HomeBrand Move !!Soft Power ดัน “อาหารเกาหลี” ไปไกลระดับโลก! ยอดส่งออก “รามยอน-กิมจิ-โคชูจัง” สร้าง New High

Soft Power ดัน “อาหารเกาหลี” ไปไกลระดับโลก! ยอดส่งออก “รามยอน-กิมจิ-โคชูจัง” สร้าง New High

แชร์ :

Ramyeon Korean Instant Noodle

ทุกวันนี้อิทธิพล “Koreanization” แทรกซึมเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น Smart Device เครื่องใช้ไฟฟ้า, คอนเทนต์ ซีรีส์, รายการวาไรตี้ เพลง ภาพยนตร์ ไปจนถึงอาหารการกิน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ “คลื่นเกาหลี” ขยายออกไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นมาจากการใช้ Soft Power คือ การใช้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษา ศิลปะ ตลอดจนเศรษฐกิจ ทุน และเทคโนโลยี ฯลฯ นำเสนอผ่านคอนเทนต์, สินค้าและบริการต่างๆ

หนึ่งใน Soft Power ที่เผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีได้เป็นอย่างดี จนทุกวันนี้อยู่ในไลฟ์สไตล์ผู้คนในหลายประเทศแล้ว คือ “อาหารการกิน” โดยหลายเมนูประจำชาติเกาหลี มักจะถูกสอดแทรกอยู่ในคอนเทนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์, ภาพยนตร์, รายการวาไรตี้, กิจกรรมของศิลปินนักแสดง – นักร้อง ปรากฏสู่สายตาของคนดู หรือผู้ชมทั่วโลก เป็นกระบวนการสร้างการรับรู้ในวัฒนธรรม K-Food

นอกจากเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารเกาหลีแล้ว ขณะเดียวกันยังสร้างการเติบโตให้กับ “อุตสาหกรรมอาหารเกาหลี” โดยมี Demand ในตลาดต่างประเทศสูงขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารเกาหลี โดยเฉพาะ 3 กลุ่มสินค้าหลักคือ

“รามยอน”​ (Ramyeon) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลี

“กิมจิ” (Kimchi) เครื่องเคียงอยู่คู่ทุกมื้ออาหารของคนเกาหลี

“โคชูจัง” (Gochujang) ซอสพริกแดง วัตถุดิบสำหรับทำอาหารเมนูต่างๆ

เป็น 3 พระเอกอาหารเกาหลีในการส่งออกตลาดต่างประเทศ โดยในปี 2021 ที่ผ่านมาสามารถสร้างยอดส่งออก New High สะท้อนให้เห็นถึง Demand อาหารเกาหลีในตลาดโลกกำลังขยายตัว

Korean Food

 

ปรากฏการณ์ “รามยอน” ความนิยมพุ่งสูงช่วง COVID-19 – จีน และอเมริกา ตลาดใหญ่

ใครที่ดูซีรีส์, หนัง หรือแม้แต่รายการวาไรตี้เกาหลี จะเห็นฉากกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือในเกาหลีเรียกว่า “รามยอน” (Ramyeon) จนชินตา และดึงดูดให้เรารู้สึกอยากกินด้วย ซึ่งทุกวันนี้แบรนด์รามยอนของเกาหลี เข้ามาตีตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทั้งในไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลก

ที่สำคัญการมาของ “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากเกาหลี” ได้ทลายกำแพงด้าน “ราคา” ของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยตรงที่ว่าขายในราคากว่า 40 – 50 บาทต่อซอง ก็ยังมี Demand จากผู้บริโภค ซึ่งผลักดันให้ตลาดเซ็กเมนต์พรีเมียมขยายตัว

กรมศุลกากรเกาหลีใต้ รายงานมูลค่าการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2021 สร้างสถิติยอดส่งออกสูงสุด (New High) เป็นประวัติการณ์ ด้วยมูลค่า 674.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมียอดส่งออกเพิ่มขึ้น 29.2% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งการส่งออกรามยอนของเกาหลีไปยังตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกัน

Ramyeon_Korean Instant Noodleปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จของเกาหลี ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มาจาก

1. กระแสคอนเทนต์เกาหลีดังในตลาดโลก เช่น เมื่อสมัยภาพยนตร์เรื่อง “Parasite” สร้างปรากฏการณ์ให้กับทั้งวงการบันเทิงเกาหลี และวงการบันเทิงโลก ด้วยการเป็นภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศเรื่องแรกที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมบนเวทีออสการ์ รวมทั้งได้อีกหลายรางวัล ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมนู “Chapaguri” (จาปากูรี) ฮอตฮิตไปด้วย จนมียอดส่งออกเพิ่มขึ้น

2. สถานการณ์ COVID-19 ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้การบริโภคบะหมี่กึ่สำเร็จรูปเกาหลีเติบโต

ปัจจุบัน 5 ตลาดใหญ่ของการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลี ได้แก่

– จีน ตลาดใหญ่สุด ด้วยยอดส่งออก 133.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

– สหรัฐอเมริกา 70.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

– ญี่ปุ่น 58.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

– ไต้หวัน 29.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

– ฟิลิปปินส์ 25.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Ramyeon_Korean Instant Noodle

 

“กิมจิ” สร้างสถิติส่งออกใหม่เป็นประวัติการณ์

ส่วนอาหารประจำชาติของเกาหลีมายาวนานอย่าง “กิมจิ (Kimchi) ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดย “กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบท” รายงานข้อมูลการส่งออกกิมจิ ในปี 2021 ทำยอดส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยมูลค่าการส่งออก 159.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดดุลการค้า 19.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นครั้งแรกที่การค้าขายกิมจิของเกาหลีใต้เกินดุลการค้า นับตั้งแต่ปี 2009 จากที่ผ่านมาตลาดกิมจิในเกาหลีใต้อยู่ในภาวะขาดดุล เนื่องจากกิมจิจากจีนเข้ามาตีตลาด และขายในราคาถูกกว่า ในขณะที่กิมจิผลิตในเกาหลีใต้ และส่งออกไปตลาดต่างประเทศ มีราคาสูงกว่า

Kimchiนอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกกิมจิของเกาหลีใต้ไปยังตลาดต่างประเทศ มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 18% ต่อปี และมีประเทศนำเข้ากิมจิเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 61 ประเทศในปี 2016 เป็น 89 ประเทศในปี 2021

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกาหลีใต้ มียอดส่งออกกิมจิเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มาจากพลัง Soft Power นำเสนอผ่าน K-Entertainment ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลง, ซีรีส์, ภาพยนตร์, รายการบันเทิงมากมาย ไม่เพียงแต่สร้างฐานแฟนคลับทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับการรับรู้และความนิยมในอาหารเกาหลีเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และฐานแฟนคลับเหล่านี้ จะเปลี่ยนเป็นฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเกาหลี ซึ่งส่งผลบวกไปถึงการส่งออกสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ของเกาหลีใต้ต่อไปในอนาคต

Kimchi

 

ยอดส่งออก “โคชูจัง” ซอสพริกแดงเกาหลี โตขึ้นในรอบ 4 ปี

เมื่อพูดถึงอาหารเกาหลีในหลายเมนู ล้วนมีส่วนผสมวัตถุดิบซอสพริกแดงเกาหลี หรือที่เรียกว่า “โคชูจัง” (Gochujang) เช่น ซุปกิมจิเต้าหู้อ่อน, ต๊อกบกกี, ไก่ทอดเกาหลี, ข้าวผัดกิมจิ และอีกมากมาย เป็นเครื่องปรุงที่อยู่ทุกครัวเรือนคนเกาหลี รวมทั้งคนต่างชาติที่หลงใหลในวัฒนธรรมเกาหลี และชื่นชอบอาหารเกาหลี จนทำรับประทานเอง

รายงานจากองค์กรการค้าเกษตรกรรมและการประมงของประเทศเกาหลี รายงานการส่งออกผลิตภัณฑ์ “โคชูจัง” สามารถสร้าง New High ในรอบ 4 ปี โดยในปี 2020 มีมูลค่าการส่งออก 50.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 62.6% เมื่อเทียบกับปี 2016 และ 35.2% เมื่อเทียบกับปี 2019

Gochujang Red Pepper Pasteตลาดส่งออกโคชูจัง ประเทศหลักคือ

– สหรัฐอเมริกา 26.4%

– จีน 17.3%

– ญี่ปุ่น 10.3%

– ฟิลิปปินส์ 6.0%

– แคนาดา 4.3%

การส่งออกซอสพริกแดง หรือโคชูจัง เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคต่างประเทศให้ความสนใจอาหารเกาหลีมากขึ้น หลังจากได้ดูคอนเทนต์ และติดตามดาราศิลปินของเกาหลี

Gochujang Red Pepper Pasteนี่คือการใช้พลัง Soft Power ที่ผ่านการวางแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมใหญ่ ขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ และเชื่อมร้อยแต่ละ Sector เข้าด้วยกัน ทำให้การเติบโต ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, สินค้าและบริการแบรนด์เกาหลีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างตลาด และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอาหาร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน  

 

Source

Source

Source

Source

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like