HomePR Newsกรุงศรีประกาศผลกำไรสุทธิปี 2567 จำนวน 29.70 พันล้านบาท หนุนลูกค้าฟื้นตัว อย่างยั่งยืน พร้อมกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่รอบคอบระมัดระวัง [PR]

กรุงศรีประกาศผลกำไรสุทธิปี 2567 จำนวน 29.70 พันล้านบาท หนุนลูกค้าฟื้นตัว อย่างยั่งยืน พร้อมกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่รอบคอบระมัดระวัง [PR]

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลประกอบการสำหรับปี 2567 มีกำไรสุทธิจำนวน 29.70 พันล้านบาท ลดลง 9.8% จากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหลักมาจากการตั้งสำรองตามนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดระมัดระวัง ภายใต้บริบทสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความท้าทาย

กรุงศรียังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนพันธกิจสำคัญด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีแรงส่งที่จำกัดและไม่ทั่วถึง กอปรกับปัญหาด้านเสถียรภาพโครงสร้างเศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ศักยภาพการเติบโตของสินเชื่อและรายได้ในภาพรวมถูกลดทอนลง  โดยภารกิจหลักของธนาคารยังคงเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SME และกลุ่มลูกค้ารายย่อย ผ่านทั้งมาตรการช่วยเหลือฉุกเฉินระยะสั้น และการส่งมอบนวัตกรรมสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (Krungsri SME Transition Loan) เพื่อให้ลูกค้าสามารถฟื้นตัวในด้านธุรกิจและสถานะทางการเงิน ตลอดจนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้บริบทที่ยั่งยืน

สรุปผลประกอบการและฐานะการเงินที่สำคัญสำหรับปี 2567

  • กำไรสุทธิในปี 2567 จำนวน 29,700 ล้านบาท ลดลง 8% หรือ 3,229 ล้านบาท จากปี 2566 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการตั้งสำรองตามนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดระมัดระวังของกรุงศรี
  • เงินให้สินเชื่อรวม ลดลง 0% หรือจำนวน 121,335 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2566 สะท้อนการปรับลดลงของความเชื่อมั่นทางธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภค กอปรกับการดำเนินการตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมของกรุงศรี
  • เงินรับฝาก ลดลง 9% หรือจำนวน 17,372 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2566 ตามนโยบายการบริหารสภาพคล่องอย่างเหมาะสมรัดกุม
  • แม้ว่าอุปสงค์ต่อเงินให้สินเชื่อจะอ่อนตัวลง อย่างไรก็ดี ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ยังคงเพิ่มขึ้นมาที่ 28% จาก 3.91% ในปี 2566 โดยมีปัจจัยหลักมาจากอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนรายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศที่ควบรวมในปี 2566 ที่เป็นการรับรู้รายได้ทั้งปี
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 7% หรือ 5,827 ล้านบาท จากปี 2566 โดยมีปัจจัยหลักมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิทั้งส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศและธุรกิจในประเทศ กำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และหนี้สูญ
    รับคืน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยที่ 4% เทียบกับ 44.5% ในปี 2566
  • อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่23% เทียบกับ 2.53% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 ขณะที่สัดส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 245 เบสิสพอยท์ และอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 123.2%
  • อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) อยู่ที่ 38% เทียบกับ 18.24%
    ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ท่ามกลางอุปสงค์ต่อสินเชื่อที่ยังคงเปราะบาง กรุงศรีในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินที่มีความรับผิดชอบ ยังคงให้การสนับสนุนด้านบริการที่ปรึกษา รวมถึงการเปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินด้านความยั่งยืน อาทิ เงินฝากเพื่อความยั่งยืนและสินเชื่อเพื่อสังคม ตลอดจนสนับสนุนการจัดจำหน่ายพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งและความน่าเชื่อถือของยุทธศาสตร์การลดก๊าซเรือนกระจกของลูกค้า โดยเฉพาะภายใต้บริบทธุรกิจบริการที่ปรึกษา ธนาคารเป็นผู้นำในตลาดพันธบัตรด้านความยั่งยืนในปี 2567 ด้วยส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 18.9%”

นายเคนอิจิให้ความเห็นเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจว่า “ในปี 2568 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ 2.9% เมื่อเทียบกับ 2.7% ในปี 2567 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว การใช้จ่ายภาครัฐที่กลับมาขยายตัวตามปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครึ่งแรกของปี 2568 ขณะที่การลงทุนจะเติบโตได้ในระดับที่จำกัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจได้แก่ผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาที่กำลังปรับทิศทาง รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ กอปรกับยังคงมีความท้าทายของปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง”

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 กรุงศรี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าในระบบเศรษฐกิจไทยจากมูลค่าสินทรัพย์ สินเชื่อและเงินรับฝาก และเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) มีสินเชื่อรวม 1.90 ล้านล้านบาท เงินรับฝาก 1.82 ล้านล้านบาท และสินทรัพย์รวม 2.62 ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 317.63 พันล้านบาท หรือเทียบเท่า 19.38% ของสินทรัพย์เสี่ยง โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของคิดเป็น 15.11%


แชร์ :

You may also like