ปุ่ม “ไม่ชอบ” (dislike) ถูกตั้งเป็นประเด็นขึ้นมาในงานถาม-ตอบของเฟสบุ๊คที่สำนักงานใหญ่ในเมนโลปาร์ค แคร์ลิฟอเนีย อันที่จริงแล้วเรื่องปุ่มนั้น “เกือบ” จะเป็นขั้นทดลองใช้กับผู้ใช้แล้ว ซึ่งการพัฒนาปุ่ม “ไม่ชอบ” นี้เป็นการพยายามครั้งที่สองที่จะแสดงความรู้สึกทางเฟสบุ๊คในออนไลน์แพลต์ฟอร์มหลังจากที่เฟสบุ๊คได้แนะนำปุ่ม “ชอบ” (like) ในปี 2009 ที่ผ่านมา
แนวความคิดของปุ่ม “ไม่ชอบ” ผ่านเฟสบุ๊คนั้นได้มีหลายประเด็นคำถามเกิดขึ้น ปุ่มนี้จะถูกใช้เพื่อส่งผ่านความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ในกรณีที่การกดปุ่ม “ชอบ” (Like) ในโพสบางโพสนั้นถือว่าไม่เหมาะสม? หรือปุ่มนี้จะเป็นการตัดสินและถูกใช้เพื่อแสดงความเกลียดชังในบางสถานะและเนื้อหาหรือไม่ อย่างไร
โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการในการส่งผ่านความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่นคือผลลัพธ์ที่เฟซบุ๊คต้องการ ซัคเคอร์เบิร์กไม่ต้องการให้เฟสบุ๊คเป็นเหมือนกับเรดดิท (Reddit) ที่จะมีการตัดสินคุณค่าผ่านเนื้อหาโดยมีการสนทนาอันดุเดือดเพื่อให้โหวตขึ้นหรือโหวตลง ตามข้อมูลจากบิสสิเนส อินไซเดอร์ (Business Insider) ได้ยกคำพูดของซัคเคอร์เบิร์กที่ตอบกลับเกี่ยวกับปุ่มไม่ชอบว่า “สิ่งที่คนต้องการจริง ๆ แล้วคือการที่เขาจะสามารถแสดงความรู้สึกที่จะเข้าใจผู้อื่น ทุกช่วงเวลาที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีเสมอไป”
สำหรับแบรนด์และนักโฆษณาแล้ว การแนะนำปุ่ม “ไม่ชอบ” นี้นำไปสู่คำถามที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะเป็นความตั้งใจของเฟสบุ๊คเองที่จะใช้เพื่อเข้าใจผู้อื่น แต่ไม่น่าจะเป็นวิธีที่ผู้ใช้จะสื่อสารกับแบรนด์ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำถามว่าถ้าปุ่มใหม่นี้มี 2 ความหมายที่แตกต่างกัน นั่นอาจจะหมายความว่าสิ่งที่ปุ่มนี้สื่อขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาจะ “ไม่ชอบ” อะไร
นอกจากนี้แล้วผลลัพธ์ของปุ่ม “ไม่ชอบ” คืออะไร? ซึ่ง ณ ปัจจุบัน การกด“ชอบ”ส่งตรงไปถึงหน้าข่าวสารของกลุ่มผู้ใช้ แต่สำหรับเนื้อหาที่ถูก “ไม่ชอบ” นั้นจะถูกตีกลับจากหน้าข้าวสารของผู้ใช้อย่างนั้นหรือ? บริบทของสิ่งที่ “ไม่ชอบ” จะถูกนำไปพิจารณาใหม่หรือย่างไร?
โดยสรุปแล้ว ดูเหมือนว่าการแนะนำปุ่ม “ไม่ชอบ” ในเฟสบุ๊คจะก่อเกิดข้อถกเถียงมากมายเหมือนกับที่พายุสื่อที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในเฟสบุ๊ค
อย่างไรก็ดีการใช้ปุ่ม “ไม่ชอบ” กับเนื้อหาของแบรนด์อาจจะไม่ตรงตามจุดประสงค์นัก เนื่องจากเฟสบุ๊คต้องการให้ใช้ปุ่มนี้เพื่อแสดงความรู้สึกส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นความเห็นอกเห็นใจหรือความเข้าใจและแบ่งปันความรู้สึก สิ่งที่แบรนด์จะต้องเผชิญน่าจะเป็นกระแสการไม่ชอบในเนื้อหาของแบรนด์นั้นๆ แต่มองในด้านดีแล้วการที่ผู้ใช้แสดงออกได้มากขึ้นอาจจะเป็นผลดีกับแบรนด์ก็เป็นได้ เพราะจะทำให้แบรนด์เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าสิ่งที่สะท้อนกลับจากผู้ใช้จะเป็นตัวช่วยในการพัฒนาเนื้อหาให้แม่นยำมากขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
ที่มา : April Wardy และ John Duku , Business Development & Digital Executiv, Mindshare Worldwide
เรียบเรียงโดย กุลภรณ์ ฟูตระกูล