HomeBrand Move !!“ซีคอน ศรีนครินทร์” เฉลยแล้ว ทุ่ม 2,000 ล้าน ปรับโซนใหม่แทนที่ “โรบินสัน” เดิม พร้อมเปิดบริการไตรมาส 4/68

“ซีคอน ศรีนครินทร์” เฉลยแล้ว ทุ่ม 2,000 ล้าน ปรับโซนใหม่แทนที่ “โรบินสัน” เดิม พร้อมเปิดบริการไตรมาส 4/68

แชร์ :

หลังเกิดกระแสดราม่าบนโลกออนไลน์ถึงการปิดตัวลงของ “โรบินสัน ศรีนครินทร์”  ซึ่งตั้งอยู่ภายใน “ซีคอน ศรีนครินทร์”  ที่กำลังจะปิดตัวลงในวันที่ 20 สิงหาคม 2567 นี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทำให้หลายฝ่ายต่างออกมาถกเถียงกันเป็นจำนวนมาก ว่าพื้นที่กว่า 4,000 ตร.ม.แห่งนี้จะถูกปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบไหน อย่างไร?

ล่าสุด บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ออกแถลงการณ์แจ้งการปิดปรับปรุงพื้นที่ บางส่วนของศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ระหว่างช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ภายหลังการครบสัญญาการเช่าของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และจะกลับมาเปิดให้บริการใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2568

โดยบริษัทฯ จะพัฒนา พื้นที่ขนาด 40,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย ร้านจำหน่ายสินค้าและบริการ ร้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร รวมถึงพื้นที่ ส่วนกลางภายใต้แนวคิดใหม่เพื่อให้สอดรับกับตลาดและกลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบันและแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต

ภายใต้การลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้ศูนย์ฯ ขอน้อมรับทุกคำแนะนำจากทุกท่าน ผ่านทางทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของ ซีคอนสแควร์ เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ใหม่ร่วมกันในครั้งนี้เป็น “พื้นที่ของเรา” ได้มากที่สุด

 

 

แผนพัฒนาดังกล่าวนับเป็นการต่อยอดแผนงานในการหันมาพัฒนาพื้นที่เองของ “ซีคอน ศรีนครินทร์” หลังทางศูนย์ฯ ได้พัฒนาโซนใหม่ๆในพื้นที่ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่น โซน MUNx2 (มัน มัน) บนพื้นที่กว่า 27,000 ตร.ม. เพื่อเป็นแหล่งรวมคอมมิวนิตี้คนรุ่นใหม่ อาหาร ภาพถ่าย ดนตรี กีฬา ในการเป็น Communities ของคนรุ่นใหม่ที่อินเทรนด์อย่างมีสไตล์

นับเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวในการปรับแผนงานเพื่อรองรับศึกค้าปลีก ในเขตกรุงเทพฯ โซนตะวันออก ที่มีบิ๊กเนมเข้าไปบุกยึดพื้นที่มากมากมาย ไล่เรียงมาตั้งแต่ ศูนย์การค้า “เมกา บางนา” หลังกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาเข้าไปถือหุ้น ก็เดินหน้าปรับโฉมใหม่อย่างเต็มพิกัดเพื่อชิงกำลังซื้อ ถัดไปก็เป็น “เซ็นทรัล บางนา” ที่ปักหลักชิงฐานลูกค้ามายาวนาน ต่อด้วย “บางกอก มอลล์” ของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่จะแล้วเสร็จละเปิดให้บริการบางส่วนได้ภายในปี 2569 เป็นต้นไป

อีกทั้งยังรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในฝั่งกรุงเทพฯ โซนตะวันออก ที่มีทั้งเมกะโปรเจคภาครัฐ การขยายโครงข่ายคมนาคมเชื่อมการเดินทาง ทั้งรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) รถไฟฟ้ามหานครสายสีส้ม ฝั่งตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-สุวินทวงศ์)

ติดตามพวกเราได้ที่ LINE

 


แชร์ :