HomeSponsoredเจาะลึก ‘เนสท์เล่’ กับเส้นทางการลงทุนในประเทศไทย สู่บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่คนไทยไว้วางใจเกือบ 130 ปี

เจาะลึก ‘เนสท์เล่’ กับเส้นทางการลงทุนในประเทศไทย สู่บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่คนไทยไว้วางใจเกือบ 130 ปี

แชร์ :

ในระดับโลก Nestlé (เนสท์เล่) เป็นบริษัทผู้นำเสนอสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีแบรนด์มากกว่า 2,000 แบรนด์ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย “เนสท์เล่” ผูกพันกับคนไทยมาราว 130 ปี โดยเข้ามาสู่ดินแดนสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยผลิตภัณฑ์นมข้นหวานตรา ‘แหม่มทูนหัว’ (หรือมิลค์เมด) ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการนำเข้าจากสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งผู้บริโภคไทยในยุคนั้นให้การตอบรับผลิตภัณฑ์จากเนสท์เล่เป็นอย่างดี  จนเป็นที่มาของการก่อตั้งโรงงานแห่งแรกในประเทศไทยด้วยการร่วมทุนในบริษัท ยูไนเต็ด มิลค์ จำกัด เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2510

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทุ่มกว่าหมื่นล้าน ภายใน 5 ปี

หลังจากนั้นเป็นต้นมา “เนสท์เล่” ก็เดินหน้าลงทุนพัฒนาทั้งเรื่องการผลิต การตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย ตลอดจนบุคลากรในประเทศไทยเสมอมา ซึ่งถ้าหากจะอัพเดทในช่วงเวลา 5 ปีล่าสุด จะพบว่า ระหว่างปีพ.ศ. 2560 – 2565 เนสท์เล่ได้ลงทุนกว่า 10,800 ล้านบาทในประเทศไทย รวมถึงเปิดโรงงานใหม่ 3 แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยให้ดียิ่งขึ้น

โดยทั้ง 3 โรงงานที่ “เนสท์เล่” ก่อตั้งขึ้น สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงทางการตลาดและสังคม รวมทั้งวิสัยทัศน์การดำเนินงานของ “เนสท์เล่” ในประเทศไทย ได้เเป็นอย่างดี ทั้ง 3 โรงงานประกอบด้วย

1. โรงงานเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ สุราษฎร์ธานี ที่เปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2560 ด้วยเงินลงทุน 1,800 ล้านบาท เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายน้ำดื่ม เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้า ส่งมอบให้ถึงมือผู้บริโภคในจังหวัดภาคใต้ของไทยมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า เนสท์เล่ มีความมุ่งมั่นที่จะบุกตลาดไปทั่วประเทศ โดยประเมินกันว่า ภาคใต้มีผู้บริโภคถึงกว่า 10 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นตลาดที่เนสท์เล่ต้องการสร้างแบรนด์ให้อยู่ในใจผู้บริโภค

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : พื้นที่สำคัญ! เนสท์เล่ต้องลุย เปิดโรงงานน้ำดื่มรองรับ 14 จังหวัดในภาคใต้

2. โรงงานยูเอชที เนสท์เล่นวนคร 7 ด้วยมูลค่าการลงทุน 1,500 ล้านบาท เพื่อผลิตเครื่องดื่มยูเอชทีภายใต้แบรนด์ไมโล และตราหมี ในปี พ.ศ. 2563 สำหรับโรงงานแห่งนี้ ถือได้ว่าออกแบบและสร้างขึ้นด้วยนวัตกรรมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ เป็นที่ผลิตสินค้า “ไมโล หลอดกระดาษ” การนำหลอดกระดาษแบบโค้งงอได้มาใช้กับผลิตภัณฑ์ไมโลยูเอชที ซึ่งถือว่านวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ก็เกิดขึ้นในโรงงานแห่งนี้นี่เอง

3. ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปในปี 2565 นี้ เนสท์เล่ เพียวริน่า เพ็ทแคร์ด้วยงบลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงชนิดเปียกคุณภาพสูงให้กับตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นที่รู้กันดีว่า เทรนด์ Pet Humanization เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ได้มองว่าตัวเองคือเจ้าของ แต่เป็น “พ่อ-แม่”ของสัตว์เลี้ยงมากกว่า ตลาดมีการเติบโตสูงมาก จนมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยเติบโตทุกปี เฉลี่ยปีละ 10% ปีที่ผ่านมามีมูลค่าอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนอาหารสัตว์ 45% หรือ 18,000 ล้านบาท “เนสท์เล่” ก็ไม่พลาดเกาะติดปรากฏการณ์ดังกล่าวเช่นกัน โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอาหารเปียก ระดับพรีเมี่ยม เพื่อเอาใจเหล่าทาสแมวที่ใส่ใจสุขภาพของเจ้านาย ผ่านแบรนด์ Felix

ยกระดับประสบการณ์ Digital ผ่าน ฝ่าย eBusiness

ไม่ใช่มุมของการผลิตเท่านั้น ที่ผ่านมา “เนสท์เล่” ยังมุ่งมั่นที่จะนำเอาประสบการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้ามาเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคของคนไทย จนนำไปสู่การก่อตั้ง ฝ่าย eBusiness ขึ้นในพ.ศ. 2562 ด้วยงบลงทุนกว่า 335 ล้านบาท เพื่อทรานสฟอร์มประสบการณ์การช็อปปิ้งออนไลน์ให้โดนใจผู้บริโภคมากขึ้น

ภายใต้การทำงานของยูนิตนี้ ได้ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกับเอเจนซี่ผู้สร้างสรรค์ – ซื้อสื่อโฆษณา ตลอดจนเจ้าของแพลตฟอร์ม เพื่อครีเอทคอนเทนต์และกิจกรรมการตลาดออนไลน์ที่ตรงใจผู้บริโภคคนไทย

คุณวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า กล่าวว่า “ในฐานะบริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้ปรัชญาการทำงาน Good food, Good life อาหารที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเนสท์เล่ เรายึดมั่นต่อเจตนารมณ์ในการเปิดพลังแห่งอาหาร เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อทุกคนในวันนี้ และในอนาคต ควบคู่กับแผนการทำงาน การลงทุน การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย และสัตว์เลี้ยง ตลอดจนฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าร่วมกันให้กับทุกภาคส่วน”

นั่นทำให้เนสท์เล่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่การสร้างงานที่มั่นคงให้คนไทย 3,800 คน สร้างสีสันให้กับการตลาดในประเทศไทย พัฒนา Know How ใหม่ ๆ ที่กลายเป็นกรณีศึกษาในแวดวงการตลาดและโฆษณา ไปจนถึงการจ่ายภาษีโดยเฉลี่ยในแต่ละปีกว่า 600 ล้านบาทให้กับรัฐบาลไทย


แชร์ :

You may also like