HomeSponsoredเจาะ 3 กลยุทธ์ OR ขับเคลื่อนสังคม “เป็นกลางทางคาร์บอน” ที่ทำได้จริง

เจาะ 3 กลยุทธ์ OR ขับเคลื่อนสังคม “เป็นกลางทางคาร์บอน” ที่ทำได้จริง

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เพราะเชื่อว่าการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่สามารถเติบโตลำพังได้คนเดียว แต่สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมต้องเติบโตไปด้วยกัน ที่ผ่านมา บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จึงมุ่งดำเนินธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับสังคม และสิ่งแวดล้อม ตามวิสัยทัศน์ “Empowering All toward Inclusive Growth” โดยในส่วนของสิ่งแวดล้อม OR ได้ปรับทิศทางธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2030 และ Net Zero ในปี 2050 ที่จะถึงนี้

นำ SDG สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ผ่าน 3 กลยุทธ์

คุณดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) บอกว่า บริษัทได้นำแนวคิด SDG มาเป็นหลักในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.การบุกเบิกด้านพลังงานแห่งอนาคต เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านของการใช้พลังงาน (Pioneering the low carbon shift : OR’s Mobility Solution) ด้วยการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในพีทีที สเตชั่น โดยติดตั้งเครื่องชาร์จ EV Station PluZ ครอบคลุมเส้นทางหลัก 77 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมตั้งเป้าขยายหัวชาร์จให้ครบ 7,000 หัวชาร์จ ในปีพ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ทั้งยังเปิดสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสาหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) แห่งแรกของประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดหลากหลายรูปแบบ รวมถึงร่วมกับการบินไทยทดลองนำร่องใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (SAF)

2.การพัฒนา Platform แห่งอนาคต เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการใช้ชีวิตที่หลากหลาย (Propelling Seamless Energy Transition : OR’s network of the future) ด้วยการเป็นผู้บุกเบิกการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านแพลตฟอร์มแห่งอนาคต (Future Platform) โดย OR ได้เปิด พีทีที สเตชั่น แฟลกชิป วิภาวดี 62 สถานีบริการต้นแบบในอนาคต ซึ่งถือเป็นต้นแบบ “Green Station” โดยใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด (Renewable Energy) 100 % ผ่านการใช้พลังงานจาก Solar Rooftop เพื่อใช้ภายในสถานีบริการและร้านค้าที่ OR ดำเนินการ พร้อมทั้งติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (G-Box) จากกลุ่มบริษัทในเครือ NUOVO PLUS เพื่อจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการซื้อพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการใช้เอกสารสิทธิ์เพื่อยืนยันการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ REC (Renewable Energy Certificate) และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนานำเทคโนโลยี AI-CCTV มาช่วยคำนวณคาร์บอนของรถที่เข้า-ออก ในสถานีบริการเพื่อร่วมกันลดการปล่อยคาร์บอน

EV Station PluZ

 

น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (SAF)

3.การผลักดันให้ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจสู่ความเป็น Green ตลอดทั้งระบบนิเวศน์ของ OR (Promoting Green value Chain : OR’s Ecosystem) ผ่านโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเมล็ดกาแฟแบบยั่งยืน (Green Sourcing) ซึ่งประกอบไปด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ อย่างยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรในรูปแบบการปลูกเชิงเดี่ยว สู่การสร้างป่าเชิงนิเวศน์ในพื้นที่ปลูกกาแฟ และการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรง โดยล่าสุด OR ได้เปิดจุดรับซื้อและโรงแปรรูปกาแฟคาเฟ่ อเมซอน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาอะราบิกาจากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรงในราคาที่เป็นธรรม

นอกจากนี้ OR ยังบุกเบิกโครงการด้าน Green Logistics ด้วยการนำร่องใช้รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ขนส่งเมล็ดกาแฟดิบเส้นทางระยะไกลรายแรกของไทย ตลอดจนผลักดันการปรับรูปแบบการขนส่งผลิตภัณฑ์ เพื่อมุ่งเน้นการลดคาร์บอน โดยการขนส่งน้ำมันผ่านทางท่อมากขึ้น รวมทั้งเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในการปฏิบัติงาน (Green Operation) และปรับให้ PTT Station หรือ Café Amazon เป็น Green Outlet ที่ใช้พลังงานสะอาด ตลอดจนใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในร้าน Café Amazon

Solar Rooftop

สร้างธุรกิจเติบโตคู่สิ่งแวดล้อม

คุณดิษทัต บอกว่า OR ยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน โดยร่วมกับหลายหน่วยงานในการส่งเสริมการปลูกและรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่มั่นคง มีตลาดที่แน่นอน ในระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) ควบคู่กับการพัฒนาความรู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2558-2566 ได้รับซื้อกาแฟสารจากเกษตรกรไทยรวมแล้วกว่า 6,109 ตัน (6,109,000 กิโลกรัม) หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1,100 ล้านบาท

โรงแปรรูปและจัดเก็บเมล็ดกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน

โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ. 2570 จะสามารถขยายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นแปลงปลูกกาแฟและไม้ร่มเงารวมทั้งสิ้น 4,600 ไร่ ส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 1,800 ครัวเรือน และเป็นตลาดรับซื้อในระบบ Fair trade สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ทั้งยังมีแนวคิดในการพัฒนาอุทยานคาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon Park) บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ณ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คาเฟ่ อเมซอน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (ecosystem) ของคาเฟ่ อเมซอนให้ยั่งยืน

ถึงวันนี้หลายสิ่งหลายอย่างที่ OR ลงมือทำ เริ่มเห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งทิศทางหลังจากนี้ OR ยังคงลุยต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (G-Green) ให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ OR เติบโตไปพร้อมสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

อุทยานคาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon Park)

 

เปิดโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน

 


แชร์ :

You may also like