HomeBrand Move !!ทิ้งขยะอย่างไรให้สนุกขึ้น กลยุทธ์เอไอเอส ปั้นแพลตฟอร์ม E-Waste+ ใช้ Blockchain ติดตามสถานะขยะได้

ทิ้งขยะอย่างไรให้สนุกขึ้น กลยุทธ์เอไอเอส ปั้นแพลตฟอร์ม E-Waste+ ใช้ Blockchain ติดตามสถานะขยะได้

แชร์ :

Pic_E-Waste+ Blockchain 04

การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจไม่ใช่เรื่องสนุกนักในมุมมองของคนไทย เห็นได้จากการเปิดเผยของวิทยากรหลายท่านในงานแถลงข่าว “การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+” ที่พบว่า ถังสำหรับทิ้งขยะชนิดพิเศษมักกลายเป็นศูนย์รวมของไม้เสียบลูกชิ้น – ถุงพลาสติก แทนหน้าที่เดิมที่ควรจะเป็น นั่นทำให้ AIS มองว่า การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ว่าอาจต้องทำให้มันสนุกมากขึ้นด้วย จึงจะตอบโจทย์คนไทยได้มากกว่า

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ส่วนความสนุกนี้เริ่มจากอะไร ก็อาจเป็นการนำเทคโนโลยี Blockchain ที่หลายคนมองว่าเข้าใจยากมาปรับใช้กับการจัดเก็บขยะ บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยอยากให้คนไทยทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีความรับผิดชอบ และสนุกขึ้นเมื่อรู้ว่าขยะเหล่านั้นเดินทางไปสู่การกำจัดในขั้นตอนใดแล้วบ้าง โดยเส้นทางของการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ AIS เริ่มจากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน E-Waste+ จากนั้นก็สมัครใช้งานด้วยการกรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ (ค่ายใดก็สมัครได้)

เริ่มต้นทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์

การทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ สามารถทำได้โดยการกดค้นหาจุดรับทิ้งขยะ เพื่อเลือกจุดที่สะดวกในการทิ้ง จากนั้นเมื่อไปถึงจุดรับทิ้งขยะ ให้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ หรือโชว์ QR Code แก่ผู้รับ

ais ewaste plus

ขยะที่ตรวจสอบเส้นทางได้

การใช้เทคโนโลยี Blockchain ช่วยให้ผู้ทิ้งขยะสามารถตรวจสอบข้อมูล และสถานะของขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้จากแอปพลิเคชัน โดยกดเข้าไปที่ “รายการขยะ” โดยในแอปพลิเคชันจะมีรายการแสดงให้เห็นว่า ขยะแต่ละชิ้นอยู่ในสถานะใดแล้ว (มีทั้งหมด 4 สถานะได้แก่

  • – รอนำส่ง
  • – นำส่งแล้ว
  • – รอตรวจสอบ
  • – ตรวจสอบแล้ว

นอกจากนั้น ผู้ใช้งานยังสามารถตรวจสอบได้ว่า มีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้วกี่ชิ้น เป็นขยะประเภทใดบ้าง และมีน้ำหนักรวมเท่าไร โดยจำนวนชิ้นและน้ำหนักของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ 100% จะถูกนำไปคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแสดงผลในรูปแบบของ Carbon Scores ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้นั่นเอง

ผนึกองค์การก๊าซเรือนกระจกฯ และอีก 6 องค์กร เริ่มใช้ E-Waste+

ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม E-Waste+ จะเริ่มใช้งานจริงกับ 6 องค์กรนำร่อง ได้แก่ บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน และยังทำงานร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เข้ามาสนับสนุนแนวทางการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการรีไซเคิล E-Waste อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลด้วย

Pic_E-Waste+ Blockchain 04

(ซ้ายไปขวา) คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS และคุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS

คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล”

“เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น เราจึงขยายผลไปอีกขั้นด้วยการ Redesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไร”

คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริมว่า “แพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะ E-Waste จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส ซึ่งจะสามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้ โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้ Carbon Scores ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย”

Pic01_E-Waste+ Blockchain

สำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ และเข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: aissustainability@ais.co.th หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus


แชร์ :

You may also like