การก่อกำเนิดของเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปเสมอ นวัตกรรมต่างๆ ผลักดันให้มนุษยชาติเจริญก้าวหน้าจนบรรพบุรุษเราเมิ่ร้อยปีก่อนไม่อาจจินตนาการได้ แม้แต่ในแวดวงที่ไอเดียในหัวเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่างแวดวงการตลาดก็ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีเช่นกัน Brand Buffet ขอพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับ 12 นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตของวงการตลาด
1. ความร่วมมือระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่กับบรรดา Startup
โครงการ The Foundry ที่บริษัท Unilever ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเกือนพฤษภาคม ปี 2014 นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางธุรกิจสุดล้ำหน้าของ Unilever เลยทีเดียว โครงการนี้ทำให้เราได้เห็นว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่พนักงานมักไม่ค่อยจะกระตือรือร้นเพราะสัมผัสได้ถึงความมั่นคงขงบริษัทเริ่มที่จะตระหนักว่าหากต้องการนวัตกรรมที่สดใหม่ แหวกแนวและสามารถสร้างความแตกต่างแล้วล่ะก็ พวกเขาก็จำเป็นที่จะต้องดึงผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาทำงานให้ จากการสัมภาษณ์ Jeremy Basset ผู้อำนวยการโครงการ The Foundry เขาได้กล่าวว่า “เราต้องยอมรับคำดูถูกให้ได้ว่าเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง เราจึงต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้ที่เชี่ยวชาญในสิ่งที่เราขาดไป” การเริ่มโครงการ The Foundry ของ Unilever อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้บริษัทอื่นๆดำเนินรอยตาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโลกแห่งการตลาดในอนาคตจะเปลี่ยนจากการโชว์เดี่ยวของแต่ละบริษัทยักษ์ใหญ่มาเป็นโลกที่อาศัยความร่วมมือระหว่างบริษัทใหญ่ทุนหนาและบรรดา Startup ไอเดียแจ๋วมากขึ้น
ศึกษาข้อมูลของ The Foundry ได้จาก https://foundry.unilever.com
2.การแบ่งปัน คือ ด้านหนึ่งของการใช้ชีวิต
หากเอ่ยถึง Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปันหลายคนอาจนึกถึงธุรกิจบริการอย่าง Airbnb ที่ให้เราแบ่งปันพื้นที่ในบ้านตัวเองให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อน หรือ Uber ที่ให้เราแบ่งปันที่นั่งในรถตัวเองให้คนอื่นได้ร่วมเดินทาง หรือ Toms ที่ให้เราร่วมบริจาครองเท้าให้ผู้ด้อยโอกาสโดยธุรกิจเหล่านี้ต่างประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเนื่องมาจากคนเราหันมาสนับสนุนธุรกิจที่คืนประโยชน์สู่สังคม ซึ่งการบริการก็ไม่ได้เป็นแค่ช่องทางเดียวในการคืนประโยชน์ให้สังคม นักการตลาดสามารถนำความสำเร็จของธุรกิจเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายช่องทาง เช่น หากคุณทำธุรกิจผลิตสินค้านอกจากจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีแล้ว คุณควรผลิตสินค้าให้มีของเหลือทิ้งน้อยที่สุดในกระบวนการผลิต หรือผลิตสินค้าที่สามารถ recycle แถมยังช่วยผู้บริโภคลดปริมาณขยะ ยุคนี้เป็นยุคแห่งการตระหนักถึงการถ้อยทีถ้อยอาศัย การร่วมแบ่งปัน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากธุรกิจคุณสามารถคืนประโยชน์ต่อสังคมและส่งแวดล้อมได้ คุณจะเหนือชั้นกว่าคู่แข่งที่ยังคงใช้วิธีการผลิตสินค้าหรือให้บริการแบบเดิมๆ
3.เปลี่ยนจาก Chief Marketing Officer มาสู่ Chief Experience Officer
ในระยะนี้แบรนด์ต่างๆ เริ่มพากันหันมาตระหนักว่าประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากแบรนด์คือสิ่งที่จะเป็นตัวบ่งชี้คุณค่าของแบรนด์ ข้อเท็จจริงนี้ทำให้บทบาทหน้าที่ของ Chief Marketing Officer (CMO) หรือผู้จัดการฝ่ายการตลาดเปลี่ยนจากการโฟกัสด้านยอดขายไปสู่การโฟกัสด้านประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับแทน CMO จึงต้องผันตัวไปเป็น Chief Experience Officer (CXO) ซึ่งก็คือผู้จัดการด้านประสบการณ์ของลูกค้า โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็เป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วอันนำไปสู่ User Experience test หรือการทดสอบประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากการใช้งานโปรแกรมหรือเว็บไซต์ว่าสามารถตอบโจทย์ผุ้ใช้ได้ดีหรือไม่ทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น หากคุณมีเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้ชมสูงอยู่แล้ว แต่ต้องการสร้างเว็บไซต์ใหม่ การดึงคนจากเว็บไซต์เดิมให้มาลองใช้งานเว็บไซต์ใหม่ของคุณก็จะทำให้คุณได้รับ feedback ในมุมมองของผู้ใช้จริงว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร เขารู้สึกอย่างไรกับการใช้งาน ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาในอนาคต เพราะการจ่ายเงินค่าโฆษณาเพื่อดึงลูกค้าอาจไม่ยั่งยืนเท่ากับการปรับปรุงพัฒนาให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์จากกการใช้บริการที่ดีที่สุด ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างยอดการใช้บริการได้อย่างยั่งยืน
4. การตลาดจะเป็นตัวสร้างคุณค่าให้แก่ Value Chain
แต่ก่อนคนอาจมองว่าการตลาดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นบางบริษัทก็อาจจะพึ่งพาบริษัท agency ต่างๆ ในการดูแลด้านการตลาดให้ แต่ปัจจุบันการตลาดเริ่มมีบทบาทต่อธุรกิจใน scope ที่กว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากเทคโนโลยีด้าน IT ที่พัฒนาขึ้นทำให้เรามี big data ของลูกค้าซึ่งจะมีคุณค่ามากหากนำไปวิเคราะห์ในการทำการตลาด นักการตลาดในปัจจุบันจึงมีบทบาทใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาคือการสามารถตีความ big data และนำข้อมูลเหล่านั้นไปพัฒนากลยทธ์ทางการตลาดและผลิตภัณฑ์ บทบาทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภายในที่เพิ่มขึ้นของนักการตลาดทำให้งานด้านการตลาดที่เป็นสายงานสำคัญที่ช่วยสร้างมูลค่าให้กับ Value Chain ของธุรกิจ บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจชื่อดังอย่าง Mckinsey ก็ได้เข้าซื้อบริษัท Lunar ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาด ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าเทรนด์ในอนาคตคือการตลาดจะเข้ามามีบทบาทต่อการวางกลยุทธ์ของธุรกิจ ในขณะเดียวกันบริษัท agency นอกจากจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์แล้วก็ยังต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลถึงจะอยู่รอดได้ในอนาคต
5. ยุคแห่งสื่อโฆษณานอกบ้าน Out of home advertising (OOH)
บริษัทวิจัยด้านการตลาด BIA/Kelsey ได้เผยว่า ในปี 2017 Location targeted ads หรือการโฆษณาแบบจำกัดพื้นที่นั้นจะมีมูลค่าเป็น สัดส่วน 50% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมด เนื่องมาจากการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีการระบุพิกัดที่ผู้ใช้อยู่ทำให้นักการตลาดใช้เป็นช่องทางในการทำโฆษณาแบบระบุพื้นที่ได้และ อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Location targeted ads เติบโตก็คือ Out of home advertising หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้กับป้ายโฆษณา การเติบโตของ OOH ก็เป็นผลมาจากการพัฒนาเครือข่ายขนส่งมวลชนซึ่งทำให้เกิดจุดที่มีผู้คนเดินผ่านไปมาต่อวันจำนวนมากอีกปัจจัยที่ทำให้ OOH เติบโตก็คือการพัฒนาของป้ายโฆษณาดิจิตอลหน้าจออัจฉริยะที่สามารถ interactive กับผู้ใช้ได้ PWC บริษัทให้คำปรึกษาระดับโลกได้เผยว่าในปี 2019 มูลค่าของป้ายโฆษณาดิจิตอลจะแซงหน้ามูลค่าของป้ายโฆษณาแบบธรรมดา ข้อดีของ Location targeted ads คือ สามารถสื่อสารและวัดผลได้อย่างชัดเจน เช่นการสื่อสารโปรโมชั่นของร้านค่าในละแวกนั้นๆ กับผู้ที่อาศัยในพื้นที่ที่สามารถเดินทางมาซื้อได้และสามารถวัดผลว่าโปรโมชั่นแต่ละอันเหมาะกับพื่นที่ไหนบ้าง ซึ่งนำไปสู่การวางกลยุทธ์และการจัดสรรงบประมาณการตลาดได้ดีขึ้น
6. ยุคใหม่แห่งวงการเกม
เมื่อปี 2012 ทีมผลิตภัณฑ์ทีมหนึ่งของกูเกิลที่ชื่อ NianticLabs ได้เปิดตัวเกมพกพา Ingress ซึ่งเป็น “เกม” ลูกผสมระหว่างแนวคิดเรื่อง location-based service, augmented reality Massive Multiplayer Online Role-Playing Game (MMORPG) ที่ใช้มือถือเป็นอุปกรณ์ในการเล่น เมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่เดือน Ingress ก็มีผู้เล่นกว่า 7 ล้านคน ปกติแล้วเกมแนว MMORPG ก็เป็นแหล่งให้ผู้คนที่อยู่ต่างที่ค่างประเทศได้มาพบเจอกันอยู่แล้ว แต่ Ingress แตกต่างจากเกมอื่นๆ ตรงที่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายให้แข่งกันยึด “ฐาน” ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยแผนที่ของเกม Ingress คือแผนที่โลกจริงๆ (นำมาจาก Google Maps) แต่เพิ่มไอเทมหรือฐานที่เห็นได้เฉพาะจากแอพลงไปบนแผนที่ด้วย
ตัวเกมออกแบบมาให้ผู้เล่นแต่ละฝ่ายในพื้นที่นั้นๆ ต้องร่วมมือกันเพื่อยึดฐานมาเป็นของฝ่ายตัวเอง การจำลอง location จริงเข้าไปอยู่ในเกม ทำให้ Ingress สามารถเป็นช่องทางในการโฆษณาแบบ Location based ได้ เช่น Ingress ได้ร่วมมือกับศูนย์การค้า Parco ในประเทศญี่ปุ่นในการโปรโมท event ที่จัดในเขต Sendai ซึ่งก็สามารถดึงดูดคนให้เข้าร่วมงานกว่า 3 พันคน การออกแบบเกมแบบ Virtual Location ทำให้เกมสามารถเป็นช่องทางในการโฆษณาได้ดีทีเดียว
ศึกษาข้อมูลเกม Ingress ได้จาก http://www.ingressguide.com/
7. ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต (Internet of things หรือ IoT)
ในโลกอนาคตทุกสิ่งทุกอย่างที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวันจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นตอมพิวเตอร์ มือถือ เครื่องเล่นเพลง หรือแม้กระทั่งรถยนต์ ตราบใดที่อุปกรณ์เหล่านี้ยังเชื่อมต่อได้เราก็จะดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นเพราะเหล่าอุปกรณ์อัจฉริยะจะคอยจัดการเรื่องต่างๆแทนเราเหมือนมีเลขาส่วนตัวคอยให้บริการเราทุกอย่าง ให้เราเช่น แจ้งเตือนเวลานัดหมาย จองตั๋วเครื่องบิน ค้นหาร้านอาหารที่ต้องการ ในโลกยุคที่อินเทอร์เน็ตเหมือนเป็นวิ่งจำเป็นเทียบเท่าอากาศแบรนด์ต่างๆ จึงควรหันมาทบทวนว่าจะใช้อินเทอร์เน็ตในการทำตลาดอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
[youtube]https://www.youtube.com/watch?v=uEsKZGOxNKw[/youtube]
8. ทรัพย์สินทางปัญญาจะเข้ามามีบทบาทเหนือกว่าสินค้าที่จับต้องได้
ปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติความก้าวหน้าไปถึงขั้นที่พิมพ์โมเดลปืนออกมาแล้วสามารถใช้ยิงได้จริงๆ และตอนนี้บรรดาพักพัฒนาก็พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีในการสร้างอาหารจำลองออกมาจากไฟล์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองที่ล้ำหน้านี้จะเปลี่ยนโลกของการขนส่งสินค้า เช่น หากคุณต้องการสินค้าตัวอย่างจากอีกซีกโลก ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขนส่งสินค้าเหล่านั้นข้ามทวีปอีกต่อไป แค่ส่งโมเดลสินค้ามาทางอินเทอร์เน็ตคุณก็สามารถปริ้นท์มันออกมาผ่านเครื่องปริ้นท์ที่บ้านได้ในทันที ซึ่งก็หมายควมว่าสินค้าที่ซื้อขายกันในอนาคตอาจอยู่ในรูปของทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด สิ่งที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อจะเป็นดีไซน์มากกว่าสินค้าที่จับต้องได้
9.พลังแห่งการประมวลผล
นักการตลาดที่ต้องจัดการกับ big data ต่างคาดหวังให้คอมพิวเตอร์สามารถคัดกรองและวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติ สิ่งที่พวกเขาคาดหวังอาจกลายเป็นจริงได้จากความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ตอนนี้สามารถพัฒนาชิพประมวลผลจนเลยขีดความสามารถของระบบระบายความร้อนแบบเดิมๆ ไปแล้ว เทคโนโลยีระบายความร้อนที่จะรองรับระบบประมวลผลอันทรงพลังได้จึงถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งก็คือเทคโนโลยี Silicon Micro Cooler (SMC) โดยใช้การสร้างเพชรสังคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบระบายความร้อน เทคโนโลยีนี้จะช่วยรองรับชิพประมวลผลอันทรงพลังและทำให้พลังในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นยิ่งกว่าทวีคูณ
10. การนำเทคโนโลยีการถ่ายทอดสดมาสู่ Social Media
Twitter ได้เปิดให้บริการแอปพลิเคชัน Periscope ชูความสามารถถ่ายทอดสดทั้งภาพวิดีโอและเสียงสุดลื่นไหล แถมให้บริการฟรีบนความหวังเพิ่มฐานผู้ใช้งานก้าวกระโดด โดยผู้ชมจะสามารถแสดงความเห็นหรือคอมเมนต์ในแอปแบบสดๆไปด้วย ขณะที่ลิงก์เพื่อชมการถ่ายทอดสดหรือ livestream จะสามารถถูกส่งต่อบน Twitter ซึ่งนี่เองที่จะทำให้เกิดการบอกต่อและเพิ่มจำนวนผู้ชมได้แบบเรียลไทม์ Social Media รูปแบบใหม่นี้ก็เป็นอีกช่องทางในการสื่อสารที่นักการตลาดควรให้ความสน อีกแบรนด์ที่ได้นำเทคโนโลยีการถ่ายทอดสดมาใช้ได้อย่างน่าสนใจ คือ แคมเปญ Remote Control Tourist ของ google ซึ่งได้นำกล้องไปติดไว้ที่ระดับสายตาของนักท่องเที่ยวในขณะที่นักท่องเที่ยวขี่จักรยานหรือเดินชมซอกซอยตามสถานที่ต่างๆ โดยภาพจากกล้องนี้จะถูกถ่ายทอดผ่านทางเว็บไซต์ให้ผู้ชมสามารถรับชมได้เสมือนหนึ่งได้เดินทางไปในสถานที่เหล่านั้นจิงๆ
ศึกษาเกี่ยวกับ Periscope เพิ่มเติมได้จาก https://www.periscope.tv
11. การชำระเงินออนไลน์แสนสะดวกสบาย
การพัฒนาของระบบการชำระเงินออนไลน์อาจทำให้ในอนาคตเราไม่จำเป็นต้องพกกระเป๋าสตางค์อีกต่อไป แอพพลิเคชั่นการชำระเงินที่น่าสนใจก็คือ Apple Pay ซึ่งระบบนี้ก็เป็นการนำเอาบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตของเราไปผูกเข้ากับตัวระบบ Apple Pay จากนั้นก็นำไปใช้กับเครื่องจ่ายเงินที่รองรับการใช้งาน NFC และ Apple Pay โดย Apple Pay มีเครือข่ายบัตรเครดิต ธนาคารและร้านค้าใหญ่ๆ ที่เข้าร่วมด้วยมากมาย ความก้าวหน้าของ Online Payment ทำให้ในอนาคตแต่ล่ะธุรกิจต้องวางแผนเพื่อเข้าร่วมระบบการชำระเงินออนไลน์เพราะหากคุณยังขายสินค้าหรือบริการโดยับเงินสดในยุคที่ผู้คนไม่พกเงินสดสินค้าคุณคงขายไม่ได้แน่ๆ
12. ความสามารถของมนุษย์จะกลับมาโดดเด่นขึ้นอีกครั้ง
เมื่อผู้คนและธุรกิจต่างๆ ต่างสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในระดับทัดเทียมกันได้ในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าใครๆ ต่างก็มีเทคโลยีที่ใกล้เคียงกัน ในที่สุดแล้วสิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินผู้แพ้ผู้ชนะก็คือ ปัจจัยด้านคน ตัวอย่างเช่น กล้อง DSLR ที่ช่างภาพมืออาชีพสามารถถ่ายภาพได้สวยเหมือนฝัน แต่สำหรับบางคนกับถ่ายได้ไม่ต่างอะไรกับการใช้กล้องมือถือ เทคโนโลยีในวงการตลาดก็เช่นกันต่อไปทุกๆ บริษัทอาจมีระบบที่สามารถระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามที่ต้องการได้เหมือนๆ กัน แต่การวางภาพลักษณ์ของแบรนด์และการระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่น่าจะเหมาะกับแบรนด์นั้นๆ ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของคน ความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่างก็ยังคงเป็นหน้าที่ของคนเพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดในสิ่งที่นอกเหนือไปจากที่ถูกโปรแกรมไว้ได้ ดังนั้นปัจจัยหลักในความสำเร็จของแบรนด์ ก็ยังคงเป็นทรัพยากรมนุษย์ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ความแตกต่างอันเป็นจุดขายของแบรนด์ได้
เรียบเรียง : Bell W.
[xyz-ihs snippet=”LINE”]