บมจ. เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป หรือ JKN ชี้แจงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มเติม กรณียื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 และศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566
แจงปัญหาผิดนัดจ่ายหนี้หุ้นกู้
– การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของ JKN มาจากเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 JKN ได้ออกหุ้นกู้ซึ่งยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน 7 ชุด รวมมูลค่า 3,360 ล้านบาท
– ต่อมา JKN จัดการสภาพคล่องไม่เป็นไปตามแผน ทำให้ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้รุ่น JKN239A การผ่อนผันการชำระ รวมถึงการเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการชำระหุ้นกู้ดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 จึงเป็นเหตุให้ผิดสัญญาหุ้นกู้รุ่นอื่นๆ ทั้ง 6 รุ่น และถือเป็นเหตุให้เกิดการผิดสัญญาหุ้นกู้แปลงสภาพและหนี้เงินกู้จากสถาบันการเงินด้วย
แนวทางแก้ไขหนี้หุ้นกู้
– JKN ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาการเงินภายนอกมาช่วยทำแผนและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยวันที่ 15 กันยายน 2566 ได้แต่งตั้ง บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจ จํากัด (KPMG) ให้เป็นที่ปรึกษาการเงิน
– KPMG ได้เสนอตัวเลือกการชําระคืนหุ้นกู้ แก่ตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งรวมไปถึงการนําเสนอตัวเลือกที่มีระยะเวลาการจ่ายชําระหนี้ที่อาจใช้เวลาถึง 8 ปี ขึ้นอยู่กับความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนใหม่
– JKN ได้พยายามหาเงินมาชําระหุ้นกู้ ตั้งแต่ปลายเดือน กันยายน 2566 และเจรจากับนักลงทุน 3 กลุ่มเพื่อเพิ่มทุน รวมถึงการขายสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน และหาแนวทางการทําธุรกิจต่าง ๆ ในเดือน ตุลาคม 2566 ได้เจรจากับนักลงทุนต่าง ๆ ตลอดทั้งเดือนแต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่จะหาเงินทุนมาชําระหุ้นกู้ได้ จึงจําเป็นต้องยุติการเจรจาในวันที่ 30 ตุลาคม 2566
– JKN ขาดสภาพคล่องที่จะชําระหนี้ จึงยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการ แม้ในงบการเงินจะมีทรัพย์สินพอควร แต่ทรัพย์สิน 67% ของทั้งหมดเป็นทรัพย์สินไม่มีตัวตน ซึ่งไม่สามารถแปลงมาเป็นเงินสดเพื่อชําระหนี้ได้ทันเวลาและในการเจรจากับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และผู้จัดจําหน่ายหุ้นกู้ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ผู้ถือหุ้นกู้มีแนวโน้มที่จะไม่ยินยอมการชําระคืนหนี้ยาวนานถึง 8 ปี และหากต้องการรับเงินคืนภายใน 3 ปี JKN ก็ไม่สามารถดําเนินการตามแผนดังกล่าวได้ จึงตัดสินใจยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางตามแผนที่ได้รับจากที่ปรึกษาการเงิน (โดยไม่ได้แจ้งที่ปรึกษาการเงินก่อนที่จะยื่นคําร้องฯ) ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566
– โดยศาลล้มละลายกลางรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของ JKN วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 และเข้าสู่สภาวะการพักชําระหนี้ทั้งหมดของ JKN (Automatic Stay) ไปจนกว่าศาลล้มละลายกลางจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดและเป็นวิธีการแก้ปัญหาเพียงช่องทางเดียวที่ JKN มีในเวลานั้น
ไทม์ไลน์แผนฟื้นฟู
1. วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 : ยื่นคําร้องขอเข้าแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาล
2. วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 : ศาลมีคําสั่งรับคําร้อง และเข้าสู่สภาวะ Automatic Stay จนกว่าศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
3. เดือนพฤศจิกายน 2566 : ศาลจัดส่งคําร้องขอฟื้นฟูกิจการให้เจ้าหนี้
4. วันที่ 29 มกราคม 2567 : ศาลนัดไต่สวนคําร้องการเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ
5. เดือนเมษายน 2567 : ศาลพิจารณามีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทําแผน
6. เดือนพฤษภาคม 2567 : ประกาศคําสั่งศาลและแต่งตั้งผู้ทําแผนในหนังสือพิมพ์และราชกิจจานุเบกษา
7. เดือนมิถุนายน 2567 : เจ้าหนี้ดําเนินการยื่นคําร้องขอรับชําระหนี้
8. เดือนกันยายน 2567 : ผู้ทําแผนจัดทําแผนฟื้นฟูภายใน 3 เดือนนับจากวันโฆษณาคําสั่งตั้งผู้ทําแผน
9. เดือนตุลาคม 2567 : เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นําส่งแผนฟื้นฟูกิจการให้เจ้าหนี้
10. เดือนพฤศจิกายน 2567 : เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพยัจัดประชุมเจ้าหนี้ลงมติรับแผนฟื้นฟูกิจการ
11. เดือนธันวาคม 2567 : ศาลล้มละลายกลางพิจารณาคําสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ
12. เดือนมกราคม 2568 : ผู้บริหารแผนเริ่มดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ
– ขั้นตอนตามแผนฟื้นฟูกิจการนี้ ภายใต้สมมติฐานที่ดีที่สุดและภายใต้กรณีที่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงในภายหลังขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ปัญหาและอุปสรรคที่อาจทําให้ไม่สามารถดําเนินการตามแผนได้
1. ความร่วมมือจากเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการชําระหนี้ร่วมกัน
2. ความสามารถในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนธุรกิจ จากธุรกิจ Content ไปเป็นธุรกิจใหม่ที่บริษัทได้เตรียมไว้
3. การหาพันธมิตร นักลงทุน ตลอดจนการจัดหาแหล่งเงินทุน
4. สภาพเศรษฐกิจโดยเฉพาะภายในประเทศ
ผลที่อาจเกิดขึ้นหาก JKN ไม่ได้รับการอนุมัติให้เข้าแผนฟื้นฟูกิจการ
1. ด้วยปริมาณหุ้นกู้ทั้งหมด หากเจ้าหนี้ทุกรายเรียกร้อง JKN ให้ชําระหนี้คืน บริษัทจะไม่มีเงินสดเพียงพอในการดําเนินธุรกิจอย่างแน่นอน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคู่ค้า และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. JKN อาจจะต้องปิดกิจการหรือถูกฟ้องร้องจนไม่สามารถดําเนินธุรกิจได้ต่อไป และล้มละลาย อันจะทําให้ทุกฝ่ายเสียหายอย่างมาก
3. หุ้นของ JKN ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่มีมูลค่า ทําให้นักลงทุนและผู้ถือหุ้นได้รับผลกระทบรวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
4. หาก JNK ต้องปิดดําเนินกิจการหรือไม่สามารถดําเนินการต่อได้ จะส่งผลกระทบต่อพนักงานของบริษัททุกคน
คุณจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ JKN ยืนยันว่ามีเจตนาที่ดีในการชําระหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ทุกฝ่าย โดยการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ JKN จะช่วยให้บริษัทแก้ไขปัญหาสภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกฎหมายรองรับและให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม อีกทั้งบริษัทยังสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ในระหว่างที่อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ เพื่อการแก้ไขปัญหา และเพื่อสร้างผลกําไรจากการดําเนินกิจการต่อไปในอนาคต