HomeInsightปัญหาเงินเฟ้อ เกิดกระแส Shrinkflation เทคนิคขึ้นราคาสินค้า ที่ผู้บริโภค ‘ไม่ยอมรับ’

ปัญหาเงินเฟ้อ เกิดกระแส Shrinkflation เทคนิคขึ้นราคาสินค้า ที่ผู้บริโภค ‘ไม่ยอมรับ’

แชร์ :

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและไทยปัจจุบัน พบว่าปัญหา “เงินเฟ้อ” ยังครองอันดับหนึ่งความกังวลคนทั่วโลกรวมทั้งไทย ส่งผลให้เกิดภาวะ Shrinkflation ซึ่งเป็นเทคนิคของกลุ่มธุรกิจในการอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยวิธี “ลดขนาดสินค้าแต่ราคาคงเดิม” แต่ผู้บริโภคไม่ยอมรับกับสิ่งนี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อิปซอสส์ (Ipsos) ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ผู้ให้บริการงานวิจัยครบวงจร ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคต่อเนื่องใน 29 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จำนวน 6,000 ตัวอย่าง อายุ 18 ปีขึ้นไป

คุณอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ อิปซอสส์ ได้สรุปรายงานการวิจัยเรื่อง What worries Thailand ช่วงครึ่งปีหลัง 2566 และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2567 ดังนี้

ผลสำรวจเกี่ยวกับความกังวลของชาวโลกและคนไทย ช่วงครึ่งปีหลัง 2566 พบว่าภาวะเงินเฟ้อ ยังคงเป็นความกังวลสูงสุดของประชากรโลกและต่อเนื่องมายาวนานถึง 20 เดือน เป็นประเด็นกังวลที่คงอยู่ยาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ในการสำรวจตั้งแต่ “อิปซอสส์” เคยทำการศึกษามา

คนไทยมีความหวังกับเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า

มุมมองด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่กระทบสูงสุด คือ ภาวะเงินเฟ้อ ผู้คนต้องดิ้นรนต่อสู้กับภาวะวิกฤติค่าครองชีพ แต่คนไทยยังพอมีความหวังกับเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากเดือนเมษายน 2566 (การสำรวจครั้งก่อน) โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความเห็นว่าเศรษฐกิจกำลังถดถอยในอัตรา 72% ลดลงเป็น 61% ในปัจจุบัน

คนไทย 50% เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศปัจจุบันเข้าขั้น “แย่” ลดลงจาก 57% ในเดือนเมษายน 2566

แม้ว่า 61% ของคนไทยบอกว่ามีคนในครอบครัว หรือ คนที่พวกเขารู้จักเป็นการส่วนตัว “ตกงาน” เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แต่ 50% คาดว่าสถานะการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า

Shrinkflation เทคนิคการตลาดที่หลอกลวง

ด้านมุมมองการใช้จ่ายและค่าครองชีพ คนไทย 50% มองว่า “ราคา” สินค้าและบริการในปี 2567 จะสูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน ทำให้ Shrinkflation กลายเป็นกระแส “เทคนิคการตลาดที่หลอกลวง”

“Shrinkflation” มาจากคำว่า “Shrink” หมายถึงการหดตัว และ “Inflation” ที่หมายถึง “เงินเฟ้อ” สื่อความหมายถึง “การลดปริมาณสินค้าแต่ยังคงราคาเดิม” เป็นเทคนิคการขึ้นราคารูปแบบหนึ่ง เพื่อบริหารต้นทุนสูงจากภาวะเงินเฟ้อ และไม่ให้กระทบกับการจับจ่ายของผู้บริโภค

สถานการณ์ Shrinkflation ภาวะจ่ายมากขึ้นแต่ได้ของน้อยลง กลายเป็นประเด็นใหญ่ในกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะวิกฤติค่าครองชีพ ธุรกิจมักใช้เทคนิค “ปรับลดขนาดสินค้า ลดปริมาณ ปรับส่วนผสมใหม่ เพื่อให้ต้นทุนลดลง

กระแส Shrinkflation นี้ คณะกรรมาธิการยุโรปเรียกว่าเป็น “เทคนิคการตลาดที่หลอกลวง” ในขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสกล่าวว่าจะออกกฎหมายเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับการแจ้งเตือนหากสินค้าลดขนาดลง

ความเห็นผู้บริโภคไทยกับเทคนิค Shrinkflation

39% ของผู้บริโภคไทยสังเกตเห็นขนาดสินค้าเล็กลงแต่ราคาคงเดิม

57% รู้ว่าต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ขนาดสินค้าเท่าเดิม

29% สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของส่วนผสมที่ใช้ในอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยที่ราคาคงเดิม

10 อันดับสินค้าคนไทยเห็นว่าลดขนาดแต่ราคาเดิม

52% ขนมขบเคี้ยว (มันฝรั่งทอดกรอบ เพรทเซล ฯลฯ)
50% อาหารสำเร็จรูป (อาหารแช่แข็งหรืออาหารสด พิซซ่า ฯลฯ)
46% ช็อคโกแลตและขนมหวาน
40% ผักสด ผลไม้
36% ของว่างแช่แข็ง ไอศกรีม ของหวานแช่แข็ง
34% เครื่องดื่มไม่อัดลม (น้ำผลไม้ น้ำหวาน ฯลฯ)
34% ขนมปัง
31% เนื้อสดหรือแช่แข็ง
31% นม/เครื่องดื่มนม
30% กาแฟ

โดย 50% ของคนไทยคิดว่าการที่ธุรกิจและผู้ค้าปลีก ลดขนาดผลิตภัณฑ์ โดยยังคงราคาเท่าเดิม เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นเป็น “สิ่งที่ยอมรับได้” ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ยอมรับได้เพียง 22%

ในภาวะที่ผู้บริโภคไทยมีกำลังซื้อจำกัด จะเลือกซื้อสินค้าตามงบประมาณที่มีอยู่ และพร้อมเปลี่ยนแบรนด์ ไปซื้อสินค้าที่คุณสมบัติใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกว่า อย่างสินค้าเฮาส์แบรนด์ของผู้ค้าปลีก โดยเฉพาะสินค้าอุปโภค

“การขึ้นราคาอย่างจริงใจ โดยชี้แจงต้นทุนที่ผู้ผลิตต้องแบกรับ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภครับได้ ขณะที่เทคนิค Shrinkflation การลดขนาดแต่ราคาเดิม แม้ทำให้ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่ระยะยาวผู้บริโภคจะรู้สึกว่าแบรนด์เอาเปรียบ”

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like