HomeBrand Move !!สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย “ไม่เห็นด้วย” พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ คุมเข้มน้ำเมา จี้รัฐฟังเสียงประชนชน หวั่นกระทบเศรษฐกิจฟื้น

สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย “ไม่เห็นด้วย” พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ คุมเข้มน้ำเมา จี้รัฐฟังเสียงประชนชน หวั่นกระทบเศรษฐกิจฟื้น

แชร์ :

กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่กำลังถูกพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์เป็นในวงกว้างในสังคม สำหรับการเสนอ “ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่” โดยภาครัฐมีการเพิ่มมาตรการใหม่ใน 3 ประเด็น “การกำหนดเวลา-เพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่-โทษปรับโดยไม่มีเหตุอันควร” ไม่สอดคล้องกับบริบทสังคม หวั่นกระทบเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวฟื้นตัวช้า 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ล่าสุด สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) ออกมาตอกย้ำจุดยืนว่า มาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำเป็นจะต้องปรับให้เข้ากับบริบทของสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยการเสนอร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่โดยภาครัฐ นอกจากจะเพิ่มความเข้มงวดให้สุดโต่งมากขึ้นแล้ว ยังไม่สมเหตุสมผลและขัดกับบริบทสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน

คุณเขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) กล่าวว่า “ประชาชน สื่อมวลชน และภาคส่วนต่างๆ กำลังให้ความสนใจประเด็นการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก มีการตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของมาตรการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เวลาห้ามขาย การกำหนดโซนนิ่ง และการห้ามขายออนไลน์ แต่ในเวลาเดียวกัน ภาครัฐกลับเสนอร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ ซึ่งนอกจากจะเพิกเฉยต่อประเด็นที่สังคมตั้งข้อสงสัยและวิพากย์วิจารณ์แล้ว ยังเพิ่มมาตรการควบคุมที่เข้มงวดเกินควรขึ้นอีก

 

คุณเขมิกา รัตนกุล

คุณเขมิกา รัตนกุล นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA)

 

สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย ขอแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เนื่องจากมีความสุดโต่ง สร้างผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งรวมถึง ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านค้า โรงแรมที่พัก สถานบันเทิง ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนการฟื้นฟูและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีสัดส่วนกว่า 20% ของจีดีพี”

“จึงเรียกร้องให้ภาครัฐรับฟังและพิจารณาความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน พิจารณาบริบทของการดำเนินนโยบายอย่างสมดุลและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นปัจจุบัน คำนึงถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะสูญเสียไป หากร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวถูกนำมาบังคับใช้ กฎระเบียบนโยบายควรเป็นเครื่องมือสนับสนุนความสามารถในการประกอบการและอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและบริการ”

ถกเพิ่ม 3 ประเด็นใหม่ “กำหนดเวลา-เพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่-โทษปรับ” ไม่สอดคล้องบริบทสังคม

สำหรับร่าง “พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่” ที่เสนอโดยภาครัฐ ซึ่งนอกจากจะคงมาตราที่สังคมมีการถกเถียงไว้ดังเดิม ไม่ว่าจะเป็น กำหนดเวลาห้ามขาย 14.00 – 17.00 น. ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โซนนิ่ง ห้ามขายออนไลน์  ยังมีการเพิ่มประเด็นที่น่าจับตามองอีก 3 ประการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับบริษัทการดำเนินธุรกิจ และดังนี้

  • เสนอให้กำหนดเวลาห้ามบริโภคตามสถานที่ต่าง : อันเป็นการลิดรอนและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ผู้บริโภค ที่มีตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งรวมถึงธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ ยังไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคโดยเฉพาะนักท่องเที่ยว

 

  • เสนอให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบหรือควบคุม หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าน่าจะมีการฝ่าฝืนกฎหมาย ทั้งนี้ โดยไม่ต้องมีการแสดงหมายค้นใดๆ ถือเป็นการให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากจนเกินสมควรในการเข้าไปในสถานที่ตามที่ระบุไว้ในร่าง พ.ร.บ. โดยอ้างเหตุเพียง “น่าจะมีการกระทำความผิด” ซึ่งอาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ประพฤติทุจริตคอรัปชั่น

 

  • เสนอกำหนดโทษปรับเป็นพินัยไม่เกินห้าแสนบาทสำหรับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ที่มีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา โดยไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากจนเกินไป โดยสังเกตว่าค่าปรับสูงมากและไม่ได้สัดส่วนกับข้อกล่าวหาการกระทำผิด

ด้านประเด็นสุราก้าวหน้า ทางสมาคมฯ มองว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่สุราพื้นบ้าน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท้องถิ่นของไทยจะได้รับการสนับสนุนและเติบโตเช่นเดียวกับในต่างประเทศ เนื่องจากเป็นมรดกและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมภาครัฐควรที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านดังกล่าวเพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่น ให้การแข่งขันบนเวทีโลกของสุราไทยและสุราพื้นบ้านให้มากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา สมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย หรือ TABBA จึงไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ที่ลิดรอนสิทธิและละเมิดเสรีภาพของประชาชนและผู้บริโภค โดยเชื่อว่า ผู้บริโภครวมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างมีวิจารณญาณในการเลือกที่จะดื่มหรือไม่ดื่ม รัฐไม่มีสิทธิบังคับหรือห้ามประชาชน นอกจากนี้ ร่างกฎหมายนี้ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ ให้อำนาจและเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่จนเกินขอบเขตผ่านการใช้ดุลยพินิจส่วนตัวที่ไม่อาจยึดโยงชัดเจนได้ว่าสิ่งใดผิดหรือไม่ผิด ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น หรือเรียกรับผลประโยชน์ได้ โดยเสนอแนะว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มอย่างเป็นอันตราย ควรมุ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูลและความรู้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมการดื่มอย่างรับผิดชอบเช่นเดียวกับต่างประเทศ


แชร์ :

You may also like