HomeSponsoredก้าวสู่ปีที่ 6 freshket มากกว่า Food Supply Chain ตั้งเป้าลด ‘ขยะอาหาร’ ผลักดันการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน

ก้าวสู่ปีที่ 6 freshket มากกว่า Food Supply Chain ตั้งเป้าลด ‘ขยะอาหาร’ ผลักดันการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน

แชร์ :

อีกหนึ่งสตาร์ทอัพที่น่าจับตา สำหรับ freshket (เฟรชเก็ต) โดย บริษัท โพลาร์ แบร์ มิชชั่น จำกัด แพลตฟอร์ม ​Food Supply Chain ที่นำประสิทธิภาพของเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการวัตถุดิบอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ นอกจากจะช่วยแก้ Pain point สำคัญของผู้ประกอบการในกลุ่ม HoReCa (โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม SME ไปจนถึงกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ในเรื่องการจัดหาวัตถุดิบคุณภาพให้แล้ว ยังสามารถช่วยบรรเทาปัญหา Food Waste และ Food Loss ได้อีกทางหนึ่ง และถือเป็นเป้าหมายสำคัญของ freshket ที่มีเจตนารมณ์แน่วแน่มาตลอด 6 ปี ในการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางแห่งความยั่งยืน เพื่อให้ธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างยั่งยืน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ขยะอาหาร เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องหันมามอง เพราะถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลในแต่ละปี รวมทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ​ ที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการบริโภคของผู้คนในสังคม โดยปัญหาขยะอาหารนั้น ไม่ใช่เพียง Food Waste​ ที่เกิดจากปริมาณอาหารส่วนเกินที่ถูกทิ้งจนกลายเป็นขยะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปริมาณ Food Loss หรือ การสูญเสียโอกาสจากทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติที่สูญหายไปในระหว่างกระบวนการผลิต การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว บรรจุ รวมไปถึงการขนส่ง จากกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ โดยเฉพาะระบบ Food Supply Chain ของประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่ยังเป็นระบบ Manual​ และมีโอกาสสูญเสียได้มากกว่า ดังนั้น การมีระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก

การปล่อยให้ปัญหาขยะอาหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหาร แต่ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น โซลูชั่นจาก freshket จึงตอบโจทย์ให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ข้อ 12 ว่าด้วยการผลิตและบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นการจัดการขยะอาหาร ผ่านการบริหารจัดการวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด

freshket ไม่เพียงแค่ทำหน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบ แต่ยังคำนึงถึงการนำทุกส่วนของวัตถุดิบทุกประเภทไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด ผ่านการคัด ตัด และแต่ง วัตถุดิบ เพื่อจัดเตรียมให้ผู้ประกอบการตามต้องการ รวมทั้งแยกวัตถุดิบในส่วนที่เหลือเพื่อจัดสรรประโยชน์ต่ออย่างเหมาะสม เช่น การนำวัตถุดิบอาหารที่เหลือแต่ยังรับประทานได้ วัตถุดิบที่ไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานหรือยังไม่ถึงเกณฑ์สำหรับการจำหน่าย เพื่อส่งต่อไปร่วมกับโครงการหรือองค์กรอื่นๆ นำไปปรุงอาหารที่ถูกสุขอนามัย และนำไปแจกจ่ายต่อให้กับชุมชน ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะอาหารลงได้อย่างมีนัยสำคัญ​

เฟรชเก็ตพัฒนาระบบ Supply Chain แบบ Demand-based ให้ผู้ประกอบการสามารถสั่งวัตถุดิบได้ทุกวัน ตามปริมาณที่ต้องการใช้ในแต่ละวันและมีบริการจัดส่งถึงหน้าร้าน โดยร้านสามารถเลือกเวลาจัดส่งเองได้ เพื่อลดการสต็อกของสดที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งก่อให้เกิดวัตถุดิบส่วนเกินหรือ Food Waste นั่นเอง

มูลค่ายอดขายร้านอาหารในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณปีละ 400,000 ล้านบาท จากสถิติต้นทุนวัตถุดิบจะอยู่ที่ประมาณ 30% ของยอดขายทั้งหมด เท่ากับว่ามีการสั่งซื้อวัตถุดิบประมาณ 120,000 ล้านบาทต่อปี โดยวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าอัตราการสูญเสียของวัตถุดิบของร้านอาหารอยู่ที่ประมาณ 4-10% โดยมีปัจจัยหลักจากการสต็อกวัตถุดิบมากเกินจำเป็น และการบริหารจัดการ ดังนั้นการสั่งของสดแบบรายวันโดยไม่ต้องสต็อก สามารถช่วยลด Food Waste ได้ราวๆ 10% ซึ่งถ้าคิดเป็นมูลค่าแล้ว Business Model นี้สามารถช่วยลด Food Waste ได้มากถึง 12,000 ล้านบาท

พร้อมทั้งยังมองแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจับมือกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายร่วมกันในการให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาขยะอาหาร และนำวัตถุดิบส่วนเกินมาต่อยอดเพื่อส่งต่อคุณค่าใหม่ๆ ให้สังคม ผ่านการขับเคลื่อนโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหลากหลายโครงการตลอดปี 2565 นี้ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของ freshket ที่ต้องการจัดการปัญหาขยะอาหารอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเติบโตให้กับผู้ประกอบการคนไทย ผ่านความร่วมมือทางธุรกิจและสร้างห่วงโซ่อุปทานอาหารไทยให้ยั่งยืนได้ในระยะยาว (Sustainable Food Supply Chain Ecosystem) ตามปณิธานที่ผู้ก่อตั้งอย่าง คุณพงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ ซึ่งยังได้รับหน้าที่ CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง เคยให้คำมั่นสัญญาในการขับเคลื่อนธุรกิจ ไว้ว่า  “เราไม่เพียงแค่ต้องการสร้างธุรกิจให้สามารถทำเงินได้เท่านั้น แต่เราอยากมีส่วนพัฒนาระบบ Food Supply Chain ของประเทศให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เป็นอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมรวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง”​


แชร์ :

You may also like