HomeSponsored5 เคล็ดลับฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ “เจ้าของธุรกิจ” ต้องรู้…พาธุรกิจให้รอด-เริ่มธุรกิจให้รุ่ง

5 เคล็ดลับฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ “เจ้าของธุรกิจ” ต้องรู้…พาธุรกิจให้รอด-เริ่มธุรกิจให้รุ่ง

แชร์ :

นับว่าเป็นโจทย์ยากและท้าทายในการทำธุรกิจเวลานี้ แม้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่าง “สาหัส” ไม่น้อย มาปีนี้เจอปัจจัยลบกระหน่ำ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน กดดันให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัว จากราคาพลังงานพุ่งสูง วัตถุดิบหลายประเภทขึ้นราคาไม่หยุด กระทบต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ ท้ายสุดฉุดกำลังซื้อผู้บริโภค

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ชัดเจนว่าปี 2565 เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับสภาวะ “เงินเฟ้อ” ที่ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 40 ปี

สำหรับประเทศไทยเองก็เจอกับภาวะเงินเฟ้อไม่ต่างกัน ตัวเลขเดือนมิถุนายน 2565 พุ่งไป 7.66% สูงสุดในรอบ 14 ปี  แม้เดือนกรกฎาคม ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 7.61% แต่ยังอยู่ในอัตราสูง ทั้งปีนี้เงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ที่ระดับ 6.2% และคาดว่าจะอยู่ในระดับสูงไปอีกระยะหนึ่ง

ขณะเดียวกันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจึงยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น จากทิศทางการปรับขึ้น “ดอกเบี้ย” ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จากเดิม 0.50% เป็น 0.75%  แนวโน้มหลังจากนี้คาดกันว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง แต่ยังเป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ ณ สิ้นปี 2565 จะอยู่ที่ระดับ 1.25%

ซึ่งนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลอดปีนี้ เป็นอีกปัจจัยสำคัญส่งผลให้ครัวเรือนและธุรกิจได้รับผลกระทบจาก “ต้นทุนการเงินสูงขึ้น” โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่มีกว่า 3.1 ล้านราย ครองสัดส่วนกว่า 90% ของผู้ประกอบการทั้งระบบ มีการจ้างงานกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งหมด และสร้างรายได้เป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40% ของ GDP ทั้งประเทศ ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต แต่กลับเป็นกลุ่มที่เปราะบางด้านการเงิน

ดังนั้นการจะฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจในปีนี้ เจ้าของธุรกิจทั้ง SMEs หรือหน้าใหม่ที่ต้องการสร้างกิจการของตัวเองในสถานการณ์ที่ยังมีความเปลี่ยนแปลงและผันผวนนี้ จึงต้องมี “ไม้เด็ด” ตีโจทย์สำคัญ ๆ ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สินค้าของเราเป็นที่รู้จักมากพอหรือยัง,  จริงๆ แล้วลูกค้าต้องการอะไร พวกเขายังต้องการสินค้าเราอยู่หรือไม่ การตลาดแบบเดิมคุ้มค่าการลงทุนหรือยัง อีกสิ่งสำคัญการบริหารต้นทุนทางการเงินในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เรามีตัวเลือกที่ดีพอหรือยัง 

ชวนมาวิเคราะห์ 5 เช็คลิสต์การทำธุรกิจที่ SMEs และเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ ต้องรู้! เพื่อให้ “รอดและรุ่ง” ในสถานการณ์เงินเฟ้อ ต้นทุนพุ่งสูง และดอกเบี้ยขยับขึ้น ดังนี้

1. ไอเดียธุรกิจแตกต่าง

ในยุคที่ลูกค้ามีความต้องการแตกต่างหลากหลายและมีตัวเลือกมากมาย ต้องดูว่าธุรกิจที่เราทำอยู่หรือการจะลงทุนทำธุรกิจใหม่ สินค้าและบริการนั้นต้องตอบโจทย์ลูกค้าหรือผู้บริโภคได้จริง หาจุดแตกต่างของสินค้าที่ต่างจากในตลาด ไม่ใช่โปรดักท์  Me too ที่มีอยู่เกลื่อนตลาด เหมือนกันไปหมด

ตัวอย่าง ไอเดียสินค้าแตกต่าง อาจมาจากการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภค หรือแตกต่างที่รูปแบบการขาย แนวทางการบริโภคและการใช้บริการ

การหาไอเดียธุรกิจที่แตกต่าง จะสร้างโอกาสเติบโตและแข่งขันในตลาดได้ โดยต้องหลุดออกจากความคิดเดิม ๆ เพื่อตามให้ทันพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  เห็นได้ว่าในช่วงโควิด-19 ที่ถือเป็นวิกฤติแต่ก็มีธุรกิจและสินค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาตอบสนองความต้องการในยุค New Normal และประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

ดังนั้นผู้ประกอบการต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งใหม่ มองหาช่องว่างทางการตลาด หรือนำนวัตกรรมมาสร้างความต่างให้กับสินค้า

วันนี้ทุกธุรกิจสามารถทำเรื่องใหม่ ๆ ได้ แม้ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนั้นมาก่อน ผู้ประกอบการจึงต้องมีความรู้แบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Marketing) เพื่อตัดสินใจวางกลยุทธ์ที่ถูกต้องในแต่ละสถานการณ์และหาโอกาสในธุรกิจใหม่ ๆ “ความคิดสร้างสรรค์” เป็นสิ่งสำคัญมากในยุคที่ธุรกิจไม่มีเส้นแบ่งเรื่องการแข่งขัน ทุกธุรกิจจึงเป็นคู่แข่งกันได้หมด

2. วางลูกค้าเป้าหมายให้ชัด หมดยุค One Size Fits All

การทำธุรกิจปัจจุบันหมดยุค One Size Fits All หรือ การวางกลุ่มเป้าหมายเป็นคนทุกกลุ่ม โดยต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของเราคือใคร และพยายามตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น (Personalized Marketing) ด้วยการเก็บข้อมูลสร้างฐานลูกค้า เริ่มติด Tag ผ่านสื่อออนไลน์  เก็บดาต้าเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ต่อยอดหาลูกค้าเสมือนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าตัวจริง

มอนิเตอร์เสียงผู้บริโภคจากแพลตฟอร์มโซเชียล ต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ไอจี ทวิตเตอร์ กระทู้ เพจคู่แข่ง หรือใช้บริการ Social Listening Tools เช่น Google Trends, Google Alerts, Wisesight  ฟังเสียงผู้บริโภคจากโลกออนไลน์  จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มให้มากขึ้น เพื่อทำให้สินค้าและบริการของเราเข้าไปอยู่ในตัวเลือก

3. ต้องมีช่องทางให้ครบทั้งออฟไลน์-ออนไลน์

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เห็นได้จากการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย วันนี้ช่องทางหน้าร้าน (ออฟไลน์) จึงไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าอีกแล้ว

ขณะที่การขยายช่องทางออนไลน์ ควรเริ่มในแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมก่อน คือ “อีมาร์เก็ตเพลส” และ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” เพราะลูกค้าใช้เวลาจับจ่ายกับ 2 ช่องทางนี้มากที่สุด จากนั้นค่อย ๆ ขยายเพิ่มในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ตามพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

ช่องทางการขายที่เหมาะสมกับสินค้า คือกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งในการพิชิตตลาด ขณะเดียวกันจำนวนช่องทางการขายที่มากกว่าคู่แข่ง ก็เป็นอีกโอกาสในการสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด  อีกทั้งช่วยกระจายความเสี่ยงให้ธุรกิจ  และไม่ว่าจะเป็นช่องทางการขายแบบไหน  การมี “คู่ค้า” ที่ดี เป็นอีกปัจจัยสำคัญสู่การมีช่องทางการขายที่แข็งแกร่ง

4. เครื่องมือการตลาดดิจิทัลใหม่ ๆ ต้องรู้

ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใหญ่หรือเล็ก อยู่ในตลาดมานานหรือหน้าใหม่ การหยุดพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เท่ากับหยุดการเติบโตของธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถือเป็นการเตรียมความพร้อมและเสริมอาวุธให้ธุรกิจอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการตลาด การพัฒนาสินค้า การบริหารจัดการ ฯลฯ

ทักษะที่ต้องมีในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น Data skill ทั้งการเข้าถึงดาต้าที่สำคัญ  การใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลต่าง ๆ ให้เป็น เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วต้องนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ เพื่อเปลี่ยน Data เป็น Insight เปลี่ยนผู้เข้าชม เป็น ลูกค้า และเปลี่ยนลูกค้า เป็น ลูกค้าประจำ

รวมทั้งเรื่อง Digital literacy ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพราะในโลกการตลาดยุคดิจิทัลมีเครื่องมือ (Tools) ใหม่ ๆ จำนวนมาก จึงต้องเรียนรู้นำมาสร้างประสิทธิภาพในการทำธุรกิจและสร้างโอกาสการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น พร้อมพาธุรกิจรอดและรุ่งในทุกสถานการณ์

5. ตัวเลือก “ต้นทุนการเงิน” ที่ดี

สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจให้ผ่านทุกปัจจัยท้าทาย คือ “การจัดการสภาพคล่อง”  โดยเฉพาะในยุคต้นทุนสูงจากภาวะเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 14 ปี  และดอกเบี้ยขาขึ้นในขณะนี้

ที่ผ่านมาเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่เริ่มต้นเป็นเจ้าของกิจการมักเจอปัญหาความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะสถาบันการเงินกลัวหนี้สูญ ทำให้ SMEs ขาดเงินทุนที่จะช่วยต่อลมหายใจพาธุรกิจไปให้รอด

ตั้งแต่ช่วงวิกฤติโควิด-19 มาถึงปัจจุบันจึงเห็นสถาบันการเงินและบิ๊กคอร์ปอเรทต่าง ๆ จับมือร่วมกันช่วยสนับสนุน “คู่ค้า” โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ให้มีตัวเลือกต้นทุนการเงินที่ดี เพื่อช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่อง และก้าวข้ามวิกฤติ จับมือเติบโตไปด้วยกัน

อย่างล่าสุด บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ  จัดทำโครงการ CPF x BBL เสริมสภาพคล่อง…เคียงข้างคู่ค้า” มอบสินเชื่อหมุนเวียนด้วยดอกเบี้ยพิเศษสำหรับคู่ค้าของ CPF

โดยเป็นโครงการที่ช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่คู่ค้ากว่า 10,000 ราย ของกลุ่ม CPF ที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SMEs ด้วยสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น ต้นทุนต่ำ ผ่านบริการ Supplier Payment and Finance ของธนาคารกรุงเทพ เพื่อสนับสนุนให้คู่ค้า CPF เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ วงเงินสูง อนุมัติไว เบิกใช้วงเงินได้มากถึง 90% ตามข้อมูลการค้าที่ธนาคารได้รับ ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

สำหรับบริการสินเชื่อ CPF x BBL ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ มี 4 จุดเด่นดังนี้

– รับเงินเร็ว  เบิกใช้สินเชื่อได้ทันทีตามวงเงินที่ธนาคารแจ้งให้ทราบทางอีเมล

– บริหารง่าย  ทยอยเบิกใช้วงเงินสินเชื่อได้ตามต้องการ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

– ยืดหยุ่น ชำระหนี้คืนธนาคารได้ทุกวัน ไม่ต้องกังวลกับภาระดอกเบี้ย

– ตรวจสอบได้  สามารถตรวจสอบวงเงินสินเชื่อออนไลน์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

ถือเป็นอีกโครงการของ CPF ที่ออกมาช่วยคู่ค้าให้ไปต่อได้ ผ่านหลากหลายโครงการที่สนับสนุนไปก่อนหน้านั้น นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19  และถือเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการ Faster Payment ที่ช่วยลดระยะเวลาเครดิตเทอม หรือ การชำระเงินค่าสินค้าและบริการภายใน 30 วันให้แก่คู่ค้าผู้ประกอบการ SMEs กว่า 6,000 ราย  ทำให้คู่ค้าฯ มีสุขภาพการเงินที่แข็งแรง สามารถดำเนินธุรกิจในสภาวะที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารสามารถเดินหน้าได้โดยไม่หยุดชะงักหรือสะดุดลง และ รักษาการจ้างงาน ที่ CPF ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นมา และขยายเวลายาวไปถึงสิ้นปี 2565

ในสถานการณ์ต้นทุนสูงจากภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องหาตัวเลือกต้นทุนการเงินและคู่ค้าพันธมิตรที่ดี เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจไปต่อได้อย่างยั่งยืน

สนใจศึกษาข้อมูลโครงการเพิ่มเติมที่  https://www.cpfworldwide.com/th/media-center/list/cpfxbbl


แชร์ :

You may also like