HomeInsightเปิด 4 เทรนด์ “Workplace” มาแรงที่ Gen Y ต้องไม่พลาด

เปิด 4 เทรนด์ “Workplace” มาแรงที่ Gen Y ต้องไม่พลาด

แชร์ :

Resize Second Home (Cr.Archdaily.com & Iwan Baan)_02

Second Home Office (Source Photo : www.archdaily.com / Photographer : Iwan Baan)

ในหนึ่งอาทิตย์ คนส่วนใหญ่ทำงาน 5 – 6 วัน โดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือบางคนต้องทำงาน 10- 12 ชั่วโมงต่อวัน นั่นเท่ากับว่าคนเราทำงานไม่ต่ำกว่า 40 – 50 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ ที่เราต้องนั่งอยู่กับโต๊ะทำงานประจำ คอมพิวเตอร์คู่ใจ และก้มหน้าก้มตาขับเคี่ยวงานออกมาให้เสร็จในแต่ละวัน หรือในแต่ละโปรเจคให้เสร็จภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นั่นคือโลกการทำงานที่เราคุ้นชินมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันคนวัยทำงาน โดยเฉพาะกลุ่ม Generation Y ไม่ต้องการอยู่ในสภาวะแวดล้อมการทำงานวิถีเดิมๆ แต่ต้องการสร้างสมดุลการใช้ชีวิตระหว่างการทำงานและการพักผ่อน หรือที่เรียกว่า “Work – Life Balance” เพราะฉะนั้นคนกลุ่มนี้มองว่าสถานที่ทำงาน และบรรยากาศโดยรวมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสรรค์ไอเดียและผลงานดีๆ ออกมา

ในงานสัมมนา “Modernform Trend Forum 2016 ตอน Workplace 4.1 The Digital Age” คุณประธาน ธีระธาดา Editor in Chief, Art4D Magazine และผู้อำนวยการเทศกาลออกแบบบางกอก ได้มาร่วมแบ่งปันความรู้เทรนด์ Workplace ทั่วโลกที่กำลังมาแรงทั้งในวันนี้และอนาคต ในหัวข้อ “WORKPLACE TREND TO BE WATCHED IN 2016 AND BEYOND” ได้แก่

1. Reimagine The Old การฟื้นฟูอาคารเก่า แล้วทำเป็นออฟฟิศ ซึ่งอาคารเก่าที่นำมาชุบชีวิตใหม่ ไม่จำเป็นต้องอยู่ใจกลางย่านธุรกิจ แต่ตั้งอยู่ตามเขตนอกเมือง หรือชนบทก็ได้ เพราะเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ทำให้เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าหากัน ดังนั้นไม่ว่าจะทำงานที่ไหน ก็สามารถติดต่อถึงกันได้ตลอดเวลา

เวลานี้กระแสที่กำลังมาแรง คือ “ท้องถิ่นนิยม” การกลับไปอยู่บ้านเกิดในต่างจังหวัด แล้วสร้างสรรค์ผลงานจากท้องถิ่นที่ตนเองอยู่ ใช้วิธีติดต่องานผ่านทางอินเตอร์เน็ต ขณะเดียวกันสำนักงาน ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในย่านธุรกิจเช่นกัน แต่สามารถไปอยู่ตามโลเกชั่นที่เจ้าของธุรกิจสนใจ หรือชื่นชอบก็ได้ เช่น ย่านบางลำพู คลองสาน บางรัก และเอาอาคารเก่ามาบูรณะใหม่ ทำเป็นสถานที่ทำงาน

ตัวอย่างหนึ่งของเทรนด์นี้ คือ โครงการ “Second Home” ตั้งอยู่ในย่าน Brick Lane ของลอนดอน เป็นการนำโรงงานเก่ามาปรับปรุงใหม่ ทำเป็นออฟฟิศให้เช่า และมีการออกแบบที่ผสมผสานกับความเป็น Co-Working Space ที่มีพื้นที่ส่วนร่วมให้ใช้ด้วยกัน ควบคู่กับมีการสร้าง Community ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้ เช่น การแสดงดนตรี ฉายภาพยนตร์ ศิลปะ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมนักธุรกิจรุ่นใหม่ นักคิด นักสร้างสรรค์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

Resize Second Home (Cr.Archdaily.com & Iwan Baan)_03

ด้านหน้าของ Second Home Office (Source Photo : www.archdaily.com / Photographer : Iwan Baan)

Resize Second Home (Cr.Archdaily.com & Iwan Baan)_04

Source Photo : www.archdaily.com / Photographer : Iwan Baan

2. Collaboration หรือ Co-Working Space การออกแบบต้องบาลานซ์ระหว่าง We กับ Me คือ มีทั้งพื้นที่ส่วนกลาง (Common Area) ที่ทุกคนใช้ร่วมกัน และมีพื้นที่ Private Area ประกอบกับการออกแบบที่ผสมผสานกับ “ความสนุก” (Work & Play) และต้องมี “ความยืดหยุ่น” เพราะสมัยนี้ คนมีสไตล์และความชอบแตกต่างกัน ควรจัดไว้หลายมุม เนื่องจากคนรุ่นใหม่ชอบอิสระ และเปลี่ยนมุมการทำงานไปเรื่อยๆ เช่น Google เป็นต้นตำรับที่เอาความสนุกมาใส่ในออฟฟิศ เพื่อเพิ่ม Inspiration และ Productivity ให้กับบุคลากรในองค์กร

หรือออฟฟิศ “Airbnb” สาขาบราซิล ออกแบบในบรรยากาศแบบบ้าน บวกกับการใส่ความเป็นท้องถิ่นเข้าไป ใช้วัสดุไม้ มีลวดลายกราฟิก และมีหลายห้องให้เลือกทำงาน รวมทั้งมีห้องรับประทานอาหาร ที่แต่ละคนได้มานั่งรวมกัน

Resize Airbnb Brazil (Cr.airbnb.design)_01

พื้นที่ส่วนกลางของออฟฟิศ Airbnb บราซิล (Source Photo : http://airbnb.design/)

Resize Airbnb Brazil (Cr.airbnb.design)_03

ภายในออฟฟิศ Airbnb ที่บราซิล (Source Photo : http://airbnb.design/)

Resize Airbnb Brazil (Cr.airbnb.design)_04

ออกแบบให้มี Private Area ร่วมกับพื้นที่ Co-Working (Source Photo : http://airbnb.design/)

อีกหนึ่งการออกแบบในรูปแบบ Collaboration ที่โดดเด่น คือ “Tom Dixon Atrium” สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้เป็น Co-Working Space สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย, Startup และ Creative โดยภายในตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ และโคมไฟของ Tom Dixon ทำให้เหมือนเป็นโชว์รูปจัดแสดงผลงานไปในตัว

Resize Tom Dixon_01 (Cr.tomdixon.net)

Tom Dixon Atrium (Source Photo : Tom Dixon)

Resize Tom Dixon_02 (Cr.tomdixon.net)

Tom Dixon Atrium (Source Photo : Tom Dixon)

3. Into The Wild การกลับสู่ธรรมชาติ เพราะถึงแม้เทคโนโลยีจะพัฒนาก้าวไกลไปอย่างไร คนยังคงโหยหาธรรมชาติ ดังนั้น Workplace ในรูปแบบนี้ มีทั้งการตั้งออฟฟิศท่ามกลางธรรมชาติ ต้นไม้ ใบหญ้า เหมือนกับออฟฟิศของ “SelgasCano” ที่แวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ พื้นดินภายนอกอาคารเต็มไปด้วยใบไม้ร่วงหล่น ทำให้คนทำงานเกิดความรู้สึกว่าธรรมชาติและพื้นที่ทำงานเป็นส่วนเดียวกัน

Resize SelgasCano Office (Cr.archdaily.com & Iwan Baan)_01

SelgasCano Office ท่ามกลางต้นไม้ร่มรื่น (Source Photo : www.archdaily.com / Photographer : Iwan Baan)

Resize SelgasCano Office (Cr.archdaily.com & Iwan Baan)_02

ด้านในของ SelgasCano Office (Source Photo : www.archdaily.com / Photographer : Iwan Baan)

ส่วนอีกรูปแบบ เป็นการดึงธรรมชาติเข้ามาอยู่ในสถานที่ทำงาน เช่น ออฟฟิศแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ออกแบบโต๊ะทำงานให้สามารถปลูกต้นไม้ได้ด้วย

Resize Schemata Architects (Cr.Archdaily.com & Kenta Hasegawa)_01

Nakagawa Masashichi Shoten Omotesando Shop & Office ออกแบบโดย Schemata Architects (Source Photo : www.archdaily.com / Photographer : Kenta Hasegawa)

4. Experimental โปรเจคทดลองออกแบบ Workplace ในรูปแบบแปลกใหม่ แตกต่าง ฉีกแนวไม่เหมือนใคร เช่น โปรเจคไอเดียทดลองของ “Raaaf and Barbara Visser” ออกแบบออฟฟิศให้พนักงานยืนทำงาน เพราะมองว่าการนั่งทำงานตลอดเวลามีโอกาสเป็นโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อน โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน จึงเกิดไอเดียว่ามีทางเป็นไปได้ไหมที่คนเราจะไม่นั่งทำงาน

Resize RAAAF-Rietveld-Architecture-Art-Affordances-The-End-of-Sitting (Cr.Raaaf.nl)_01

โปรเจคทดลองของ RAAAF and Barbara Visser (Source Photo : www.raaaf.nl)

สำหรับแนวโน้มของ Workplace ในไทย ขณะนี้รูปแบบ Reimagine The Old และ Collaboration เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง อย่างการนำอาคารเก่ามาฟื้นฟูใหม่ เช่น TCDC ภายในปีนี้จะย้ายไปอยู่ที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ขณะที่เทรนด์ Collaboration ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เริ่มนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบอาคารสำนักงาน รวมไปถึงองค์กรขนาดใหญ่ ออกแบบให้มีพื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันเกิด Co-Working Space ตามโลเกชั่นสำคัญของเมือง ที่ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ทำงานเท่านั้น แต่ยังได้ใส่กิจกรรม สร้างความเป็น Community เข้าไป เพื่อทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ไอเดีย และเกิดเครือข่ายธุรกิจระหว่างผู้มาใช้บริการด้วยกัน


แชร์ :

You may also like