HomePR NewsTMB เผยออมเพื่อการเกษียณ … สูงวัยยังไม่โอเค [PR]

TMB เผยออมเพื่อการเกษียณ … สูงวัยยังไม่โอเค [PR]

แชร์ :

Screen Shot 2557-10-23 at 1.59.36 AM

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ ประชากรไทยวัยแรงงานส่วนใหญ่ ปัจจุบันยังไม่มีหลักประกันการออมในระบบ ส่อแววเงินไม่พอยังชีพหลังเกษียณ  รัฐควรเร่งส่งเสริมเพิ่มการออมในระบบ ก่อนภาระทางการเงินการคลังประเทศพุ่ง เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ปัจจุบันการออมเพื่อการเกษียณอายุของคนไทยจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจำนวนคนที่อยู่ในกลุ่มการออมในระบบ มีเพียงร้อยละ 37 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ ได้แก่ สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ผู้จ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และ ลูกจ้างของบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม ม.33 ด้วย) นอกจากนี้ กลุ่มคนที่มีการออมภาคสมัครใจอื่นๆ ผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ก็จะอยู่ในระบบการออมดังที่กล่าวข้างต้นอยู่แล้ว

นั่นหมายความว่า ประชากรไทยวัยแรงงานอีกกว่าร้อยละ 60 ไม่ได้มีหลักประกันเงินออมในระบบ ประกอบด้วยกลุ่มอาชีพอิสระซึ่งอาจมีรายได้ไม่แน่นอน กับ กลุ่มแรงงานนอกระบบซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมและมีการศึกษาไม่สูงนัก การส่งเสริมให้แรงงานกลุ่มนี้เข้ามาในระบบการออมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสามารถช่วยบรรเทาภาระการคลังด้านงบประมาณที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่จะเพิ่มจาก 2.9 แสนล้านบาทในปีงบประมาณ 2557 เป็น 16.6 ล้านล้านบาท ในปีงบประมาณ 2606 หรือ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นถึงกว่า 50 เท่า ดังที่เคยมีการประเมินโดยนักวิชาการของสำนักเศรษฐกิจการคลัง

การสนับสนุนการออมในกลุ่มแรงงานที่ยังไม่มีหลักประกันดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเป็นการออมภาคบังคับเท่านั้น เพราะสถิติในช่วงที่ผ่านมาชี้ว่าการออมอย่างสมัครใจได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคม มาตรา 39 และ 40 ซึ่งเปิดสำหรับประชาชนทั่วไปที่เข้าเงื่อนไข เข้าเป็นสมาชิกได้นั้น มีการเติบโตถึงร้อยละ 13 และ 19 ต่อปี ตามลำดับ  โดยการออมผ่านกองทุนประกันสังคม ม.39 จะมีสิทธิประโยชน์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ช่วยเสริมแรงจูงใจในการออม ส่วนกองทุนประกันสังคม ม.40 ก็จะได้รับแรงจูงใจจากการที่ภาครัฐจะสบทบเงินออมให้อีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะกองทุนประกันสังคม ม.40 ที่เปิดให้ผู้ประกันตนอิสระทั่วไปสามารถเข้าเป็นสมาชิกได้นั้น ขณะนี้ ทางภาครัฐกำลังพิจารณาว่าอาจใช้กองทุนนี้เป็นเครื่องมือหลักในการส่งเสริมการออมแก่บุคคลทั่วไปอีกด้วย

สังคมผู้สูงอายุกำลังจะเป็นปัญหาสำคัญของไทยในอนาคตอันใกล้  ด้วยในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า จะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุถึงราวหนึ่งในห้าของประชากรไทย นั่นหมายถึง จำนวนคนที่ยังต้องใช้เงินแต่มีข้อจำกัดในการหาเงินด้วยสังขารที่ร่วงโรย  จะมีสัดส่วนมากขึ้นเป็นลำดับ  ทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ยามชรา คือ การเก็บออมให้กับตัวเองยามที่ตนยังมีกำลังวังชา การออมในระบบจึงเป็นวาระสำคัญที่ภาครัฐควรเข้ามาเร่งบริหารจัดการ เพื่อป้องกันปัญหาความไม่เพียงพอของเงินหลังเกษียณที่จะกลายมาเป็นภาระหนักในการจัดสรรงบประมาณของประเทศสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต 

เย้ๆๆ อีกหนึ่งช่องทางรับข่าวสารกับ Brand Buffet  ผ่าน LINE ไม่ตกหล่นทุกข่าวสำคัญ

  เพิ่มเพื่อนรัวๆ  ที่ ID :   @brandbuffet

เพิ่มเพื่อน


แชร์ :

You may also like