HomeBrand Move !!Grab ประกาศ 2023 “ต้องมีกำไร” ลุยเพิ่มรายได้ไรเดอร์ 15% เปิดตัว EV เจาะธุรกิจองค์กร – ตลาดพรีเมียม

Grab ประกาศ 2023 “ต้องมีกำไร” ลุยเพิ่มรายได้ไรเดอร์ 15% เปิดตัว EV เจาะธุรกิจองค์กร – ตลาดพรีเมียม

แชร์ :

grab

จาก 9 ปีที่ไม่มีกำไร Grab ประเทศไทยประกาศดันปีที่ 10 ของการให้บริการซึ่งก็คือปี 2023 ต้องเป็นปีที่มีกำไรให้ได้ โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นการประกาศร่วมมือกันของ Grab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 8 ประเทศเพื่อให้บริษัทแม่อย่าง Grab Holding ทำกำไรได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับภาพรวมของ Grab ก่อนการเดินหน้าทำกำไรในปีนี้ก็คือ การเป็นแอปพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานใน 8 ประเทศ 32.7 ล้านคน และมาพร้อมผลประกอบการขาดทุนในปีที่ผ่านมา 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้า 51% (YoY)

3 ธุรกิจ Grab หลังช่วง Covid-19

ขณะที่ในภาพรวมธุรกิจของ Grab ประเทศไทยในปี 2022 ที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีอยู่ 3 ธุรกิจเช่นเดิม ประกอบด้วย บริการเรียกรถ, บริการเดลิเวอรี่ และบริการทางการเงิน และด้วยสถานการณ์ Covid-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้บริการต่าง ๆ ของ Grab เริ่มกลับมามีความเคลื่อนไหวดังนี้

  • ยอดการใช้บริการเรียกรถหลังมีการเปิดประเทศในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 152%
  • บริการ GrabFood ในตลาดต่างจังหวัดเติบโตมากกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า (ปี 2021 เทียบกับปี 2022) โดยในต่างจังหวัดเปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 68 จังหวัด
  • ยอดการสั่งซื้อ GrabFood เติบโตขึ้น 18% (ปี 2022 เทียบกับปี 2019)
  • บริการ GrabMart ประเภทการสั่งสินค้าของสดยังคงเติบโต โดยมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของสินค้าทั้งหมด ขณะที่ Basket size เติบโตขึ้น 28%
  • บริการทางการเงินเริ่มขยายออกไปสู่การให้สินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า บริการ PayLater สำหรับผู้ใช้บริการ

เรื่องเล่าเบื้องหลังการเติบโต

ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากการลงพื้นที่เพื่อสร้างผู้ให้บริการเอาไว้รองรับตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่มีการเปิดประเทศ เช่น การไปยังจังหวัดหัวเมืองด้านการท่องเที่ยวอย่าง ชลบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา เพื่อหารถประเภทใหม่ ๆ เอาไว้รองรับนักท่องเที่ยว

เช่นเดียวกับการส่งทีมด้านอาหารลงพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อรวบรวมและแนะนำร้านอร่อยประจำจังหวัด การมอบรางวัล GrabThumbsUp ให้กับร้านอาหารที่มีคุณภาพ รวมถึงมีการเปิดตัว GrabUnlimited Subscription ซึ่งเป็นบริการรายเดือนที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก แต่จะได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในการสั่งอาหาร – เรียกรถ เพื่อดึงผู้ใช้บริการให้เข้ามาใช้งานแอปพลิเคชันเป็นประจำ

ส่วนบริการทางการเงินนั้น อาจไม่ได้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้มากนัก แต่เป็นฟันเฟืองให้ Ecosystem ของ Grab เดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งการมีธุรกิจนี้ร่วมด้วย เนื่องจาก Grab พบว่า คนใน Ecosystem ของ Grab หลายคนเป็นกลุ่มรากหญ้าที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน – สินเชื่อต่าง ๆ ในส่วนนี้ Grab จึงมีการเปิดตัวสินเชื่อที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น สินเชื่อผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า – สมาร์ทโฟน 0% สินเชื่อเงินสด ฯลฯ โดยผ่อนจ่ายเป็นรายวันกับกลุ่มเป้าหมาย และบริการล่าสุดก็คือสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ และสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดใหญ่โดยให้วงเงินสูงสุด 500,000 บาทนั่นเอง

คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย จำกัด

Grab ประเทศไทย เปิดกลยุทธ์ 2023

สำหรับกลยุทธ์ในปี 2023 ของ Grab ประเทศไทย ตามการเปิดเผยของคุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า จะเน้นขยายธุรกิจเพิ่ม 3 ด้าน ได้แก่ การเจาะ Premium Segment มากขึ้นในบริการเรียกรถ การส่งบริการ Grab for Business สำหรับลูกค้าองค์กร และการใช้ GrabAds เพิ่มรายได้ รวมถึงการตั้งเป้าให้ไรเดอร์มีรายได้ต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น 15% ด้วย

นักท่องเที่ยวชอบรถพรีเมียม

สาเหตุที่ Grab เดินหน้าเจาะตลาดพรีเมียมในบริการเรียกรถมาจากอินไซต์ที่ว่า ผู้บริโภคกลุ่มนักท่องเที่ยวนิยมเรียกรถ SUV จากแอปพลิเคชัน เนื่องจากเป็นรถขนาดใหญ่ ใส่กระเป๋าเดินทางได้สะดวก และในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อัตราการเรียกรถ SUV จากแอปมียอดเติบโตสูงสุด

นอกจากนี้ การเจาะตลาดพรีเมียมยังทำให้บริษัทสามารถจับมือกับธุรกิจโรงแรม หรือผู้ให้บริการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ได้ เช่น ห้างสรรพสินค้าบางแห่งที่มีการจัดพื้นที่เรียกรถ Grab โดยเฉพาะเป็นต้น ขณะที่ลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการเป็นหลัก พบว่า คือกลุ่มนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย เกาหลีใต้ และจีน

เปิดตัว Grab for Business

ส่วนในปีนี้ สิ่งที่จะเพิ่มเติมเข้ามาในธุรกิจของ Grab ประเทศไทยก็คือ Grab for Businesss โดยมาในรูปแบบโซลูชันสำหรับลูกค้าองค์กร เช่น การใช้รถจาก Grab ในการเดินทางของพนักงาน การแจกโค้ดสั่งอาหารให้พนักงานแทนการจัดเมนูอาหารกลางวันของบริษัท ซึ่งคุณวรฉัตรเผยว่า หลังจากเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกค้าใช้งานแล้วนับพันราย และเป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้ตั้งแต่ Day 1

อีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ที่จะเพิ่มเข้ามาคือ GrabAds โดยเป็นสื่อโฆษณาบนแอปพลิเคชันของ Grab ที่ปัจจุบันพบว่า พัฒนาไปจนถึงระดับที่สามารถแจกตัวอย่างสินค้าให้ทดลองได้ผ่านแอปพลิเคชันแล้ว พร้อมยกตัวอย่างเครื่องดื่มยี่ห้อ Ocha San ที่สามารถแจกสินค้าตัวอย่างผ่านแอปพลิเคชันไปได้มากถึง 45,000 ชิ้นด้วย

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์_05

คณวรฉัตร และรถมอเตอร์ไซค์ EV ที่จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้

เปิดแผนเพิ่มรายได้ไรเดอร์ 15%

ขณะที่ในส่วนของการเพิ่มรายได้ต่อชั่วโมงให้กับไรเดอร์ 15% นั้น คุณวรฉัตรเผยว่าจะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพจากการทำงานเบื้องหลังเป็นหลัก เช่น การพัฒนากระบวนการหลังบ้านเพื่อให้ไรเดอร์ใช้เวลารออาหารลดลง (ตั้งเป้าไว้ที่ 30%) หรือการทำให้การรับอาหารของไรเดอร์ถูกต้อง แม่นยำ เช่น การปรินท์ใบเสร็จแปะถุงอาหารที่มีเลขชัดเจน เพื่อช่วยให้ไรเดอร์ไม่ต้องหยิบผิด เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ทางผู้บริหาร Grab ไม่ได้เปิดเผยว่า รายได้ต่อชั่วโมงของไรเดอร์ Grab ในประเทศไทยอยู่ที่เท่าไร เนื่องจากตัวเลขของแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน แต่หากรายได้ต่อชั่วโมงของไรเดอร์เพิ่มขึ้นก็ย่อมหมายถึง จำนวนการทำธุรกรรมของระบบมีเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง

ทั้งนี้ Grab จะมีการเปิดตัวธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้ โดยมีทั้งรถยนต์ไฟฟ้า และรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่พัฒนาร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งในส่วนของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้มีการออกแบบให้ตัวรถเหมาะกับธุรกิจ Delivery ด้วย


แชร์ :

You may also like