HomeBrand Move !!“Outdoor Oasis” เทรนด์ออกแบบศูนย์การค้า-ร้านอาหาร-คาเฟ่ ในยุคที่คนต้องการ Chillax กับธรรมชาติ

“Outdoor Oasis” เทรนด์ออกแบบศูนย์การค้า-ร้านอาหาร-คาเฟ่ ในยุคที่คนต้องการ Chillax กับธรรมชาติ

แชร์ :

Central East Ville

ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่โลกเจอกับการแพร่ระบาด COVID-19 ที่คาดการณ์กันว่าการไวรัสนี้จะยังคงไม่หายไปไหน แม้ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม แต่ไวรัสมีการกลายพันธุ์ได้เสมอ นี่จึงทำให้ COVID-19 จะอยู่กับเราทุกคนทั่วโลกไปตลอด สิ่งที่ตามมาคือ สังคม เศรษฐกิจ การทำธุรกิจ วิถีชีวิตประจำวัน การใช้จ่าย การบริโภค และความต้องการของผู้บริโภคหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร ไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว…

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Euromonitor International รายงานผลสำรวจและวิจัย Top 10 Global Consumer Trends 2021 ฉายภาพ 10 เทรนด์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค พร้อมด้วยคำแนะนำให้กับภาคธุรกิจ – แบรนด์ ปรับตัวรองรับสิ่งปกติใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น

หนึ่งในเทรนด์การเปลี่ยนแปลงคือ Outdoor Oasis” ผู้บริโภคต้องการพื้นที่พักผ่อนกลางแจ้ง และอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่ไม่ว่ามองไปทางไหนก็มีแต่อาคารสูง ตึกรามบ้านช่อง ความเร่งรีบ และยิ่งต้องมาเจอกับ Work From Home – Learn From Home ทำให้วันๆ นั่งอยู่แต่ในห้อง หรือ Work Space ของตัวเอง จดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ยิ่งทำให้ผู้คนอยากหาพื้นที่ผ่อนคลายตัวเองบ้าง 

North Ratchapreuk

 

เปิด Consumer Insight คนสังคมเมืองโหยหาธรรมชาติ แนวทางแบรนด์ปรับตัวรับเทรนด์

เมื่อคนทั่วโลกเจอภัยคุกคามด้านสุขภาพ ทั้งยังมีข้อจำกัดในการเดินทาง และต้องทำงานรูปแบบ Remote Working ทำให้หลังสถานการณ์ Pandemic หนึ่งในความปรารถนาของผู้คน คือ ต้องการใช้ชีวิตในพื้นที่ Outdoor หรือ Open Air ไม่ว่าจะทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ และพักผ่อน เพื่อฟื้นฟู หรือผ่อนคลายทั้งร่างกาย และจิตใจ

นอกจากนี้การทำงานระยะไกล (Remote Working) ได้กลายเป็นวิถีปกติใหม่ และการวิจัยนี้ยังพบ Insights ว่า

– ผู้บริโภคบางคนมีความคิดจะย้ายออกจากเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ไปยังต่างจังหวัดที่เงียบ สงบ และชุมชนในพื้นที่ชนบทมีมลพิษน้อยกว่าในเมือง จึงมองว่าด้วยสภาพแวดล้อมเช่นนี้ จะส่งผลดีต่อสุขภาพ

– คนอยากย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด เพราะมองว่าการย้ายจากสังคมเมืองที่มีค่าครองชีพสูง ไปยังต่างจังหวัด ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันในยุคเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้

แบรนด์ควรเตรียมตัวอย่างไร: ธุรกิจ หรือแบรนด์ควรนำเสนอประสบการณ์พื้นที่การพักผ่อนกลางแจ้งให้กับลูกค้า ควบคู่ไปกับการให้บริการส่วน Indoor เช่น

– คอนเสิร์ตแบบ Open Air

– เทศกาลกลางแจ้ง

– ศูนย์การค้า ออกแบบผสมผสานระหว่างพื้นที่ Indoor และ Outdoor

– ธุรกิจร้านอาหาร และคาเฟ่ ให้บริการ Outdoor Restaurant/Café รูปแบบใหม่ เช่น ทำร้านกาแฟคอนเซ็ปต์แคมป์ปิ้ง

– สตูดิโอฟิตเนส เปิดคลาสออกกำลังกายรูปแบบ Open Air

– สถานที่พัก มีพื้นที่สำหรับตั้งแคมป์ พร้อมก้บมีอุปกรณ์แคมป์ปิ้งให้เช่า ซึ่งปัจจุบันเป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยม

การนำเสนอพื้นที่พักผ่อน หรือกิจกรรมสันทนาการต่างๆ แบบ Open Air จะช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ พร้อมไปกับการรักษาฐานลูกค้าเก่า ที่เดิมทีมีแต่บริการ Indoor แต่เมื่อมีบริการรูปแบบ Outdoor เพิ่มเข้ามา จะสร้างความสนใจให้กับลูกค้าเดิม มาใช้บริการต่อเนื่อง

มาตามดูกรณีศึกษาทั้ง Retail Developer และเชนร้านเครื่องดื่ม นำแนวคิด Outdoor Oasis มาผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบสถานที่อย่างไรกันบ้าง ?

Outdoor Cafe

Credit Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 

จาก “เซ็นทรัล อีสต์วิลล์” สู่ “เซ็นทรัล ศรีราชา” สร้างศูนย์การค้าสไตล์ “Semi-Outdoor Experience”

ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ดังนั้นการออกแบบโครงการศูนย์การค้าในไทย จึงสร้างเป็นอาคารแบบปิด และติดตั้งระบบปรับอากาศภายในอาคาร เพื่อให้ลูกค้าที่มาเดิน เย็นสบายอยู่ภายในอาคาร (Indoor) และตอบโจทย์ One Stop Shopping ที่รวบรวมร้านค้าประเภทต่างๆ มาไว้ในที่เดียว

แตกต่างจากในต่างประเทศ อย่างประเทศเมืองหนาว นอกจากมีศูนย์การค้าแล้ว ยังมี Outdoor Shopping Street ที่ถนนสองข้างทาง เต็มไปด้วย Brand Shop เปิดในรูปแบบ Stand Alone ทำให้การช้อปปิ้งของผู้บริโภค มีทั้งเดินด้านนอก และเดินเข้า-ออกร้านต่างๆ

แต่การพัฒนาศูนย์การค้าในทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ให้คนมาซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ได้พัฒนาเป็น Community Hub หรือศูนย์กลางของชุมชน หรือย่านนั้นๆ ซึ่งการเป็น Community Hub ทำให้โจทย์ของการออกแบบและพัฒนาศูนย์การค้าเปลี่ยนไปด้วย นั่นคือ ต้องเพิ่มความหลากหลายขององค์ประกอบโครงการ ให้ตอบโจทย์ทั้ง Shopping, Eating, Chillaxing (Chill Out + Relaxing) เพื่อดึงคนมา “ใช้เวลา” และ “เพิ่มความถี่” ของการมาศูนย์การค้า

Central East Ville

เซ็นทรัล อีสต์วิลล์

จะเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ศูนย์การค้าเพิ่มพื้นที่ส่วน “ร้านอาหาร” มากขึ้น ที่กลายเป็น Magnet ดึงลูกค้า ขณะเดียวกันเพิ่มพื้นที่พักผ่อน และพื้นที่สีเขียวเช่นกัน

อย่างโครงการ “เซ็นทรัล อีสต์วิลล์” ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาศูนย์การค้ารูปแบบ Semi-Outdoor ของเซ็นทรัลพัฒนา ที่ผสมผสานระหว่างพื้นที่ Indoor และ Outdoor ขณะเดียวกันลูกค้าสามารถนำสัตว์เลี้ยงมาได้ ทำให้ลูกค้าสามารถทำกิจกรรม และใช้เวลาพักผ่อนได้ทั้งภายในอาคาร และบริเวณส่วน Outdoor

ขณะที่โครงการล่าสุด “เซ็นทรัล ศรีราชา” ได้นำคอนเซ็ปต์ Semi-Outdoor Experience” และ Pet Friendly” เหมือนยกเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ มาไว้ที่ศรีราชา เช่น Outdoor Walking Street บนพื้นที่กว่า 2,800 ตร.ม., Giant Green Wall, Pet Park & Services เป็น Pet-Friendly Mall แห่งแรกในภาคตะวันออก สร้าง Community แห่งใหม่ของคนรักสัตว์เลี้ยงอีกด้วย

Central Si Racha

เซ็นทรัล ศรีราชา

นอกจากนี้ได้พัฒนาโครงการภายใต้แนวคิด “Green Living & Circular Economy” เพื่อต้องการสร้างเซ็นทรัล ศรีราชา ให้เป็น ต้นแบบ Eco-Friendly Mall แห่งแรกในภาคตะวันออกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ เช่น ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโครงการกับการนำขยะเสาเข็มมารีไซเคิล การติดตั้ง Recycle Station กับเป้าหมายการแยกขยะที่ร้านค้าภายในศูนย์ฯ

ขณะที่ด้าน Energy Saving ได้พัฒนาระบบปรับอากาศลดพลังงาน 40% ติดตั้ง Solar Rooftop รวมถึงการออกแบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน เช่น การใช้แสงธรรมชาติภายในศูนย์ฯ ให้มากที่สุด การติดตั้งฝ้าลดความร้อน ไปจนถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วโครงการ

Central Si Racha

เซ็นทรัล ศรีราชา

 

“โลตัส” สร้าง “โครงการนอร์ธ ราชพฤกษ์” SMART Community Center ออกแบบให้มีพื้นที่เปิดโล่งพื้นที่สีเขียว

นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของ “โลตัส” (Lotus’s) ที่ทรานส์ฟอร์มตัวเองจากไฮเปอร์มาร์เก็ต ไปสู่การเป็น SMART Community Center ด้วยการสร้าง “โครงการนอร์ธ ราชพฤกษ์”  บนถนนราชพฤกษ์ (ติดกับ DBS Denla British School Bangkok – โรงเรียนนานาชาติดีบีเอส)  ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางสำหรับการช้อปปิ้ง กิน ดื่ม เที่ยว และการใช้ชีวิตในแบบ 24 ชั่วโมง

จากการสำรวจพบว่าในย่านนี้มีประชากรมากกว่า 200,000 คนที่อาศัยอยู่ใน 6 รัศมีกิโลเมตรโดยรอบโครงการ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัวมีกำลังซื้อ ชอบช้อปปิ้ง ต้องการสถานที่สำหรับพักผ่อน – พบปะสังสรรค์ และมีกิจกรรมในวันหยุด

– 87% ของประชากรในรัศมีใกล้เคียงโครงการนอร์ธ ราชพฤกษ์ มองหากิจกรรมให้สมาชิกในครอบครัวทำร่วมกัน

– 84% เป็นนักช้อป

– 72% ต้องการสถานที่สำหรับผ่อนคลาย

– 63% มองหาแหล่งพบปะสังสรรค์ มองหา Inspiration และกิจกรรมสนุกๆ ในยามพักผ่อนทำ

– โดยเฉลี่ยผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในย่านราชพฤกษ์ ไปศูนย์การค้า 4.5 ครั้งต่อสัปดาห์

จะเห็นได้ว่าหนึ่งใน Insight ของคนในย่านนี้คือ ต้องการสถานที่พักผ่อน และมีพื้นที่สำหรับพบปะ – ทำกิจกรรมร่วมกันได้ ดังนั้นในการออกแบบ “โครงการนอร์ธ ราชพฤกษ์” จึงผสมผสานระหว่าง Indoor & Outdoor เข้าไว้ด้วยกัน

North Ratchapreuk

อย่างชั้น 1 ออกแบบให้มีพื้นที่ “Open Air” และ “พื้นที่สีเขียว” เป็นสวนหย่อมกลางโครงการ ตอบรับคนเมืองยุคนี้ ที่หันหาธรรมชาติมากขึ้น ต้องการพื้นที่สีเขียว และพื้นที่เปิดโล่ง เพื่อผ่อนคลายร่างกาย-จิตใจ และยังเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ของทุกสมาชิกในครอบครัว ไม่เว้นแต่สัตว์เลี้ยง

พร้อมทั้งมีโซนสัตว์เลี้ยง เอาใจ Pet Lover กับร้านขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ “Pet Us” ที่จะเป็น Destination ของคนรักสัตว์เลี้ยง

North Ratchapreuk North Ratchapreuk

 

Starbucks” กับการออกแบบโซน Outdoor ให้คนจิบกาแฟ ดื่มด่ำไปกับวิว และลมธรรมชาติ

องค์ประกอบหนึ่งของการเป็น “Third Place” ของเชนร้านอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก “Starbucks” (สตาร์บัคส์) คือ การออกแบบร้าน และบรรยากาศ ที่นำเสนอเรื่องราวของกาแฟ และแก่นของแบรนด์ Starbucks ให้สอดคล้องกับโลเคชั่น ความเป็นท้องถิ่น ลูกค้า และชุมชน

เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าแต่ละสาขาของ Starbucks มีการออกแบบที่แตกต่างกันตามโลเคชั่น ความเป็นท้องถิ่น และชุมชนที่สาขานั้นๆ ตั้งอยู่

อย่างการออกแบบ “Starbucks Reserve Chao Phraya Riverfront” (สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์) ที่ไอคอนสยาม ซึ่งเป็นสาขาใหญ่ที่สุดในไทย ณ เวลานี้

Starbucks-Reserve-Chao-Phraya-Riverfront-Staircase

ด้วยความที่ได้ทำเลดี อยู่บนชั้น 7 ของไอคอนสยามที่ติดวิวแม่น้ำเจ้าพระยา สาขานี้จึงติดตั้งกระจกรอบด้าน เพื่อให้พื้นที่นั่งภายในร้าน สามารถมองออกไปเห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยา และยังออกแบบให้มีที่นั่ง Outdoor มากกว่าสาขาอื่น เพื่อให้ลูกค้าได้รื่นรมย์กับบรรยากาศริมน้ำ พร้อมกับเครื่องดื่มแก้วโปรด รับเทรนด์ Outdoor Oasis ที่ผู้บริโภคต้องการพื้นที่พักผ่อนกลางแจ้ง และอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น

เชื่อว่าต่อไปจะเห็นการออกแบบโครงการต่างๆ ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ นำคอนเซ็ปต์ “Outdoor Oasis” ปรับใช้กับการออกแบบมากขึ้น เพื่อสร้างส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง Indoor & Outdoor เพื่อทำให้สถานที่นั้นๆ กลายเป็น Destination ที่ผู้บริโภคอยากมาใช้เวลาเพื่อ Chillax


แชร์ :

You may also like