HomeCreativity2 กูรูสถาปนิกเผย 8 มนต์ขลังสถาปัตยกรรมสไตล์ “ญี่ปุ่น” ทำไม “ดังและโดน”

2 กูรูสถาปนิกเผย 8 มนต์ขลังสถาปัตยกรรมสไตล์ “ญี่ปุ่น” ทำไม “ดังและโดน”

แชร์ :

AP Soichiro Toba_architect-Tetsuya Okusa

มร.โชอิจิโระ โทบะ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ และ มร.เททสึยะ โอคุสะ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ (นานาชาติ) บริษัท มิตซูบิชิ จิโช เซคเคอิ จำกัด

ความใส่ใจในที่อยู่อาศัยของคนญี่ปุ่น ทำให้พวกเขาสามารถแปลงพื้นที่ชนาดเล็ก แต่สร้างประโยชน์ใช้สอยได้อย่างมหาศาล ถูกนำมาปรับใช้กับการออกแบบตกแต่งคอนโดในไทย ที่นับวันขนาดพื้นที่จะสวนทางกับราคามากขึ้นเรื่อยๆ ในงานสัมมนา Every Inch Matters จัดโดย บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ที่ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคอนโดมิเนียมที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง และทีมดีไซเนอร์ของ บริษัท Mitsubishi Jisho Sekkei ซึ่งเป็นบริษัทสถาปนิกมืออาชีพแถวหน้าของโลก เปิดเผยถึง 6 แนวคิดการออกแบบของญี่ปุ่น ที่สามารถผสานกับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคนไทย เพื่อให้เกิดความสุขของการใช้ชีวิตในมิติใหม่ภายใต้การใช้งานได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

AP Every inch Matter (1)

1) Japanese Traditional Design – Spirit of Simplicity น้อยแต่มาก เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สะท้อนแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น เกิดจากการผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์และขนบประเพณีได้อย่างลงตัว ก่อนให้เกิดการออกแบบที่เรียบง่ายทั้งรูปทรงและการใช้งานกลมกลืนกับธรรมชาติ สีสันไม่ฉูดฉาด

2) ENGAWA – Inside Out, Outside In เป็นการออกแบบที่เน้นการเชื่อมโยงพื้นที่ภายนอกและภายในให้มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน ทำให้พื้นที่ในร่มและกลางแจ้ง อย่างเช่น พื้นที่ของสวนธรรมชาติ ปราศจากสิ่งขวางกั้น  เป็นการเพิ่มพื้นที่ภายในบ้านให้กว้างขึ้นอีกด้วย

AP Janpanese Architect (2)

3) KOHJI & SHOJI เป็นการนำ Grid & Line มาประยุกต์ในงานการออกแบบบ้าน ช่วยให้มุมมองการจัดตำแหน่งแนวผนัง หน้าต่ง ประตู ก่อให้เกิดงานดีไซน์ที่มีความลงตัว ความเรียบร้อย และมีความสมดุลย์มากขึ้น โดย KOHJI หมายถึงจังหวะ เส้นไม้ระแนงที่ซ้ำกันต่อเนื่องแบบเป็นจังหวะ และ SHOJI หมายถึง หน้าต่างหรือประตูบานเลื่อนที่อยู่คู่กับเสื่อทาทามิ

AP Janpanese Architect (3)

4) WABI SABI – Incomplete Beauty หลักการออกแบบภายใต้ความงามที่ไม่สมบูรณ์ เป็นการให้ความสำคัญกับรายละเอียดในอีกมิติ อาทิ ความไม่คงทนถาวร ไม่ยึดติดในคติแบบแผน แต่ช่วยทำให้พื้นที่นั้นๆมีเสน่ห์ที่โดดเด่นอย่างเป็นเอกลักษณ์

5) SPACE PLANNING เลย์เอาต์ห้องของคนญี่ปุ่นมีการแบ่งแยกสัดส่วนระหว่าง Public Space และ Private Space อย่างชัดเจน โดยส่วน Public Space มักอยู่ด้านหน้าของแปลนห้อง และ Private Space นำไปไว้อยู่ในสุดของห้องเพื่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน

6) FUNCTIONAL DESIGN DETAIL คนญี่ปุ่นใส่ใจในทุกรายละเอียด จึงทำให้อุปกรณ์อย่างหนึ่งมีฟังกชั่นการทำงานได้หลากหลาย อาทิ การติดตั้ง CDU (Condensing Unit) ของเครื่องปรับอากาศหรือฮีทเตอร์ ในการปล่อยคามร้อนในห้องน้ำ ทำให้ผู้อาศัยสามารถตากผ้าในห้องได้

7) APPEALING CURVE    เป็นการใช้เส้นโค้งเพื่อให้ความรู้สึกถึงความน่าค้นหาและการรอคอยเพื่อค้นพบอะไรบ้างอย่าง

8) LIGHT & SHADOW เทคนิคการให้แสงและเงา เพื่อชวนค้นหา  ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญในการดึงผู้คนให้สนใจและอยากเข้าไปค้นหาคำตอบในตัวงานว่ามีความสวยงามมากน้อยเพียงใด 

AP Janpanese Architect (1)

ผู้บรรยาย 2 กูรูชื่อดัง จากประเทศญี่ปุ่น มร.เททสึยะ โอคุสะ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ (นานาชาติ) และ มร.โชอิจิโระ โทบะ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ บริษัท มิตซูบิชิ จิโช เซคเคอิ จำกัด ซึ่งมีผลงานการออกแบบชื่อดังอย่างเช่น โรงแรมเพนนินซูล่า ย่านกินซ่า และจัดวางผังเมืองเขตมารุโนะอุจิ (Marunouchi) แหล่งธุรกิจสำคัญใจกลางกรุงโตเกียว  ….เตรียมพบผลงาน 2 กูรู ได้ที่ Rethink Space ณ ชั้น 1 สยามพารากอน วันที่ 15-18 พฤษภาคมนี้


แชร์ :

You may also like