HomeDTACเปิดความเสี่ยงผู้สูงอายุไทย “แก่ก่อนรวย จนก่อนตาย” แนะพัฒนาศักยภาพดิจิทัลเพิ่มรายได้

เปิดความเสี่ยงผู้สูงอายุไทย “แก่ก่อนรวย จนก่อนตาย” แนะพัฒนาศักยภาพดิจิทัลเพิ่มรายได้

แชร์ :

shutterstock_aging

จากการเติบโตของตัวเลขผู้สูงวัย (ผู้มีอายุเกิน 65 ปี) ที่องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า โลกจะมีประชากรกลุ่มดังกล่าวมากกว่า 1,500 ล้านคนในปี 2050 กำลังเป็นประเด็นเมกะเทรนด์ที่ทุกฝ่ายต่างให้ความสำคัญเหตุที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะการมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น ขณะที่เด็กเกิดใหม่มีน้อยลงเรื่อย ๆ นั้น กำลังทำให้แรงงานในตลาดลดลง และมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ประเทศไทยเองก็พบภาพไม่ต่างกัน โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้สูงวัยประมาณ 20% ของจำนวนประชากร ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างคนทำงานกับคนสูงวัยอยู่ที่ 4 : 1 แต่ใน 20 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงอยู่ที่ 2 : 1 ไม่นับรวมกลุ่มเกษียณและเตรียมเกษียณอีกกว่า 30 ล้านคน

คนไทย “แก่ก่อนรวย”

ข้อมูลจาก World Bank และ KKP Research ยังชี้อีกด้วยว่า ปัจจุบันผู้สูงวัยไทยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปนั้น มีรายได้เฉลี่ยเพียง 7,000 บาทต่อเดือน และอีก 10 ปีข้างหน้าก็คาดการณ์กันว่า รายได้เฉลี่ยของผู้สูงวัยไทยจะเพิ่มขึ้นได้ไม่ถึง 9,000 บาทต่อเดือน ทำให้ไทยตกอยู่ในสถานการณ์ “แก่ก่อนรวย จนก่อนตาย” เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุในประเทศใกล้เคียง หรือในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีรายได้สูง

dtac05

ด้วยเหตุนี้ แนวคิดที่ว่าผู้สูงอายุควรหยุดทำงานตอนอายุ 60 ปีจึงอาจเป็นสิ่งที่ต้อง “เปลี่ยนไป” โดยพบว่ามีการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเริ่มมองหาศักยภาพใหม่ ๆ ในตัวเพื่อสร้างรายได้ให้ชีวิตมีความมั่นคง รวมถึงมีทักษะต่าง ๆ เพิ่มเติมหลังเกษียณมากขึ้น

ส่วนศักยภาพใหม่ ๆ จะมาจากอะไรได้นั้น มีการสำรวจพบว่า สิ่งที่อยู่ติดตัวผู้สูงอายุ 50 – 70 ปีทุกวันนี้ก็คือ “สมาร์ทโฟน” โดย 41% สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้อย่างคล่องแคล่ว 55% สามารถใช้แอปแชทได้ 13% สามารถใช้แอปสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ และ 13% มองว่าตนเองสามารถหารายได้เพิ่มจากออนไลน์ได้

dtac05

จากความคล่องแคล่วในการใช้งานสมาร์ทโฟน ทำให้หลายฝ่ายมองว่า การใช้สมาร์ทโฟน x ผู้สูงอายุ อาจเป็นโซลูชันหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สูงอายุยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้ตัวเองแม้ในวัยเกษียณ

ปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+

dtac เน็ตทำกิน

(บนซ้าย) คุณชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค, (ล่างซ้าย) ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า, (บนขวา) คุณธนากร พรหมยศ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยังแฮปปี้ (YoungHappy) และ (ล่างขวา) ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

นั่นจึงเป็นที่มาของ “โครงการดีแทค เน็ตทำกิน” ในภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก 3 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และธุรกิจเพื่อสังคมที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาผู้สูงวัย “ยังแฮปปี้” กับการเปิดพื้นที่ให้ผู้สูงวัย 250 คนเข้าร่วมโครงการอบรมเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง และไม่เป็นภาระของครอบครัว

สำหรับหลักสูตรของโครงการประกอบด้วย 6 หัวข้อใหญ่ ๆ ดังภาพ

dtac09

นอกเหนือจากการอบรม คุณชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ยังได้กล่าวถึงความพิเศษของโครงการนี้ด้วยว่า จะมีพี่เลี้ยงจากดีแทคคอยให้คำปรึกษาหลังการอบรม เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถสอบถามได้ในกรณีเจอปัญหาติดขัด รวมถึงช่วยเป็นแอดมินเพจให้ และช่วยให้คำปรึกษาด้านการทำตลาดออนไลน์

ขณะที่ดีป้าให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนโครงการและเชื่อมโยงพันธมิตรกับหน่วยงานรัฐอื่น ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยจะทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการและร่วมจัดการอบรมเกี่ยวกับการรับมือกับความเสี่ยงของโลกออนไลน์ เช่น การแชร์ข่าวปลอม การถูกหลอกลวงบนโลกออนไลน์ เป็นต้น

ในส่วนของ ยังแฮปปี้ นั้นจะรับผิดชอบทางด้านการคัดเลือกผู้เข้าอบรม รูปแบบและการบริหารกิจกรรม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นที่กลุ่มผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ลำพัง ต้องการหารายได้เสริม โดยตั้งเป้าอบรมผู้สูงวัยจำนวนทั้งสิ้น 250 คนในระยะแรก

“ดีแทคมองว่าดิจิทัลเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญ (Key enabler) ที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายชีวิต สร้างพฤฒพลังให้ผู้สูงวัย ส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงวัย เปลี่ยนจากประชากรผู้มีความเปราะบางสู่ประชากรที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อสังคมอย่างยั่งยืน และดีแทคเน็ตทำกิน ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจนี้”

 


แชร์ :

You may also like