ไฟร์อาย อินคอร์เปอเรชั่น (FireEye) บริษัทด้านการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ขั้นสูง นำโดย มร.มาร์แชล เฮลแมน รองประธานและผู้บริหารระดับสูงฝ่ายปฏิบัติการเรดทีมและหน่วยรับมือแบบฉุกเฉิน เปิดเผยข้อมูลว่า องค์กรหรือบริษัทในประเทศไทยมีอัตราการตกเป็นเป้าหมายโจมตีไซเบอร์หรือออนไลน์เพิ่มขึ้น 65% จากปี 2557 เป็นมากกว่า 43% ในปี 2558 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 15% และนับว่าประเทศไทยเสี่ยงถูกโจมตีมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยสาเหตุหลักที่ตกเป็นเป้าหมายโจมตี มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีอยู่สาขาทั่วโลก , ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบความปลอดภัยที่แข็งแรง, ระบบกฏหมายที่ยังไม่ครอบคลุม, หรือแม้แต่ สถานการณ์ทางการเมืองที่ทำให้มีความต้องการเข้าถึงข่าวกรองมากขึ้น
ลักษณะการโจมตีทางไซเบอร์ มี 3 ระดับ (Top Cyber Threat Actors)
1. Hacktivist ต้องการเป็นจุดสนใจ โจมดีด้วยการหมิ่นประมาท กดดัน
2. Cyber Criminals ฉวยโอกาส มีผลประโยชน์ทางด้านการเงิน
3. Advanced Persistent Threats (APT) โจรกรรมข้อมูลและทำลายโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเมืองและการทำลาย
“การขโมยหรือโจรกรรมข้อมูลทางออนไลน์มีรูปแบบใหม่ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม .exe แบบสมัยก่อน แต่พัฒนาเป็นเพียงแค่เปิดไฟล์ word , powerpoint ธรรมดา ก็โดนเจาะข้อมูลในเครื่องได้แล้ว” ผู้บริหารไฟร์อาย ประเทศไทยอธิบายเสริม
อุตสาหกรรมในเอเชียแปซิฟิคที่ถูกโจมตีหรือคุกคามทางไซเบอร์ (ถูกโจมตีในรูปแบบ APT)
หน่วยงานรัฐบาลกลาง 45%
บันเทิง สื่อ และบริการโรงแรม 38%
เทคโนโลยี 33%
การผลิต 29%
พลังงานและสาธารณูปโภค 29%
หน่วยงานรัฐระดับประเทศและท้องถิ่น 28%
บริการ/ที่ปรึกษา 25%
บริการการเงิน 20%
ลำดับประเทศที่มีความพร้อมรับมือโจมตีทางไซเบอร์
1.สหรัฐอเมริกา
2. ญี่ปุ่น
3. เกาหลีใต้
4. สิงคโปร์
5. ออสเตรเลีย
6. นิวซีแลนด์
7. มาเลเซีย
8. จีน
9. เวียดนาม
10. บรูไน
และ ไทย อันดับที่ 12
แนวทางป้องกันการถูกโจมตีสำหรับบุคคลทั่วไป
-มีระบบตรวจจับและป้องกันไวรัส และ ระบบป้องกันแบบ APT
-ระมัดระวังในการเปิดอีเมล์และไฟล์จากบุคคลแปลกหน้า
-สำรอง Backup ข้อมูลสม่ำเสมอ
Photo : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand