HomeBrand Move !!CPALL ไตรมาสแรก รายได้ 2.2 แสนล้าน โกยกำไร 4,123 ล้าน ปีนี้เปิด 7-Eleven สาขาแรกในลาว

CPALL ไตรมาสแรก รายได้ 2.2 แสนล้าน โกยกำไร 4,123 ล้าน ปีนี้เปิด 7-Eleven สาขาแรกในลาว

แชร์ :

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

 บมจ. ซีพี ออลล์ (CPALL) รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2566 มีรายได้รวม 222,372 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.2% เทียบไตรมาสเดียวกันปี 2565 มาจากการเพิ่มของรายได้ขายและบริการธุรกิจร้านสะดวกซื้อ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

รวมถึงธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค “แม็คโครและโลตัส” รายได้เติบโต ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภคภายในประเทศ และการท่องเที่ยว นอกจากนี้กลยุทธ์ O2O ของแต่ละหน่วยธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง

ไตรมาสแรกปีนี้ ซีพี ออลล์ มีกำไรสุทธิ 4,123 ล้านบาท 

สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ไตรมาส 1 ปี 2566 เปิดร้านสาขาใหม่รวม 209 สาขา ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2566 มีร้านทั่วประเทศรวม 14,047 สาขา แบ่งเป็น

1. ร้านสาขาบริษัท 7,019 สาขา (ประมาณ 50%) ร้านเปิดใหม่ 180 สาขา ในไตรมาสแรก

2. ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 7,028 สาขา (ประมาณ 50%) ร้านเปิดใหม่ 29 สาขา ในไตรมาสแรก

ร้านสาขาส่วนใหญ่ยังเป็นร้านสแตนด์อโลน ประมาณ 86% ของสาขาทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.

ในไตรมาส 1 ปี 2566 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวม 94,634 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.8% มีกำไรสุทธิเท่ากับ 2,758 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

โดยมียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 78,735 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมเพิ่มขึ้น 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดซื้อต่อบิล 84 บาท จำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 941 คน

ร้าน 7-Eleven ใช้กลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ด้วยการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ พร้อมกับโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า รวมทั้งการทำตลาด O2O อาทิ 7-Eleven Delivery, All Online และ 24Shopping  ปัจจุบันมียอดขายจากช่องทางออนไลน์  10%

ในไตรมาส 1 ปี 2566 สัดส่วนของรายได้จากการขาย 74.5% มาจากสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และ 25.5%  มาจากสินค้าอุปโภค ซึ่งสัดส่วนรายได้ในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค รวมทั้งมีการออกสินค้าใหม่ควบคู่กับโปรโมชั่นของกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าได้เพิ่มขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นร้านอิ่มสะดวกเต็มรูปแบบสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม

ในปี 2566 ซีพี ออลล์ วางแผนลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven สาขาใหม่ในประเทศไทยอีก 700 สาขา 

หลังจาก ปี 2563  “ซีพี ออลล์” ได้เซ็นสัญญาเป็น Master Franchise ในการลงทุนจัดตั้งและดำเนินการร้าน 7-Eleven ในกัมพูชาและลาว เป็นระยะเวลา 30 ปี จากนั้นในปี 2564 ได้เริ่มเปิดสาขา 7-Eleven ในกัมพูชา  ปีนี้มีเป้าหมายที่จะเปิดร้านสาขาในประเทศกัมพูชาให้ครบ 100 สาขา รวมถึงเปิดสาขาแรกใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ปีนี้ ซีพี ออลล์ วางงบลงทุนร้าน 7-Eleven ไว้ที่ 12,000 – 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็น การเปิดร้านสาขาใหม่ 3,800 – 4,000 ล้านบาท, การปรับปรุงร้านเดิม 2,900 – 3,500 ล้านบาท, โครงการใหม่, บริษัทย่อยและศูนย์กระจายสินค้า 4,000 – 4,100  ล้านบาท และสินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300 – 1,400 ล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like