HomeBrand Move !!ปิดฉากธุรกิจ “ติวเตอร์ออนไลน์”? เมื่อเด็กรุ่นใหม่ถามอะไรก็ได้จาก “ChatGPT”

ปิดฉากธุรกิจ “ติวเตอร์ออนไลน์”? เมื่อเด็กรุ่นใหม่ถามอะไรก็ได้จาก “ChatGPT”

แชร์ :

tutoring online

การเกิดขึ้นของ Generative AI อย่าง ChatGPT นอกจากจะทำให้การจ้างงานเปลี่ยนไปแล้ว ปัจจุบันก็เริ่มมีหลายธุรกิจได้รับผลกระทบมากขึ้นด้วย โดยหนึ่งในนั้นคือธุรกิจติวเตอร์ออนไลน์ เมื่อมีแอปพลิเคชันหนึ่งชื่อว่า Chegg ยอมรับว่า ChatGPT กำลังทำลายธุรกิจของพวกเขา และการออกมายอมรับอย่างตรงไปตรงมาครั้งนี้ทำให้หุ้นของบริษัทร่วงไปกว่า 40% เลยทีเดียว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Dan Rosenweig ซีอีโอของ Chegg เผยว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา เขาพบว่ามีเด็กนักเรียนให้ความสนใจใน ChatGPT มากขึ้น และกระทบต่อยอดการสมัครเรียนในแพลตฟอร์มของ Chegg ซึ่งเคยให้บริการติวเตอร์ – สอนการบ้านออนไลน์ โดยบริษัทคาดว่ารายได้ในไตรมาสปัจจุบันจะลดลงจากที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้ที่ 193.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 175 – 178 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น

นอกจากนี้ ทางแพลตฟอร์มยังบอกด้วยว่า ยอด Subscription ของไตรมาส 2 ก็อาจลดลงจากที่เคยตั้งเป้าไว้ด้วย ซึ่งการออกมายอมรับดังกล่าวทำให้หุ้นของ Chegg ลดลงถึง 48.41% โดยเหลือแค่ 9.08 เหรียญสหรัฐฯ (ตัวเลขเมื่อวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม 2023) เท่านั้น

พัฒนา CheggMate เอไอสอนการบ้าน

เพื่อเป็นการแก้เกมความนิยมใน AI และเพื่อตอบรับความต้องการของผู้ใช้งาน Chegg ก็ได้พัฒนา AI ของตนเองขึ้นมาเช่นกันในชื่อ CheggMate (ใช้ GPT-4 ในการพัฒนา) โดยเป็นการร่วมมือกับ OpenAI ผู้พัฒนา ChatGPT (ปัจจุบันยังเป็น Waitlist) และคาดว่าจะเปิดตัวในเดือนพฤษภาคมนี้

ส่วนในแพลตฟอร์มพบว่า ทาง Chegg ตั้งราคาเริ่มต้นในการสอนการบ้านไว้ที่ 14.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 508 บาท) และผู้เรียนมีสิทธิพิเศษเพิ่ม นั่นคือ สามารถเช่า หรือซื้อหนังสือเรียนจาก Chegg ในราคาที่ถูกกว่าซื้อจากร้านภายนอกด้วย

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจการเรียนออนไลน์เคยเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เฟื่องฟูในยุค Covid-19 ที่ประเทศต่าง ๆ มีการล็อกดาวน์และปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นการเรียนแบบระยะไกล โดยในช่วงเวลานั้น จีนและสหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่มีสตาร์ทอัพด้านการศึกษา หรือ EdTech เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด

ตัวเลขจาก Caixin Global Intelligence ระบุว่า มูลค่าตลาดการเรียนออนไลน์ของจีนในปี 2020 แตะ 61,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยวิธีที่สตาร์ทอัพเหล่านี้ใช้ดึงดูดเด็ก ๆ ชาวจีนเข้าแพลตฟอร์มก็คือการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ช่วยตรวจการบ้านให้  และหนึ่งในแอปพลิเคชัน EdTech ที่มีการเติบโตอย่างน่าสนใจมีชื่อว่า Zuoyebang โดยในปีดังกล่าวมีผู้ใช้งานมากถึง 170 ล้านคน เพิ่มจากปี 2019 ที่มีผู้ใช้งาน 50 ล้านคนเท่านั้น

อย่างไรก็ดี บรรดาคุณครูในจีนได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อ EdTech ในรูปแบบดังกล่าวไม่น้อย โดยคุณครูบอกว่ามีเด็กใช้งานแอปในทางที่ผิดอยู่มาก กับการลอกคำตอบมาส่งโดยไม่ยอมทำความเข้าใจเนื้อหานั่นเอง ซึ่งปัจจุบัน ภาพดังกล่าวก็กำลังเกิดซ้ำกับ ChatGPT เช่นกัน

Source


แชร์ :

You may also like