HomeDigitalรู้จัก “ChulaGENIE” Gen AI ตัวแรกด้านการศึกษา ช่วยวิเคราะห์งานวิจัย-ตอบปัญหานิสิตจุฬาฯ

รู้จัก “ChulaGENIE” Gen AI ตัวแรกด้านการศึกษา ช่วยวิเคราะห์งานวิจัย-ตอบปัญหานิสิตจุฬาฯ

แชร์ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ Google Cloud เปิดตัว  Generative AI ในชื่อ ‘ChulaGENIE’ คาดเปิดให้คณาจารย์และบุคลากรใช้งานได้ในเดือนมกราคม 2568 และเปิดให้นิสิตทุกคนใช้ภายในเดือนมีนาคม 2568

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับชื่อ ChulaGENIE ย่อมาจาก ‘Chula’s Generative AI Environment for Nurturing Intelligence and Education’
โดยตัวโปรแกรมเปิดให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและเลือกใช้โมเดล AI ต่าง ๆ ได้ เช่น ในระยะแรก ผู้ใช้สามารถใช้งาน Gemini 1.5 Flash หรือ Gemini 1.5 Pro (ของ Google) ได้ และในอนาคตอันใกล้ จะมีตัวเลือกในการใช้โมเดล Claude จาก Anthropic และโมเดล Llama จาก Meta ด้วย

 ChulaGENIE ทำอะไรได้บ้าง

ส่วนความสามารถของ ChulaGENIE มีตั้งแต่การช่วยอธิบายหัวข้อที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น, การสร้างเนื้อหาในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ การรองรับการอัปโหลดเอกสารที่มีความยาวและซับซ้อน (เช่น ไฟล์ตาราง, แผนภูมิ, ภาพประกอบ, ไฟล์ PDF หรือไฟล์เอกสารที่มีความไม่เกิน 1.4 ล้านคำ) เพื่อนำไปวิเคราะห์เชิงลึกได้ด้วย (เหมาะสำหรับนักวิจัยที่ต้องการสรุปวรรณกรรมทางวิชาการ หรือทำการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่)

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การจับมือกับ Google Cloud และเข้าใช้แพลตฟอร์ม Vertex AI  ทำให้จุฬาฯ สามารถพัฒนา ChulaGENIE ได้ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือน และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่มีแอปพลิเคชัน Generative AI สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาและวิจัยในระดับอุดมศึกษา”

ทั้งนี้ จุฬาฯ เตรียมเพิ่มฟังก์ชันใหม่บน ChulaGENIE ด้วย เช่น

  • ตัวช่วยด้านการวิจัย ที่ถูกปรับแต่งในประเด็นเฉพาะ สำหรับช่วยอาจารย์และนิสิตในการเชื่อมโยง หรือค้นหาความเชื่อมโยงในงานวิจัย รวมถึงเสนอคำถามหรือสมมติฐานใหม่ ๆ ได้
  • ตัวช่วยด้านการศึกษา ที่พัฒนาจากตำรา หรือฐานข้อมูลด้านการศึกษาและอาชีพ พร้อมข้อมูลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและข้อพิจารณาด้านจริยธรรม ช่วยให้นิสิตได้รับคำแนะนำที่ปรับให้เหมาะสมและเป็นเฉพาะบุคคลในการเลือกหลักสูตรและการวางแผนเส้นทางอาชีพได้
  • ตัวช่วยด้านการบริหารและธุรการ ที่สามารถเข้าใจและตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ เช่น การสมัครเรียน การลงทะเบียน ทุนการศึกษา การจัดการอาคารสถานที่ หรือการสนับสนุนด้าน IT เป็นต้น

มี Vertex AI ช่วยกรองเนื้อหา

ทางมหาวิทยาลัยเผยด้วยว่า มีการนำระบบกรองเนื้อหาของ Vertex AI และนโยบาย AI ของจุฬาฯ มาใช้ออกแบบ ChulaGENIE เพื่อป้องกันไม่ให้ตอบ หรือสร้างเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นอันตรายด้วย

รวมถึงป้องกันไม่ให้ ChulaGENIE เผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยที่เป็นความลับหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความอ่อนไหวโดยไม่ได้ตั้งใจเช่นกัน

ส่วนของกาารใช้งาน พบว่า โมเดลดังกล่าวสามารถวิเคราะห์หลักสูตรที่มีอยู่เพื่อค้นหาช่องว่างหรือจุดที่ควรปรับปรุงได้อีกด้วย และเพื่อให้การใช้งาน AI ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทางสถาบันได้มีการจัดอบรมคอร์ส Google AI Essentials ให้กับบุคลากร คณาจารย์ และนักศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้สำเร็จหลักสูตรนี้แล้วกว่า 800 คน

คุณอรรณพ ศิริติกุล Country Director, Google Cloud ประเทศไทย กล่าวว่า “แพลตฟอร์ม Vertex AI ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ อย่างเช่น จุฬาฯ สามารถนำ Responsible AI ไปใช้ได้จริง  การเปิดตัว ChulaGENIE อย่างรวดเร็วของจุฬาฯ เชื่อว่าจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการวิจัยและวิชาการ ซึ่งในท้ายที่สุดจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยในระยะยาว”


แชร์ :

You may also like