่ได้ผลิตคอนเทนต์เอง ซึ่งด้วย Business Model นี้ ทำให้ ONEE และบริษัทในกลุ่มสามารถปรับแผนการทำงานให้ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี
เพื่อให้ธุรกิจรอดพ้นการเปลี่ยนแปลงของ Digital Disruption กลุ่มบริษัทฯ ได้ขยายช่องทางการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่มีช่องทางหลากหลายมากที่สุด ทั้งทีวี วิทยุ อีเวนต์ และออนไลน์ ทำให้เข้าถึงผู้ชมทุกเจเนอเรชั่น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เสพคอนเทนต์ Streaming บนหน้าจอ Smart Phone
การมีธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำนี้เอง ทำให้กลุ่ม ONEE สามารถสร้างผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจากตัวเลขผลประกอบการปี 2563 กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้ 4,875 ล้านบาท กำไรสุทธิ 658 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 201 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ถอดกลยุทธ์ The One Enterprise
หากวิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจที่ทำให้ The One Enterprise สามารถยืนหยัดในสมรภูมิทีวีดิจิทัลเมื่อหลายปีก่อน ตลอดจน Digital Disruption ในวันนี้ สามารถสรุปมาได้ 7 เรื่อง
แม้พฤติกรรมผู้บริโภคและช่องทางการรับสื่อจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือความสำคัญของคอนเทนต์ อย่างเช่นประโยคอมตะที่ว่า Content is King … ซึ่งถ้าดูความสำเร็จตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น หนึ่งใน Content Creator ตัวจริงในประเทศไทยก็น่าจะมีชื่อของ The One Enterprise อยู่อย่างแน่นอน
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.one31.net
References
– ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ บมจ. เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564