HomeBrand Move !!RISC เปิดหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering” ปั้น “ผู้ขับเคลื่อนสร้างความอยู่ดีมีสุข” รับมือ “วิกฤตเมือง”

RISC เปิดหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering” ปั้น “ผู้ขับเคลื่อนสร้างความอยู่ดีมีสุข” รับมือ “วิกฤตเมือง”

แชร์ :

RISC by MQDC เปิดหลักสูตร Well-Being Design & Engineering” ปั้น “New Army of Well-Being” ผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาอาคารและเมือง สร้างความอยู่ดีมีสุข ด้วยองค์ความรู้หลายศาสตร์ เพื่อการออกแบบอาคาร วิเคราะห์ปัญหาเมืองได้ตรงจุด ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ พร้อมทำความเข้าใจแนวทาง “Resilience Framework” สู่การประยุกต์ใช้จริง รับมือวิกฤตโลก วิกฤตเมือง สอดรับกับโลกปัจจุบัน และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

วิกฤตที่เราต่างต้องเผชิญและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ภาวะโลกรวน (climate change) ที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความไม่สมดุลของโลก ความเปลี่ยนแปลงเชิงประชากร ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของคนเรา ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพจิตแย่ลง ความเครียดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงในระดับสังคมและเมือง ส่งผลต่อความเป็นอยู่และคุณภาพของทุกชีวิตที่ดี

“การสร้างความอยู่ดีมีสุข” ให้กับประชากรโดยเฉพาะในเขตเมือง ถือเป็นจุดหมายภายใต้สภาวะที่ยากจะคาดเดา และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จำเป็นต้องอาศัยการแก้ปัญหา ผ่านการศึกษา วิจัย  รวมถึงต้องมีบุคลากรที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขให้ครบทุกด้าน

Resilience Framework แก้ปัญหาเมืองได้ตรงจุด

“รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต” หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) เปิดเผยว่า เมื่อเราเจอปัญหา หนึ่งในวิธีเอาตัวรอด คือ การจัดทำ Resilience Framework โดยวางแผนตั้งแต่ต้น เมื่อเจอปัญหาเฉพาะเจาะจง เช่น น้ำแล้ง น้ำท่วม พบว่ามีโซลูชั่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้หลายรูปแบบ บางโซลูชั่นมีอยู่แล้วนำมาใช้ได้เลย  บางปัญหาโซลูชั่นแพงไปก็พัฒนามาใช้ หรือ บางปัญหาไม่มีโซลูชั่นก็สามารถพัฒนามาใช้ตีโจทย์เหล่านั้น เพื่อให้เจาะลงไปถึงปัญหาและหาทางตั้งรับ วางแผนพัฒนาอาคารและเมือง เป็นโอกาสเติบโตและป้องกันไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ แนวทาง Resilience Framework” นับเป็นสิ่งสำคัญ ในการเตรียมตัวสร้างสมาร์ทซิตี้ โดยการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ล่วงหน้า เช่น น้ำท่วม ฯลฯ และหาแนวทางป้องกันปัญหาได้ในการสร้างอาคาร นำ “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) หรือ GIS มาใช้ สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น

ปั้น “ผู้ขับเคลื่อน” สร้างความอยู่ดีมีสุข

“รศ.ดร.สิงห์ กล่าวต่อไปว่า บุคลากรที่มีองค์ความรู้ มีโอกาสในการช่วยให้งานในด้านการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขนี้เติบโตมากขึ้น เป็นที่มาของ Well-Being Design & Engineering Program” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างกลุ่มคน “New Army of Well-Being” หรือ ผู้ขับเคลื่อนร่วมสร้างความอยู่ดีมีสุข โดยใช้องค์ความรู้เชิงลึกจากงานวิจัย และประสบการณ์ทำงานในการประยุกต์ความรู้ส่งเสริมให้เกิด Well-Being ในโครงการจริง ผ่านองค์ความรู้จากหลายศาสตร์

เพื่อการออกแบบอาคารจากเชิงวิทยาศาสตร์ ช่วยส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและความอยู่ดีมีสุขครบด้าน ที่ไม่ใช่เพียงการสร้างความรู้สึก “มีความสุข” เท่านั้น แต่ยังผสานกับวิศวกรรมงานระบบเชิงประยุกต์ทั้งกระบวนการวางแผนและจัดการภาพรวม เชื่อมโยงทุกส่วนของการพัฒนาโครงการได้ เพื่อทำให้อาคารหรือโครงการ นำไปสู่ความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ได้อย่างยั่งยืน

“Well-Being Design & Engineering  คือ การเสริมสร้างองค์ความรู้ และสนับสนุนแนวคิดด้วยความเข้าใจความรู้จากหลายศาสตร์เพื่อการออกแบบอาคารส่งเสริมสุขภาวะที่ดี (ความอยู่ดีมีสุข) ครบด้าน ผสานกับวิศวกรรมงานระบบเชิงประยุกต์ทั้งกระบวนการ วางแผนและจัดการภาพรวม เชื่อมโยงทุกส่วนของการพัฒนาโครงการได้ เพื่อทำให้โครงการหรืออาคารนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ได้” รศ.ดร.สิงห์ กล่าว

พัฒนาองค์ความรู้ สู่การประยุกต์ใช้จริง

ทั้งนี้ หลักสูตร  “Well-Being Design & Engineering Program”  พัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้าน Well-Being  ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการ  ทั้งผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่คลุกคลีและทำงานร่วมกับ RISC นำความรู้เชิงลึกมาประยุกต์ใช้ในโครงการจริง  เช่น  คุณเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด  ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และทีมนักวิจัย RISC ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาให้ความรู้  เช่น ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส RISC ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ หัวหน้า Happiness Science Hub, RISC คุณวสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP, RISC และ คุณทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส Sustainable Building Materials, RISC เป็นต้น ซึ่งจะมาแบ่งปันองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านคุณภาพชีวิต รวมถึงงานวิจัย และการลงมือทำเพื่อนำไปประยุกต์ใช้

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การทำความเข้าใจ คำว่า “Well-Being” และความหมายเชิงลึกของ Well-Being ทั้งด้านความยั่งยืนทางด้านจิตใจ (Mental/Emotional Well-Being) ความยั่งยืนทางด้านร่างกาย (Physical Well-Being)  และ ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Well-Being) รวมถึง เข้าใจแนวทาง Resilience Framework เมื่อเจอปัญหาเฉพาะเจาะจง และเรียนรู้จากสถานที่จริง

“Well-Being Design & Engineering Program” จะจัดการเรียนทุกวันศุกร์ช่วงบ่าย รวมทั้งหมด 8 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 9 จะเป็นการเรียนรู้สร้างประสบการณ์จากสถานที่จริง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็น ผู้ขับเคลื่อนร่วมสร้างความอยู่ดีมีสุข “New Army of Well-Being” ลงทะเบียนและอ่านเงื่อนไขการรับสมัครได้ที่  https://forms.gle/5y2XHeCS6PE4dNEL8

รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20 มกราคม 2566 เท่านั้น!! และจะประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าเรียนโดยจะพิจารณาตามความเหมาะสม (ฟรีแบบมีเงื่อนไข) ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ risc_admin@dtgo.com หรือ 063-902-9346


แชร์ :

You may also like