HomeCOVID-19‘สินมั่นคง’ ขาดทุนอ่วม ปี 64 จ่ายเคลมประกันโควิด 8,141 ล้าน

‘สินมั่นคง’ ขาดทุนอ่วม ปี 64 จ่ายเคลมประกันโควิด 8,141 ล้าน

แชร์ :

SMK covid 2021
ประกันภัยโควิด “เจอจ่ายจบ” ยังเป็นฝันร้ายของธุรกิจประกันภัย หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักหมื่นรายต่อวัน ทำยอดเคลมประกันพุ่งสูง ในปี 2564 มี 2 บริษัทต้องปิดตัว คือ เอเชียประกันภัยและเดอะวันประกันภัย มาปี 2565 มีอีก 2 บริษัทขอเลิกกิจการ คือ อาคเนย์ประกันภัยและไทยประกันภัย เนื่องจากยอดเคลมประกันโควิดกว่า 9,000 ล้านบาท


“สินมั่นคงประกันภัย” หนึ่งในธุรกิจประกันภัยที่บาดเจ็บหนักจากประกันโควิด “เจอจ่ายจบ” ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ ได้สรุปตัวเลขจ่ายค่าสินไหมโควิด ในปี 2564 จำนวน 8,141 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่จ่ายไปเพียง 11.56 ล้านบาท ทำให้ผลประกอบการปี 2564 ขาดทุน 4,753 ล้านบาท

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

บมจ. สินมั่นคงประกันภัย หรือ SMK รายงานงบการเงินปี 2564 ขาดทุน 4,753 ล้านบาท หรือ ลดลง 727% จากปี 2563 ที่มีกำไร 757 ล้านบาท สรุปได้ดังนี้

1. ปี 2564 มีรายได้รวม 10,898 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 484 ล้านบาท จากปี 2563 ที่มีรายได้รวม 10,413 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.66% จากปัจจัยดังนี้

– รายได้จากเบี้ยประกันภัย 9,850 ล้านบาท ลดลง 220 ล้านบาท หรือลดลง 2.19% เป็นผลมาจากสำรองเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น จากปีก่อนจำนวน 743 ล้านบาท

– รายได้และกำไรจากการลงทุนเพิ่มขึ้น 705 ล้านบาท หรือ 206% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมาจากกำไรเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 724 ล้านบาท หรือ 501% จากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อทำกำไร และกำไรจากการปรับมูลค่ายุติธรรมเพิ่มขึ้น 86 ล้านบาท หรือ 1,555% จากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

2. ปี 2564 มีค่าใช้จ่ายรวม 16,406 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,917 ล้านบาท หรือ 73% จากปี 2563 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวม 9,488 ล้านบาท จากสาเหตุดังนี้

– ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับ 13,333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,009 ล้านบาท หรือ 110% จากปี 2563
– เป็นค่าสินไหมทดแทนประเภทอื่น ๆ จำนวน 5,191 ล้านบาท
– เป็นค่าสินไหมทดแทนโควิด 8,141 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อในปี 2563

3. ปี 2564 กำไรจากการรับประกันภัยมีผลขาดทุนจำนวน 6,406 ล้านบาท เนื่องจากการรับประกันภัยโควิดผลขาดทุนเงินสูงถึง 7,632 ล้านบาท ส่วนการรับประกันภัยประเภทอื่นๆ กำไร 1,226 ล้านบาท

โดยสรุปสาเหตุหลักที่ทำให้ ปี 2564 “สินมั่นคง” ขาดทุนสูงถึง 4,753 ล้านบาท มาจากจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนโควิดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งมีจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนโควิด เพียง 11.56 ล้านบาท

ก่อนประกันโควิด “เจอจ่ายจบ” จะกลายเป็นฝันร้าย ย้อนดูผลประกอบการ “สินมั่นคงประกันภัย” ทำกำไรมาต่อเนื่อง

– ปี 2560 รายได้ 9,189 ล้านบาท กำไรสุทธิ 901 ล้านบาท
– ปี 2561 รายได้ 10,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 749 ล้านบาท
– ปี 2562 รายได้ 11,375 ล้านบาท กำไรสุทธิ 677 ล้านบาท
– ปี 2563 รายได้ 10,413 ล้านบาท กำไรสุทธิ 757 ล้านบาท
– ปี 2564 รายได้ 10,898 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 4,753 ล้านบาท


แชร์ :

You may also like