หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด , สื่อในเครือผู้จัดการ ,เว็บไซต์ Brand Buffet และ นิตยสาร S+M ร่วมกันประกาศผล “Thailand’s Top Corporate Brands 2015” จัดอันดับแบรนด์องค์กรที่มีมูลค่าสูงสุด 19 หมวดธุรกิจของอุตสาหกรรมในประเทศไทย ประจำปี 2558
โดยผ่าน CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) เครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรแรกของประเทศไทยที่สามารถบอกเป็นตัวเลขทางการเงินได้ วิธีการคำนวณเรียกว่าเป็น Integrative Approach ผ่าน 3 หลักของการบริการธุรกิจ 3 ด้าน ได้แก่ การตลาด การเงิน และ การบัญชี โดยการตลาด เน้นเรื่องความพึงพอใจ(Satisfaction) ของลูกค้า ไว้วางใจ และความจงรักภักดี ซึ่งทำให้เกิด Brand Equity หรือ คุณค่าของแบรนด์ การเงิน การประเมินมูลค่าของบริษัท (Enterprise Value) ทั้งสินทรัพย์ เงินสด และหนี้สิน บัญชี การลงบันทึกรายการต่างๆ ตามมาตรฐานบัญชี เช่น การซื้อ การขาย สินทรัพย์ หนี้สิน และรายการอื่นๆ การคำนวณมูลค่าแบรนด์องค์กรต้องใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลังในกาคำนวณผ่านสูตร CBS Valuation และต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
รศ. ดร. กุณฑลี รื่นรมย์ และอ. ดร. เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำ ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้คิดค้นและพัฒนา CBS Valuation อธิบายเสริมว่า
“ประโยชน์ของ CBS Valuation สามารถนำไปเป็นดัชนีชี้วัด หรือ Indicator สำหรับการทำงานหรืองบประมาณที่ทำไปในปีที่ผ่านมา หรือนักลงทุนก็สามารถเห็นมูลค่าของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ก่อนที่จะทำ M&A (Mergers And Acquisitions) ในแต่ละดีล เป็นการช่วยเศรษฐกิจประเทศให้เกิดการลงทุนเช่นกัน จุดเด่นของ CBS Valuation ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ตัวแปรไม่ซับซ้อน เหมือนกับเครื่องมือของต่างประเทศ และการจัดเก็บข้อมูลไม่ต้องใช้แบบสอบถาม ที่ทำให้เกิดอคติต่อการตอบคำถาม”
“การสร้างแบรนด์ ต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงต้องเข้าใจและเห็นว่า “แบรนด์” นั้นมีจริง , เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค , สินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ และสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้เองจะส่งผลให้ลูกค้าความพึงพอใจ (Customer Satisfaction) และทำให้เกิด Brand Loyalty นอกจากนี้การสร้างแบรนด์ควรเริ่มจากภายในองค์กรหรือ Internal Branding แล้วมันจะค่อยขยายออกมาภายนอกองค์กร”
สูตร CBS Valuation =
ผลการจัดอันดับแบรนด์องค์กรที่มีมูลค่าสูงสุด 19 หมวดธุรกิจ ดังนี้ (แบ่งตามหมวดธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์)
หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่
หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
หมวดสินค้าเกษตร ได้แก่ บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
หมวดแฟชั่น ได้แก่ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน)
หมวดธนาคาร ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ ได้แก่ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
หมวดประกันภัยและประกันชีวิตได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ได้แก่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
หมวดเหล็ก ได้แก่ บริษัท แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
หมวดวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
หมวดบริการรับเหมาก่อสร้าง ได้แก่ บริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน)
หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค ได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
หมวดพาณิชย์ ได้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
หมวดการแพทย์ ได้แก่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
หมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ ได้แก่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)
หมวดท่องเที่ยวและสันทนาการ ได้แก่ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ ได้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
Brand Buffet ในฐานะสื่อพันธมิตร ขอแสดงความยินดีกับทุกองค์กรที่ได้รับแบรนด์องค์กรที่มีมูลค่าสูงสุดแต่ละประเภทอุตสาหกรรมในครั้งนี้ และจะร่วมสนับสนุนงานวิจัยมูลค่าแบรนด์องค์กรฯของหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นี้ต่อไป
[xyz-ihs snippet=”LINE”]