ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้เล่นเบอร์ใหญ่ในตลาดลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นมานานสำหรับธนาคารกรุงศรีฯ และในวันที่นักลงทุนต้องการขยายกิจการไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน การหาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์อาจเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของธนาคาร ล่าสุดจึงมีการเปิดตัวอีกหนึ่งบริการใหม่ในชื่อ Asean Link เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับลูกค้าทั้งไทย – ญี่ปุ่น และต่างชาติที่ต้องการขยายธุรกิจสู่ 9 ประเทศอาเซียนแล้ว
การประกาศดังกล่าวได้รับการเปิดเผยโดยแม่ทัพคนใหม่ในกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) ของกรุงศรี อย่าง “คุณบุนเซอิ โอคุโบะ” ที่เผยว่าปัจจุบันทางกลุ่มฯ ไม่เพียงดูแลลูกค้าญี่ปุ่น 75% จากทั้งหมดที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ยังช่วยสนับสนุนกลุ่มลูกค้าทั้งไทย – ญี่ปุ่น ในการออกไปลงทุนต่างประเทศผ่านบริการใหม่ในชื่อ Asean Link ด้วย
คุณโอคุโบะกล่าวต่อไปด้วยว่า บริการดังกล่าวเป็นการช่วยกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่น และบรรษัทข้ามชาติในการขยายธุรกิจแบบ Tailor-Made ตั้งแต่การให้คำปรึกษา วิเคราะห์ การให้ข้อมูลด้านการตลาด – แนวโน้มด้านเศรษฐกิจเพื่อการควบรวมกิจการ การพัฒนาและจัดตั้งสำนักงานธุรกิจในระดับภูมิภาค การให้บริการปรึกษาทางกฎหมายและภาษีอากร การจับคู่ธุรกิจ โดยที่ผ่านมา มีการช่วยบริษัทลงทุนในอาเซียนแล้ว เช่น
- การช่วยตั้งโรงงานผลิตเลนส์ในประเทศลาว
- การให้คำปรึกษาด้านข้อมู
ลตลาดและข้อบังคั บทางกฎหมายในการตั้งสำนั กงานของบริษัทวัสดุก่อสร้ างในประเทศเวียดนาม - การช่วยสำรวจและแนะนำพื้นที่
ในการตั้งโรงงานแปรรู ปอาหารในประเทศเวียดนาม - การให้คำปรึกษาในการตั้
งสำนักงานใหญ่ในประเทศไทยของบริ ษัทด้านยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ พื้นที่ที่ Asean Link ให้บริการมีทั้งสิ้น 9 ประเทศ (ในอาเซียน) และสามารถต่อยอดได้ในอีก 50 ประเทศภายใต้เครือข่าย MUFG ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธนาคารด้วย
ญี่ปุ่นลงทุนอย่างไรในอาเซียน
เมื่อถามถึงแนวโน้มการลงทุนของภาคธุรกิจญี่ปุ่น ว่ามีความสนใจในอุตสาหกรรมใด หรือประเทศใดเป็นพิเศษ คุณโอคุโบะได้เผยว่า หากเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ บริษัทญี่ปุ่นจะนิยมไปลงทุนในอินโดนีเซีย หรือถ้าเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรก็จะเน้นไปที่ประเทศเวียดนาม เป็นต้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น คุณโอคุโบะให้ความเห็นว่า นักลงทุนจากญี่ปุ่นมีความกังวล 2 ประการ นั่นคือการขึ้นค่าแรง และปัญหาขาดแคลนแรงงานเนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ประเทศไทยก็มีความแข็งแกร่งด้านทำเลที่ตั้ง ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทำให้ไม่สามารถมองข้ามได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ผู้บริหาร JPC/MNC Banking ได้กล่าวถึงจำนวนบริษัทญี่ปุ่นที่ให้การดูแลอยู่ในปัจจุบันว่า มีประมาณ 3,400 แห่ง จากทั้งหมดที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยทั้งสิ้น 4,500 ราย โดยรายได้จะมาจากค่าธรรมเนียมในการให้บริการ – ให้คำปรึกษา และบริการ Asean Link จะเริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งปีหลังของ 2023