แบนเนอร์เป็นเครื่องมือที่ไม่ดึงดูดใจ บวกกับปัจจุบันมีเทคโนโลยี Ad Block เข้ามาทำให้ผู้บริโภคหลีกหนีจากโฆษณาได้มากขึ้น แบรนด์หรูทั้งหลายจะโปรโมทสินค้าอย่างไรให้โดยใจผู้บริโภคไฮโซขี้รำคาญ ดูเหมือนจะเป็นโจทย์ใหญ่ที่วันนี้นักการตลาดดิจิตอลที่ดูแล Luxury brand ทั้งหลายจะค้นพบคำตอบแล้ว เมื่อแบนเนอร์โฆษณาใน New York Times และ New York Magazine มียอดคลิกเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า
New York Times และ New York Magazine ใช้วิธีการลงโฆษณาแบบใหม่บน Mobile site โดยเป็นการซ่อนโฆษณาไว้บนพื้นหลัง ซึ่งสามารถเลื่อน ขยาย และมีการเคลื่อนไหวตามการ Scrolls down ของผู้ใช้งาน ทำให้เนื้อหาของโฆษณาถูกจัดวางอย่างเหมาะสมมากขึ้นบนพื้นที่เท่าเดิม เว็บไซต์ทั้ง 2 เปิดให้ลงแบนเนอร์ในลักษณะนี้เมื่อปีที่ผ่านมา และมีแบรนด์แฟชั่น 10 เจ้าลงโฆษณาด้วยวิธีการนี้กับทั้ง 2 เว็บไซต์
“การโฆษณาผ่านหน้าจอมือถือทำให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ร่วมโดยตรง” David Maddocks ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของ Cole Haan กล่าว “แทนที่โฆษณาจะถูกเอาไปไว้ข้างๆ เนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือเป็น pop up เด้งขึ้นมา ซึ่งรบกวนผู้ใช้งานขณะที่กำลังอ่านเนื้อหาที่เขาสนใจ จะดีกว่าหากปล่อยให้เขาได้เลื่อนไปอ่านเนื้อหาต่างๆ ไปเรื่อยๆ และได้เจอบทความที่เกี่ยวข้องที่ถูกรวมไว้ด้วยกัน ช่วยสร้างประสบการณ์ที่สอดคล้องกับผู้ใช้งานมากขึ้น”
สำหรับแบรนด์แล้ว การโฆษณาแบบนี้เหมือนเป็นการเล่าเรื่องแบบเลื่อนได้คล้ายแผ่นฟิล์ม หรือโปรเจคเตอร์ และเหมาะกับการใช้กับแคมเปญของพวกเขา ตอนนี้ Cole Haan กำลังทำแคมเปญโปรโมทเสื้อคลุมตัวนอก ของแบรนด์ Zerogrand และแคมเปญนี้แสดงให้เห็นถึงการใส่แจ็คเกตและโค้ทในสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ภูเขาจนถึงบนถนน
ก่อนหน้านี้ แบรนด์อื่นๆ ที่ใช้วิธีการนี้ เช่น Hermes, ผู้ผลิตนาฬิกา IWC Shaffhausen, Rolex, Chanel และ Lacoste
โฆษณาที่ลงบนเว็บไซต์ New York Time สร้างขึ้นและดูแล โดย Celtra ซึ่งถูกเรียกว่า “miniscroller” แม้ว่าจะเป็นวิธีที่สร้างสรรค์ แต่การโฆษณาแบบนี้ไม่สามารถเข้าดูได้ตลอดเวลา Celtra กล่าวว่าเนื่องจากโฆษณาจะแสดงผลอย่างช้าๆ ทำให้ครึ่งหนึ่งจะไม่สามารถแสดงผลได้ตลอด ระบบ IAB จะเป็นผู้เลือกว่าโฆษณาตัวไหนจะถูกเลือกมาแสดงเป็นตัวต่อไป
Cole Haanใช้คอนเซ็ปท์ที่แตกต่างในการลงโฆษณาทั้งบน New York Times และ New York Magazine เว็บไซต์
หลังจากการลงแบนเนอร์ด้วยวิธีการดังกล่าวระยะหนึ่ง พบว่าการทำแคมเปญแบบนี้ทำให้มียอดการคลิกสูงขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับการลงโฆษณาทางมือถือแบบอื่นๆ และมีการคลิกเพิ่มขึ้นถึง 69% เมื่อเทียบกับการลงโฆษณาแบบภาพนิ่ง
“พูดได้ว่ามาตรฐานของตัวชี้วัดบนมือถือยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักการตลาด ในภาวะที่ โรคนิ้วอ้วนระบาด(fat-fingers epidemic) โฆษณาทางหน้าจอมือถือก็เหมือนเป็นการหาเหยื่อ” David Maddocks กล่าวถึงลักษณะของการที่ผู้ใช้กดพลาดไปโดนโฆษณาอย่างไม่ตั้งใจ เพราะหน้าจอโทรศัพท์ที่เล็กเกินไป
การลงโฆษณาแบบนี้ถูกเรียกในชื่อที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของสื่อ สำหรับ New York Magazine เรียกมันว่า “the display window” ซึ่งพนักงานขายโฆษณาคนหนึ่งบอกว่ามันเป็นผลงานของทีมบรรณาธิการของ New York Magazine
Michael Silberman, gm digital media at New York, กล่าวว่าหัวหน้าทีมออกแบบเป็นผู้ริเริ่มไอเดียนี้ และมันถูกตั้งชื่อแบบนี้เพราะลักษณะการลงโฆษณาคล้ายเวลาที่เราไปเดินห้างสรรพสินค้า แล้วเห็นหน้าต่างที่สามารถเลื่อนเปลี่ยนได้
Patrick Candela รองผู้บริหารฝ่าย PR สื่อของ Celtra กล่าวว่า the miniscroller ดึงดูดแบรนด์แฟชั่นหรูหราให้สนใจมาลงโฆษณามากขึ้น เพราะมันทำให้รู้สึกเนียน และเป็นการใช้สิ่งที่แบรนด์มีอยู่แล้ว แค่เพิ่มความน่าสนใจเข้าไปเท่านั้นเอง
ในยุคที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต่างพากันบล็อกโฆษณา Candela กล่าวว่านี่เป็นอีกก้าวหนึ่งของการสร้างงานโฆษณาแบบเกิดการรบกวนน้อยที่สุด และผสานเข้ากับการใช้งานจริงอย่างลงตัว
“เรามองว่านี่ไม่ใช่สิ่งสำหรับผู้ที่ใช้ตัวบล็อกโฆษณาทางมือถืออยู่แล้ว แต่บางทีนี่อาจจะเป็นการโฆษณาที่เนียนและเท่พอที่จะไม่ทำให้ผู้ใช้อื่นๆ ดาวน์โหลดตัวบล็อกโฆษณามาใช้เพิ่ม”