HomeSponsoredผ่า 3 กลยุทธ์ The Next REAL Change ปั้น ttb สู่การสร้างคุณภาพทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย

ผ่า 3 กลยุทธ์ The Next REAL Change ปั้น ttb สู่การสร้างคุณภาพทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย

แชร์ :

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดสุดยอดแผนขับเคลื่อนธุรกิจปี 2566 สู่ The Next REAL Change ปักหมุด 3 กลยุทธ์สำคัญ ต่อยอดจุดแข็งจากการรวมกิจการ พร้อมเดินเกมรุกหวังขึ้นแท่น Top 3 ดิจิทัล แบงก์กิ้ง ขณะเดียวกันก็สร้าง Ecosystem Play ที่ครบครัน เพื่อตอบโจทย์มนุษย์เงินเดือน คนมีรถ และคนมีบ้าน ซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของธนาคารให้มีคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นแบบรอบด้าน เพื่อเป็นไปตามพันธกิจ The Bank of Financial Well-being ของธนาคาร

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า กว่า 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มรวมกิจการระหว่างทีเอ็มบีและธนชาตเป็น ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ ก็ตั้งเป้าเป็น The Bank of Financial Well-being หรือธนาคารที่มุ่งมั่นช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ธนาคารได้นำเสนอโซลูชันทางการเงินที่เป็นประโยชน์ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริง และ pain point ของลูกค้าได้ตรงจุด กระทั่งสร้างผลลัพธ์ที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง เช่น ช่วยให้คนไทยกว่า 2 ล้านคน รับความคุ้มครองชีวิตและค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุฟรีผ่านบัญชี ttb all free และช่วยลูกค้าที่มีหนี้ทำการรวบหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ซึ่งลูกค้าที่ร่วมโครงการราว 2,000 ราย สามารถประหยัดเงินจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมเป็นเงินกว่า 270 ล้านบาท ตลอดจนช่วยลูกค้าเริ่มลงทุนผ่าน ttb smart port รวม 20,000 ล้านบาท เป็นต้น

3 กลยุทธ์หลัก พิชิต The Next REAL Change

คุณปิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปี 2566 ยังคงเป็นปีแห่งความท้าทายอย่างต่อเนื่อง เพราะ Polycrisis ยังไม่หายไปไหน และคาดว่าจะซ้ำเติมเศรษฐกิจไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดทั้งภาวะเงินเฟ้อ ต้นทุนพลังงาน รวมถึงดอกเบี้ยสูง แต่วิกฤตโควิด-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นอกจากทีเอ็มบีธนชาตจะเยียวยาลูกค้าด้วยมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ แล้ว ยังปรับกระบวนทัพภายใน เสริมความแข็งแกร่งของทีมงาน ตลอดจนพัฒนาโซลูชันทางการเงินต่าง ๆ เพื่อมอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าของธนาคาร ซึ่งความสำเร็จที่ผ่านมายืนยันได้ชัดเจนว่าโซลูชันทางการเงินต่าง ๆ ที่ธนาคารมอบให้มีประสิทธิภาพ จึงเดินหน้าสานต่อพันธกิจนี้ด้วยการสร้าง The Next REAL Change เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในรูปแบบใหม่อีกครั้ง ภายใต้กลยุทธ์หลัก 3 เรื่อง ดังนี้

1. Synergy Realization นำจุดแข็งและความแข็งแกร่งจากการรวมกิจการมาต่อยอดเพื่อพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยหลังรวมกิจการทำให้ทีเอ็มบีธนชาตทะยานขึ้นเป็น  1 ใน 6 ธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศไทย ด้วยฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านราย ขณะที่ผลประกอบการปี 2565 มีกำไรสุทธิ 14,196 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากปีก่อนหน้า และได้รับผลประโยชน์ด้านค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการรับรู้ Cost Synergy ของการรวมกิจการ ทำให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงจาก 48% ในปี 2564 มาอยู่ที่ 45% ทำให้ปัจจุบันทีเอ็มบีธนชาตมีความพร้อมทั้งในแง่ของศักยภาพที่แข็งแกร่งและงบประมาณในการลงทุนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่

ปี 2566 นี้ ทีเอ็มบีธนชาตต่อยอดจุดแข็งของกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน บัญชีเพื่อใช้ เพื่อออม และบัญชีเงินเดือน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าในตลาด ไปสู่สินเชื่อรถแลกเงิน (ttb cash your car) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ttb cash your home) สินเชื่อ ttb payday loan และกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถ ด้วยข้อเสนอที่โดดเด่นซึ่งสามารถช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาสภาพคล่องฝ่ามรสุมเศรษฐกิจที่ผันผวนได้เป็นอย่างดี

2. Digitalization จากการที่ทีเอ็มบีธนชาตตั้งเป้าเป็น Top 3 Digital Banking Platform จึงนำดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าและขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนของธนาคาร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงยกระดับประสบการณ์ทางการเงินและพัฒนาคุณภาพการให้บริการของธนาคารผ่าน ttb touch เวอร์ชันใหม่ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อไตรมาส 2/2565 และได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างล้นหลาม มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 46% และจำนวนรายการธุรกรรมบนแอปฯ เติบโตขึ้น 25% ปัจจุบันแอปฯ มีความเสถียรและสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ ให้กับลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 หรือ Segment-of-One เพราะคำนึงถึงความสำคัญของลูกค้าในฐานะปัจเจกบุคคล มีทีมงานวิเคราะห์และใช้เครื่องมือตรวจจับว่าลูกค้าแต่ละรายมีพฤติกรรมและความต้องการแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเพิ่มดีกรีความ Personalization ให้ลึกและคมกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนและภาระการดำเนินงาน ด้วยการเดินหน้าพัฒนาองค์กรให้เป็น Digital-First Experience ผ่าน ttb touch ซึ่งนับเป็นภารกิจที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว จากการทำธุรกรรมส่วนใหญ่ได้เองทุกที่ ทุกเวลา

“ปัจจุบันสามารถขอ statement เพื่อยื่นวีซ่า และแม้กระทั่งการซื้อกองทุน ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าระดับกลาง ที่ไม่ใช่กลุ่ม wealth ที่มีทีมงานดูแลโดยเฉพาะ ส่วนพนักงานสาขาจะ Upskill / Reskill เพื่อทำหน้าที่เป็น Trusted Advisor ให้คำปรึกษาผลิตภัณฑ์และบริการที่ซับซ้อนแก่ลูกค้าได้ดีขึ้น”

3. Ecosystem Play ทีเอ็มบีธนชาตเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วย New Business Model มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้ามนุษย์เงินเดือน กลุ่มคนมีรถ และกลุ่มคนมีบ้าน ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญและมีฐานลูกค้าเดิมเป็นแต้มต่อ โดยตั้งเป้าเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเรื่องสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างรอบด้าน

ทีเอ็มบีธนชาตเน้นการทำงานภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำภายนอก (Partnership) โดยมี ttb touch เป็นตัวขับเคลื่อนให้ลูกค้าบริหารจัดการชีวิตได้อย่างครบวงจร เช่น คนมีรถจะสามารถบริหารจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับรถได้แค่ปลายนิ้ว ไม่ว่าจะจ่ายหรือเช็กยอดสินเชื่อรถ ต่อประกันภัยรถและพ.ร.บ. เติมเงิน เช็กยอดบัตรทางด่วน Easy Pass ค้นหาโปรโมชันเกี่ยวกับการดูแลรถ สมัครสินเชื่อรถแลกเงิน แม้กระทั่งการขายรถแบบ e-Auction ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมาสามารถทำผ่านฟีเจอร์  ‘My Car’ บนแอป ttb touch ได้แบบ One Stop Service

นอกจากนี้ ยังเสริมความแข็งแกร่งด้านบุคลากรเพื่อให้สามารถทรานฟอร์มองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเพิ่มศักยภาพและจำนวนทีมงานด้าน Tech & Data ให้มากขึ้น โดยจัดตั้งทีมดิจิทัล ttb spark มากกว่า 400 คน เพื่อสร้าง Talent รุ่นใหม่ที่มีความสามารถสอดรับกับโลกธุรกิจผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรมและดิจิทัลโซลูชัน ทำหน้าที่ดูแลทั้งในส่วนของฝั่ง Tech และ Beyond Banking Business พร้อมผลักดันและพัฒนาแอป ttb touch ให้มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ขณะที่ ttb spark academy ทำหน้าที่สร้างสรรค์กิจกรรมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำ และเปิดรับนักศึกษาเข้ามาฝึกงานอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มีนักศึกษาส่งใบสมัครเข้ามากว่า 600 คนต่อปี

สำหรับมุมมองเพิ่มเติมของคุณปิติที่มีต่อภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและบทบาทของทีเอ็มบีธนชาต คือ “ประเทศไทยจะโตลำบากมาก ถ้าประชาชนมีหนี้ครัวเรือนสูง จะเอากำลังที่ไหนไปจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน จะเลี้ยงลูกหลานให้เติบโตแบบมีคุณภาพได้อย่างไร ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ถือเป็นสนิมที่กัดกร่อนประเทศชาติและสร้างความน่าหดหู่ให้กับผู้คน ยิ่งคนที่มีเงินเดือนมั่นคง ยิ่งเป็นดาบสองคม จะถูกหยิบยื่นหนี้ด่วนให้ เพราะถือว่ามีเครดิต ดังนั้นทีเอ็มบีธนชาตจึงต้องการที่จะช่วยแก้ปัญหาที่หยั่งรากลึกนี้  ด้วยการยึดมั่นในการทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและมีโซลูชันทางการเงินที่เชื่อว่าจะสามารถตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับลูกค้าได้จริง”

สุดท้ายคุณปิติยืนยันว่าด้วยศักยภาพของทีเอ็มบีธนชาตที่มีความพร้อมในทุกด้าน ผนวกกับกลยุทธ์สำคัญทั้ง 3 เรื่อง คาดว่าจะทำให้ในปี 2566 นี้ จะยังคงเดินหน้าไปสู่การเป็นธนาคารที่ Make REAL Change เพื่อให้ลูกค้าทุกคนมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันธนาคารก็จะขับเคลื่อนเพื่อเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

#ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต

#เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange


แชร์ :

You may also like