HomePR Newsทีเส็บ เผย 5 ยุทธศาสตร์ 3 กลยุทธ์ขับเคลื่อนไมซ์ไทย ปี 68 เพิ่มรายได้ พิชิตอันดับไมซ์แห่งเอเชีย [PR]

ทีเส็บ เผย 5 ยุทธศาสตร์ 3 กลยุทธ์ขับเคลื่อนไมซ์ไทย ปี 68 เพิ่มรายได้ พิชิตอันดับไมซ์แห่งเอเชีย [PR]

แชร์ :

ทีเส็บเปิดตัว 5 ยุทธศาสตร์ มุ่งใช้ดิจิทัล ความหลากหลายอัตลักษณ์พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ไทย พร้อมใช้กลยุทธ์ 3S – Stay Longer, Spend More, See You Again เพิ่มขีดความสามารถไมซ์สร้างรายได้เข้าประเทศ และบุกเจาะตลาดกลุ่ม BRICS ตั้งเป้าปี 2568 จำนวนนักเดินทางไมซ์ทั้งในและต่างประเทศ 34 ล้านคน รายได้ 2 แสนล้านบาท พร้อมเป้าหมายพิชิตอันดับการเป็นจุดหมายปลายทางไมซ์แห่งเอเชีย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายพสุ โลหารชุน ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมไมซ์ในฐานะหนึ่งเสาหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไมซ์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว แต่คือแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสร้างแบรนด์ระดับโลกให้กับประเทศไทย ไมซ์จึงเป็นทรัพย์สินที่สร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว”

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการทีเส็บ กล่าวว่า “ทีเส็บมุ่งมั่นทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับความสามารถของประเทศไทยในการรองรับความต้องการของนักเดินทางไมซ์ทั่วโลก อุตสาหกรรมไมซ์เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา ไมซ์ดึงดูดนักเดินทางทั้งในและต่างประเทศ 25,350,288 คน สร้างรายได้ 148,341 ล้านบาท เกิดเป็นรายได้ประชาชาติรวมมูลค่ากว่า 309,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.67% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ของประเทศไทย

ในด้านความสามารถของประเทศไทยบนเวทีโลก จากการจัดอันดับของสมาคมการประชุมนานาชาติ หรือ ICCA ปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยก้าวสู่ลำดับที่ 26 ของโลก อันดับที่ 6 ในเอเชียแปซิฟิก และอันดับที่ 2 ในอาเซียน โดยมีงานประชุมตามเกณฑ์ ICCA จำนวน 143 งาน อีกทั้งในด้านงานแสดงสินค้านานาชาติจากรายงานของสมาคมการแสดงสินค้าโลก หรือ UFI ล่าสุดพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่การจัดงานแสดงสินค้าเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และขยับขึ้นเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย

นอกจากนี้ ทีเส็บยังพัฒนาดัชนีชี้วัดและการจัดอันดับการเป็นจุดหมายปลายทางไมซ์ที่นึกถึงเป็นอันดับแรกในภูมิภาคเอเชีย (Top of Mind MICE Destination Ranking in Asia) ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดอันดับ 1 เป็น Top of Mind ในหลายด้าน เช่น ด้าน Country suitable for hosting an event, Authentic Local Experience และ Sustainable Event Management และเป็นประเทศที่โดดเด่นและมีศักยภาพในการจัดงานไมซ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ ด้าน Food Security, Health-tech Innovation และ Creative Soft Power

เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2568 ทีเส็บจะดำเนินการผ่าน 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ (TCEBGO) ได้แก่

1) สนับสนุนงานไมซ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและดึงงานไมซ์ระดับโลก มุ่งเน้นตลาดศักยภาพใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง และกลุ่ม BRICS รวมทั้งส่งเสริม Flagship Industry เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงานไมซ์ระดับนานาชาติ

2) พัฒนาสถานที่จัดงานด้วยความหลากหลายของอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ และจัดกิจกรรมการตลาดเสริมสร้างประสบการณ์แบบ Authentic Experience เพื่อเพิ่มโอกาสและกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมไมซ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่

3) พัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ด้วยนวัตกรรมและยกระดับขีดความสามารถด้วย Thailand MICE One Stop Service ผ่านการใช้ Data Driven Experience ลดขั้นตอน กฎระเบียบ และขยาย MICE Lane Service ไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ เช่น สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ และอุดรธานี

4) พัฒนาระบบและกระบวนการทำงานด้วย Digital Transformation โดยใช้ Big Data และ Streamline Office Operations เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้คล่องตัว ทันสมัย และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัล

5) ยกระดับองค์ความรู้และแนวปฏิบัติการจัดงานอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) รวมทั้งออกแบบสถานที่จัดงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พร้อมกันนี้ ทีเส็บได้กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์สำคัญ ปี 2568 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้ไมซ์เสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และพิชิตอันดับจุดหมายปลายทางไมซ์แห่งเอเชีย คือ กระตุ้นระยะเวลาพำนักของนักเดินทางไมซ์ในประเทศไทยให้นานขึ้น (Stay Longer) กระตุ้นการใช้จ่ายของนักเดินทางไมซ์ให้มากขึ้น (Spend More) และกระตุ้นให้นักเดินทางไมซ์กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง (See You Again) โดยจะมีการดำเนินการหลากหลายด้านให้แต่ละกลยุทธ์บรรลุวัตถุประสงค์ อาทิ พัฒนา Pre & Post Tour การสร้าง Market Place ภายในงาน และที่จะดำเนินการควบคู่กันไป คือ การเจาะตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดกลุ่ม BRICS ที่ประเทศไทยเพิ่งเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน เพราะเป็นกลุ่มที่มีการจัดงานร่วม 200 งานในแต่ละปี จึงเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมไมซ์จะเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ประเทศไทย ในการบรรลุเป้าหมายว่าสิ้นปีงบประมาณ 2568 ประเทศไทยจะมีนักเดินทางไมซ์ รวมทั้งสิ้น 34 ล้านคน ทำรายได้ 2 แสนล้านบาท” ผู้อำนวยการทีเส็บ กล่าวทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like