HomeBrand Move !!เอไอเอสเผย “มีความรู้ก็อยู่รอด” หลังพบภัยไซเบอร์ 8 เดือนทำไทยเสียหาย 21,900 ล้านบาท

เอไอเอสเผย “มีความรู้ก็อยู่รอด” หลังพบภัยไซเบอร์ 8 เดือนทำไทยเสียหาย 21,900 ล้านบาท

แชร์ :

ais มีความรู้ก็อยู่รอด

เรียกว่าเป็นแคมเปญที่เลือกเวลาเปิดตัวได้อย่างเหมาะเจาะจากเอไอเอสที่มาในชื่อ “มีความรู้ก็อยู่รอด” โดยเลือกบรรยากาศของวันฮาโลวีนในปีนี้ เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชิ้นใหม่เจาะภัยไซเบอร์ที่ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเสียน้ำตา เงินทอง หรือบางคนอาจต้องแลกด้วยชีวิต หวังให้คนไทยดูแล้วเกิดความตระหนักในการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลมากขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แคมเปญดังกล่าวเป็นผลงานต่อเนื่องจากแคมเปญเมื่อปี 2019 “เมื่อเราทุกคนคือเครือข่าย” โดยคุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS เผยว่า “ที่ผ่านมา เอไอเอสเหมือนผู้สร้างอินฟราสตรักเจอร์ด้านการสื่อสาร หรือเปรียบง่าย ๆ ว่าเราเป็นคนสร้างถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งคนที่ขึ้นมาใช้ถนนสายนี้ควรจะต้องมีความรู้ว่าเราควรจะใช้เส้นทางนี้อย่างไร ต้องสามารถปกป้องตัวเองให้ปลอดภัยได้”

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS

คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS

เมื่อมีความรู้ แม้อยู่บนเครือข่าย ก็อยู่รอด

“เพื่อให้ภาพนั้นเกิดขึ้น เอไอเอสจึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารให้คนที่ใช้โลกดิจิทัลใบนี้มีความรู้ที่จะอยู่ในโลกดิจิทัลโดยที่ไม่ปล่อยให้มันกลับมาทำร้ายเรา โดยมีการจับมือกับค่าย Phenomena สร้างเป็นภาพยนตร์โฆษณาชิ้นใหม่นี้ขึ้นมา”

ด้านคุณพลัช ร่มไทรย์ ผู้กำกับภาพ Phenomena อธิบายว่า “ภาพยนตร์ดังกล่าวถือเป็นโจทย์ที่สนุกและท้าทายในการที่จะสื่อสารเรื่องภัยไซเบอร์ให้ออกมาแล้วสามารถสร้างความเข้าใจให้กับผู้ชมได้ในวงกว้าง โดยเราเลือกที่จะชี้ให้เห็นว่าภัยเหล่านี้ เป็นปัญหาใหญ่ที่อาจทำให้ทุกคนตายได้หากไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่มีวิธีรับมือ ซึ่งสิ่งเดียวที่จะช่วยให้รอดได้ก็คือ ความรู้”

“แต่เราจะเอาคนที่เป็นเหยื่อ – เสียชีวิตมาสอนก็ไม่ได้ เราเลือกเลือกเล่าเรื่องผ่านผี เล่าผ่านคนตาย โดยเราเลือกใช้วิธีเล่าเรื่องแนวตลก สยองขวัญ ผ่านตัวละครผีที่โดนภัยไซเบอร์ในรูปแบบใกล้ตัวทำร้าย จนถึงขั้นเสียชีวิต  เพื่อสื่อให้เห็นว่าทุกคนมีโอกาสตกเป็นเหยื่อจากการใช้งานออนไลน์หรือแม้แต่สื่อดิจิทัลได้ตลอดเวลา และความรู้เท่านั้นจะช่วยให้อยู่รอดได้”

สำหรับอีกหนึ่งจุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวอาจเป็นการบอกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ต้องการทำร้าย (Bully) ใคร จึงเลือกตัวเอกของเรื่องให้เป็นคนที่ไม่มีวันมีอยู่จริงบนโลก นั่นคือเด็กที่มีเขี้ยวเป็นยักษ์ มาเป็นตัวเอกด้วยนั่นเอง

ภัยไซเบอร์ไทย 8 เดือนเสียหาย 21,900 ล้านบาท

cyber threat 2

ขณะที่ข้อมูลอีกด้านหนึ่งจากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือ ตำรวจไซเบอร์ ที่ร่วมให้ข้อมูลในอีเวนท์ดังกล่าว ก็เผยให้เห็นตัวเลขความเสียหายจากภัยไซเบอร์ที่ไม่ธรรมดา โดยในระยะเวลาตั้งแต่ 1 มีนาคม – 29 ตุลาคม 2565 พบว่า มีผู้เข้าแจ้งความออนไลน์กับตำรวจไซเบอร์มากถึง 113,461 คดี และคิดเป็นความเสียหายมากถึง 21,900 ล้านบาท โดย พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ระบุว่า คดีออนไลน์ที่มีการแจ้งเข้ามามากที่สุดคือการซื้อของออนไลน์แล้วไม่ตรงปก – ไม่ได้ของ 

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน

เปิด 5 อันดับ “นักหลอก” เสียหายมากที่สุด

อย่างไรก็ดี คดีที่สร้างความเสียหายเป็นตัวเงินมากที่สุดคือ การหลอกให้ลงทุน (คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 5,000 – 6,000 ล้านบาท) รองลงมาคือการหลอกให้กลัว แล้วให้เหยื่อโอนเงิน อันดับสามคือการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันแล้วดูดเงินออกจากระบบ อันดับสี่คือการหลอกให้ทำงาน หรือกู้เงินแบบมีผลตอบแทนสูง โดยคนกลุ่มนี้จะได้เงินจริงในช่วงแรก ๆ แต่หลังจากนั้นจะไม่สามารถถอนเงินออกจากระบบได้ และสุดท้ายคือหลอกให้รักแล้วโอนเงิน

ภายในงาน พล.ต.ต.นิเวศน์ ยังได้ยกตัวอย่างการหลอกให้เหยื่อโอนเงินว่า หลายคนเคยได้ยินข่าวแก๊งคอลล์เซนเตอร์ แต่ตอนที่เกิดกับตัวเองนั้นก็ยังตกเป็นเหยื่อ เหตุเพราะแก๊งคอลล์เซนเตอร์สามารถหลอกจนเหยื่อเกิดความกลัวได้ เช่น โทรมาบอกว่ามีการพบว่าบัญชีของเราถูกนำไปเปิดบัญชีเพื่อฟอกเงินแบบผิดกฎหมาย ดังนั้นเพื่อยืนยันว่าเราเป็นเจ้าของบัญชีตัวจริง ขอให้เราโอนเงินในบัญชีไปให้ตำรวจ ถ้าเราโอนได้จริง ก็แปลว่าบัญชีนี้ไม่ได้เป็นบัญชีที่เอาไปฟอกเงินนั่นเอง

นอกจากนั้น พล.ต.ต.นิเวศน์ ยังได้กล่าวถึงกรณีของเยาวชนที่ถูกหลอกให้ส่งภาพลับของตัวเองไปให้บุคคลภายนอกว่าพบได้มากขึ้นเช่นกัน

“เราไม่อยากให้เด็ก ๆ – ผู้ใหญ่ตกเป็นเหยื่อ แต่ก็จะให้อยู่โดยไม่มีโทรศัพท์มือถือก็ไม่ได้ ดังนั้น ผู้บริโภคต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีแบบพอประมาณ และต้องติดตามข่าวสาร รวมถึงเมื่อมีความรู้ทางเทคโนโลยีแล้ว ก็ต้องใช้ความรู้เหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและคนรอบข้าง ไม่ใช้นำไปทำร้ายคนอื่น”

“ผมเชื่อว่าถ้าเราร่วมกันสื่อสาร และสร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนมีสติรู้เท่าทันไม่หลงเชื่อสรรพคุณอวดอ้างหรือการชักจูงในทุกรูปแบบ ไม่คุยกับสายที่ไม่มั่นใจ ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว ไม่โอนเงินให้กับคนที่ไม่รู้จักผ่านการรับสายอย่างเด็ดขาด หากเข้าใจกระบวนการและวิธีการปฏิเสธได้ ความรู้เหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดีที่ทำให้เราปลอดภัยจากโลกไซเบอร์ได้”

ติดตามแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด” ได้ที่ AIS Sustainability และรับชมหนังโฆษณาชุดใหม่ล่าสุดได้ที่


แชร์ :

You may also like