HomeBrand Move !!‘เลือกตั้ง’ ดันโฆษณาหาเสียงสะพัด 100 ล้าน ใช้สื่อโซเชียลเป็นหลัก จับตา 5 อุตสาหกรรมคึกคัก 

‘เลือกตั้ง’ ดันโฆษณาหาเสียงสะพัด 100 ล้าน ใช้สื่อโซเชียลเป็นหลัก จับตา 5 อุตสาหกรรมคึกคัก 

แชร์ :

เริ่มต้นไตรมาสแรก ปี 2566 แม้ยังมีปัจจัยลบต่อเนื่องจากปีก่อน ไม่ว่าจะเป็น GDP โตต่ำกว่าคาด ของแพง ค่าครองชีพพุ่ง หนี้ครัวเรือนสูง ทำให้การจับจ่ายสินค้าต่ำลง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่ก็มีปัจจัยบวกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลงแล้ว  ท่องเที่ยวฟื้นตัวเร็ว ปีนี้คาดว่าต่างชาติเข้าไทยกว่า 30 ล้านคน  ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกลับมาเติบโต

อีกปัจจัยบวกคือ  การเลือกตั้งทั่วไป ในเดือนพฤษภาคมนี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในกิจกรรมการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง การจัดอีเวนต์ทั่วประเทศราว 10,000 ล้านบาท  ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายของผู้บริโภคในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 

เม็ดเงินโฆษณาหาเสียงสะพัด 100 ล้าน

หากย้อนดูงบโฆษณาประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง 3 ครั้งล่าสุด ที่ใช้ผ่านสื่อต่างๆ มีดังนี้

–  เลือกตั้ง ส.ส. ปี 2557 มูลค่ารวม 90 ล้านบาท

–  เลือกตั้ง ส.ส. ปี 2562 มูลค่ารวม 28 ล้านบาท

–  เลือกตั้งผู้ว่า กทม. ปี 2565 มูลค่ารวม 31 ล้านบาท

งบโฆษณาเลือกตั้งที่ใช้ผ่านสื่อ ส่วนใหญ่ เป็นสื่อทีวี หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา วิทยุ และออนไลน์

คุณภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI มีเดีย เอเยนซี่ ให้มุมมองว่าสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2566 คาดว่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประมาณ 100 ล้านบาท

การใช้เม็ดเงินจะมีทั้งสร้างการรับรู้ (Awareness) ผ่านสื่อทีวี หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา ซึ่งเป็นรูปแบบเดิม แต่แค่นั้นไม่พอเพราะกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจเลือกผ่านการทำคอนเทนท์ สื่อโซเชียล ที่เข้าถึงประชากรออนไลน์กว่า 80%  ของประเทศไทย

“สื่อออนไลน์จะเป็นสมรภูมิหลักในการทำคอนเทนท์หาเสียง เพื่อสร้าง Engagement กับกลุ่มแฟนคลับ ให้บอกต่อในสื่อโซเชียล และรายการข่าวทีวี จะได้รับความสนใจติดตามดูมากขึ้น จากการเกาะกระแสข่าวเลือกตั้ง ทำให้ขายเวลาโฆษณาได้เต็ม”

จับตา New Voters 3.9 ล้านคน

การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีจำนวน 52 ล้านคน พบว่ามีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก (New Voters) กลุ่ม Gen Z จำนวน 3.98 ล้านคน  (ปี 2562 มี New Voters จำนวน 7.34 ล้านคน)

หากรวมผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง Gen Z (อายุ 18-24 ปี) 5.6 ล้านคน และ Gen Y (อายุ 25-39 ปี) 14 ล้านคน  รวมมีจำนวน 20 ล้านคน เป็นกลุ่มที่เสพสื่อออนไลน์และสื่อโซเชียลเป็นหลัก ดังนั้นจะเห็นการทำคอนเทนท์ ออนไลน์เพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มนี้จำนวนมากในทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

ส่วนกลุ่ม Gen X  มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 15 ล้านคน และ Baby Boomer จำนวน 17 ล้านคน รวม 32 ล้านคน เป็นกลุ่มที่มี Loyalty กับผู้สมัครและพรรคการเมือง ที่ชื่นชอบอยู่แล้ว กลุ่มนี้จะเน้นสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้เป็นหลัก

5 อุตสาหกรรมคึกคักรับเม็ดเงินโฆษณาปีนี้โต 5%

ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาปี 2566 ผ่านมา 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ยังอยู่ในภาวะติดลบ  แต่ไตรมาส 2 ปีนี้มีปัจจัยบวกทั้งท่องเที่ยวคึกคัก สินค้าซัมเมอร์ การเลือกตั้ง  MI GROUP  จึงประเมินว่าทั้งปีนี้ น่าจะเติบโตได้ 4.7%  มูลค่า 85,790 ล้านบาท

คาดการณ์ 5 อุตสาหกรรมที่เม็ดเงินโฆษณาจะคึกคักในปี 2566

1. หมวดยานยนต์ จักรยานยนต์ โดยเฉพาะ ยานยนต์พาณิชย์ ยานยนต์พลังงานสะอาด (EV, HEV, PHEV) คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 5,800 ล้านบาท

2. หมวดงานอีเวนต์ กิจกรรม คอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,000 ล้านบาท

3. E-Commerce โดยเฉพาะ Marketplac  เดินทาง&ท่องเที่ยว รถยนต์มือสอง ประกัน ดีลและส่วนลดพิเศษ คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,800 ล้านบาท

4. อาหาร เครื่องดื่ม และบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อสุขภาพและความงาม  คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,800 ล้านบาท

5. ผลิตภัณฑ์ในหมวดความสวยและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,300 ล้านบาท

ขณะที่หมวดสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล ที่คึกคักมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้ MI GROUP คาดว่าชะลอตัวลง จากภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยที่พุ่งสูงแตะ 90%  ของ GDP อันเป็นผลมาจากหนี้ส่วนบุคคลที่เต็มวงเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ซึ่งนำไปสู่หนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคล (NPL) ที่สูงขึ้นแตะ 4.4% ในปีที่ผ่านมา

เทรนด์การตลาด KOLs และ KOCs มาแรง

เทรนด์การตลาดที่ยังคงมาแรงในปีนี้  Key Opinion Leaders (KOLs) และ Key Opinion Consumers (KOCs)  หรือคนทั่วไปที่เป็น Nano Influencer ซึ่งเป็นกลุ่มที่ดัน Creator Economy ให้มีบทบาทเพิ่มขึ้นและกลายเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารการตลาดในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น Influencers, YouTuber, Blogger, TikTokers, Publishers

ทั้ง KOLs และ KOCs มีบทบาทสำคัญมากที่ช่วยให้นักการตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างการรับรู้ โน้มน้าวความเชื่อ และชักจูงให้เกิดการซื้อ ในกลุ่มผู้ติดตาม

KOLs และ KOCs แม้จะมีความแตกต่างกันที่จำนวนผู้ติดตาม ความลึกซึ้งของความเชี่ยวชาญหรือความสนใจเฉพาะทาง และระดับพลังในการโน้มน้าวใจ แต่ทั้งคู่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการสร้าง 1. การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายย่อย 2. ความไว้ใจ 3. ความรู้สึกเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วม 4. ความคุ้มทุน 5. ความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ โดยส่งผลดีต่อแบรนด์ทั้งในแง่ยอดขายและความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like