HomeCreativityเปิดวิสัยทัศน์ ‘ชาคริต พิชญางกูร’ ผู้อำนวยการ CEA “เราต้องเข้าใจตลาดก่อน แล้วค่อยพัฒนาโปรดักท์”

เปิดวิสัยทัศน์ ‘ชาคริต พิชญางกูร’ ผู้อำนวยการ CEA “เราต้องเข้าใจตลาดก่อน แล้วค่อยพัฒนาโปรดักท์”

แชร์ :

หลังจากทำงานในภาคเอกชน มาทั้ง IBM ลอรีอัล และตำแหน่งสุดที่ท้าย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจไลฟ์สตาร์ กับอาร์เอส ความฝันของ ดร.ชาคริต พิชญางกูร ที่อยากเป็นอาจารย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้กับคนรุ่นใหม่ ปรากฏว่าเมื่อทาง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA-Creative Economy Agency) เปิดรับสมัครตำแหน่งผู้อำนวยการ นั่นจึงผลักดันให้เขาเสนอตัวเข้ามาทำหน้าที่นี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและพัฒนาอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ให้กับประเทศ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากประสบการณ์ที่เขาทำงานมาในภาคเอกชนมาเป็นเวลานาน ดร.ชาคริต สะสมองค์ความรู้ จนกลายเป็นวิธีคิดที่ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ต้นทาง

“ผู้ประกอบการไทยต้องเข้าใจธุรกิจมากกว่านี้ เช่น คิดว่าจะขายที่ไหน ขายใคร เพื่อให้เข้าใจอินไซต์ของผู้ซื้อ ก่อนที่จะคิดโปรดักท์ ปัจจุบันนี้มักจะคิดจากตัวโปรดักท์ก่อน แล้วค่อยมองหาตลาด ซึ่งวิธีคิดต้องกลับด้านกัน ไม่อย่างนั้นก็พัฒนาสินค้ามาไม่ตรงกับความต้องการ ความจริงแล้วสินค้าของไทยมีช่องว่างที่จะเติบโตและพัฒนาได้อีกเยอะ ถ้าเจาะได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย (Hit the Right Target)” ดร.ชาคริต กล่าว

เพื่อที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วิธีคิด ในฐานะผู้อำนวยการของ CEA ดร. ชาคริต พยายามขับเคลื่อนให้องค์กรเป็น Think Tank ทางความคิดให้กับผู้ประกอบการ เหล่าครีเอทีฟ และดีไซน์เนอร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการค้า ธุรกิจและสังคม โดยอาศัยการเชื่อมโยงจากคอนเนกชั่นเดิม ที่ทำงานมาตลอด

“ความแตกต่างของการทำงานในองค์กรเอกชน คือ การทำงานในเชิงลึก ต้องดูแลตั้งแต่ต้น จนกระทั่งปล่อยโปรดักท์ลงสู่ตลาดแล้ว ก็มาดูฟีดแบ็กด้วย ถ้ามันไม่ดีก็ต้องรีบปรับให้เร็วที่สุด ขณะเดียวกันพอมาเป็นงานภาครัฐ เป็นงานทางกว้าง คือ ประสานงานกับหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ มากมาย ต้องอาศัยเครือข่าย วิธีการก็คือเข้าใจว่าเขาต้องการอะไรให้มากที่สุด แล้วจัดสิ่งที่ตรงกับความต้องการของเขา เพื่อให้นโยบายที่เราต้องการผลักดันเดินหน้าไปให้ได้ แล้วก็เป็นการทำงานในระยะยาว” ดร.ชาคริต กล่าว

สำหรับเป้าหมายระยะยาวของ CEA ภายใต้การนำของ ดร.ชาคริต มองว่า คือการนำเอาความคิดสร้างสรรค์ไปพัฒนานวัตกรรม ด้วยครีเอทีฟ ความเข้าใจตลาด สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ สร้างคุณค่าให้กับสังคม สามารถแข่งขันบนเวทีโลก

“การที่เราจะคิดนวัตกรรมได้ เป็นเรื่องของ Management และ Mindset ทั้งสองอย่างต้องควบคู่กัน ประเทศไทยเรามีอัตลักษณ์ที่น่าสนใจอยู่แล้ว ต้องเอาความเก่งนั้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ให้ได้ เรามีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ เราต้องผลักดันมาใช้ให้ได้”

 


แชร์ :

You may also like