ตามคาด ! เกม Pokemon Go กลายเป็นเครื่องมือดึงลูกค้ามาร้านหรือศูนย์การค้า โดยลงทุนซื้อเครื่องมือที่เรียกว่า “Lure” (ลัว) ในเกม ซึ่งจะช่วยดึงดูดโปเกม่อนสายพันธุ์ต่างๆให้มาเกิดแถวนั้นอย่างถี่ยิบ
ทั้งนี้สถานที่ๆจะใช้ “Lure Module” นี้ได้ คือต้องเป็น “PokeStop” เช่นน้ำพุ ลานเด่นๆ ศาลพระภูมิ หรือสิ่งที่เป็นแลนด์มาร์คเด่นๆอื่นๆ
จากตัวอย่าง ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นธุรกิจที่ทุ่มทุนซื้อ Lure อันดับแรกๆในไทยไปแล้วก็ว่าได้ ซึ่งในศูนย์มีจุดแลนด์มาร์คสำคัญๆเป็น “Pokestop” อยู่แล้ว จึงใช้ Lure Module ได้เลย
แต่หากร้านเล็กๆของคุณไม่ได้มี Pokestop ข้างใน ก็ใช่ว่าจะหมดโอกาส ลองโหลดเกมมาดูว่าศาลพระภูมิหรือบ่อน้ำพุใกล้ร้านเรานั้นเป็น PokeStop หรือไม่ ?
ถ้าใช่ ก็ลองซื้อ Lure Module มาชิมลางสักไม่กี่ร้อยบาท แล้วโปรโมทบอกในเพจร้านหรือไลน์ร้านดู อย่างน้อยดึงคนมาใกล้ๆแล้วให้นึกถึงร้านเราไว้ ช่วยเพิ่มโอกาสเดินต่อเข้ามาอุดหนุน
…
วิธีซื้อคือเข้าไปในเกม แล้วกดที่ลูกบอลด้านล่างเพื่อเปิดเมนู แล้วเข้า “Shop” ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปถุงช้อปปิ้ง แล้วมองหา “Lure Module” ซึ่งจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมด้านเอียงสีม่วงๆ
ราคาของ “Lure Module” นี้มี 2 แพคเกจ คือแบบ 1 ชิ้น 100เหรียญโปเกม่อน คิดเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 35 บาท , และแบบ 8 ชิ้น เหลือแค่ 680 เหรียญโปเกม่อน (แทนที่จะเป็น 800) หรือเหลือชิ้นละ 29.75 บาทนั่นเอง
จะซื้อไอเท็มแบบนี้ได้ ได้ก็ต้องใช้เงินจริงซื้อเหรียญโปเกม่อนก่อน ซึ่งยิ่งแลกมาก ก้ยิ่งถูกลง โดยการซื้อเหรียญสูงสุดถึง 14500 เหรียญโปเกม่อน ในราคาราว 3500 บาท หารแล้วจะเหลือเหรียญสหรัฐฯละ 24 บาทเท่านั้น
ฉะนั้นนอกจากการซื้อ 8 ชิ้น จะถูกกว่าชิ้นเดียวแล้ว การแลกเหรียญทีละมากๆ ก็ทำให้ไอเท็มทุกอย่างราคาถูกลงมากเช่นกัน เป็นการล่อใจลูกค้าให้ซื้อเยอะไว้ก่อนของเกมนี้นั่นเอง
…
สุดท้าย ถ้าร้านใครไม่มี “PokeStop” ใกล้ๆเลย ก็คงต้องรอต่อไป เพราะการกำหนดว่าจุดไหนเป็น PokeStop นั้น เกิดขึ้นมาก่อนนี้นานแล้วสมัยในเกม “Ingress” ซึ่งเป็นเกมแรกของบริษัท Niantic ผู้ผลิตโปเกม่อน โดยตอนนี้ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้ว ณ ตอนนี้
แต่ในอนาคตก็ไม่แน่เช่นกัน ขึ้นกับว่าทาง Niantic และ Nintendo หรือแม้แต่ Google บริษัทแม่ของ Niantic จะปรับเกม Pokemon Go ให้เป็นเครื่องมือการตลาดเพื่อทำเงินได้มากขึ้นหรือไม่ ? อย่างไร ? ต้องจับตาดูกันต่อไป
นอกจากนี้ยังมีกลเม็ดเคล็ดลับอีกมากมายที่อิงกับกระแสโปเกม่อน เช่น การนำเอา Pokémon GO Plus+ อุปกรณ์ที่ช่วยให้จับโปเกม่อนได้สะดวกขึ้น ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็น Rare Item ทั้งในและต่างประเทศมาเป็นของรางวัลในกิจกรรม รวมทั้งการสร้าง Content Marketing จับกระแสเรียงไทม์ ไปจนถึงการทำโปรโมชั่นต่างๆ ให้กับทีมสีใดสีหนึ่ง เรียกให้กลุ่มคนมาอยู่วมกันในสถานที่, ร้านของตัวเอง (เอ…หรือจริงๆ เจ้าของร้านแค่อยากหาทีมยึดยิม) เหล่าล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางการทำการตลาดที่น่าสนใจ และเชื่อว่าจะไม่จบแค่ Pokemon Go แต่สิ่งที่ควรรเรียนรู้ คือ การใช้กระแสให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกิจกรรมที่เชื่อมโยง Location กับ Interest ของคนในระดับแมส ซึ่งต่อไปนี้ แพลตฟอร์ม, เกม หรือโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลายทั้งในประเทศและระดับโลก จะต้องมีให้เห็นมากขึ้นแน่นอน
เรียบเรียงโดย: Somkid Anektaweepon