HomeBrand Move !!รู้หรือไม่ “MBK Center” เคยเป็นศูนย์การค้าแบรนด์เนม และเผยภารกิจใหญ่กับการเพิ่มลูกค้าไทย

รู้หรือไม่ “MBK Center” เคยเป็นศูนย์การค้าแบรนด์เนม และเผยภารกิจใหญ่กับการเพิ่มลูกค้าไทย

แชร์ :

Resize MBK-Center

เมื่อเอ่ยถึงศูนย์การค้า “MBK Center” หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันว่า “มาบุญครอง” ส่วนใหญ่นึกถึงอะไรกัน ?!?
แหล่งขายโทรศัพท์มือถือ และ Gadget ร้านตู้ และร้านห้องเล็กๆ มากมาย มีสินค้าทุกอย่าง ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องสำอาง แฟชั่น สินค้าไทยจากทั่วทุกภาค ไปจนถึงเครื่องประดับเพชรพลอย และอีกมากมาย หรือนักท่องเที่ยวจากชาติต่างๆ กำลังช้อปปิ้ง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่กว่าจะมาเป็น “ตลาดนัดติดแอร์” หนึ่งใน Landmark ของย่านสยามสแควร์ และกรุงเทพฯ ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ วางแผนไว้เลยว่าถ้ามากรุงเทพฯ ต้องแวะมาที่นี่ให้ได้ ! รู้หรือไม่ว่า ครั้งหนึ่ง “มาบุญครอง” ชื่อเรียกในยุคกว่า 30 ปีที่แล้ว หรือ “MBK Center” ในปัจจุบัน เคยเป็นศูนย์การค้าที่จำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศมาก่อน และได้ชื่อว่ามีฟู้ดคอร์ทใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่รวบรวมร้านอาหารระดับเชลล์ชวนชิมไว้มากมาย !!

ย้อนอดีต…ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์การค้าแบรนด์เนม

ปฐมบทของศูนย์การค้ามาบุญครอง เริ่มต้นขึ้นในปี 2526 ได้ทำสัญญาเช่าที่ดิน 27 ไร่ บริเวณสี่แยกปทุมวันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 30 ปี เพื่อพัฒนาที่ดินเป็นศูนย์การค้า โดยอาคารทั้งภายนอก และภายในตกแต่งด้วย “หินอ่อน” ที่ขนส่งทางเรือมาจากอิตาลี เรียกได้ว่าเป็นอาคารที่ใช้หินอ่อนมากที่สุด

Resize ตึกมาบุญครอง 1

ขณะที่ภายในศูนย์การค้า เวลานั้นเป็นร้านขายสินค้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศ รวมทั้งเปิด “ฟู้ดคอร์ท” ชั้น 6 เต็มไปด้วยร้านระดับเชลล์ชวนชิม ที่ดึงดูดให้คนมารับประทานอาหารที่นี่ “MBK Hall” ชั้น 7 สถานที่จัดงานขนาดใหญ่ อย่างเช่นคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดังของไทยและต่างประเทศ ที่วัยรุ่นในยุคนั้นต้องไม่พลาด ส่วนชั้น 8 เป็น “สวนสนุก” ที่มีทั้งกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มครอบครัวมาเที่ยว และมี “โตคิว” ห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่นเปิดให้บริการตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มตั้งโครงการ

Resize สวนสนุก1

สวนสนุก ชั้น 8

แต่แล้วในปี 2528 ผลจากการลดค่าเงินบาท กระทบต่อศูนย์การค้ามาบุญครองอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในที่สุดมีผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่เข้ามา ซึ่งก็คือกลุ่มปัจจุบันนี้ ได้เข้าซื้อกิจการ และค่อยๆ กู้สถานการณ์ศูนย์การค้ามาบุญครอง จนแข็งแรงในปี 2335 เป็นต้นมา จากนั้นในปี 2538 ได้ดำเนินการสร้างโรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ติดกับศูนย์การค้า

“ภายในศูนย์การค้ามีพื้นที่ว่างจำนวนมาก คนเอาไปซอยย่อยพื้นที่ ทำเป็นร้านเล็กๆ ทำให้เราแตกต่างจากศูนย์การค้าอื่น แต่คล้ายกับตลาดนัดจตุจักร ขณะที่คอนเซ็ปต์ของเราติดแอร์ และเปิดให้บริการ 7 วัน จากจุดเปลี่ยนดังกล่าว ทำให้มีธุรกิจร้านตู้โทรศัพท์มือถือ และร้านค้าภายในที่เคยเป็นร้านแบรนด์เนม ก็กลายเป็นร้านเล็กๆ ขายสินค้าท้องถิ่น จนทุกคนรู้จักเราในฐานะที่เป็นศูนย์การค้าที่มีร้านค้าเล็กๆ เต็มไปหมด” คุณสุเวทย์ ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ย้อนภาพอดีตในวันวาน

ขณะที่ MBK Hall และ สวนสนุก หลังจากเปิดให้บริการมาสิบกว่าปี ก็ตัดสินใจเลิกทำ โดยพื้นที่ชั้น 7 เปลี่ยนเป็น “โรงภาพยนตร์” เพราะมองว่าสามารถเติมเต็มความครบวงจรให้กับตัวศูนย์ฯ ได้มากกว่า ส่วนพื้นที่ชั้น 8 ทำเป็นออฟฟิศของ MBK Group

Resize คอนเสิร์ตนานาชาติคร้งแรกที่เอ็ม บี เค ฮอลล์

บรรยากาศคอนเสิร์ตที่ MBK Hall

วิกฤตต้มยำกุ้ง ปรับกลยุทธ์ดึง “ลูกค้าต่างชาติ”

หลังจากเผชิญกับ “จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่” ในปี 2528 แล้ว ต่อมาปี 2540 หรือในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ก็ได้เกิดจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เพราะถึงแม้สถานะทางการเงินของศูนย์การค้ามาบุญครองมีความแข็งแกร่ง แต่คนไทยกำลังซื้อน้อยลง จังหวะนี้คณะผู้บริหารและทีมการตลาดจึงตัดสินใจทำการตลาดต่างประเทศ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ทำให้ก่อนเกิดเหตุการณ์วิกฤตต้มยำกุ้ง ศูนย์การค้ามาบุญครองมีลูกค้าคนไทยเป็นกลุ่มหลัก ขณะที่มีลูกค้าต่างชาติเพียง 5% เท่านั้น แต่หลังจากทำการตลาดต่างประเทศ สัดส่วนลูกค้าต่างชาติค่อยๆ ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ กระทั่งทุกวันนี้อยู่ที่ 50% มีทั้งจากประเทศแถบเอเชีย ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง ส่วนอีก 50% เป็นลูกค้าไทย

จากนั้นในปี 2543 ได้ทุ่มงบประมาณกว่าพันล้านบาท เพื่อปรับปรุงอาคารศูนย์การค้า โดยเปลี่ยนจากธีมหินอ่อน ให้เป็นอาคารอลูมิเนียมสีบรอนซ์ทอง – เงิน รับกับยุค 2000s หรือยุคมิลเลนเนียม พร้อมทั้งเปลี่ยนจาก “ศูนย์การค้ามาบุญครอง” เป็น “ศูนย์การค้า MBK Center”

Resize MBK 805

“เสน่ห์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศชอบมาเดิน MBK Center มาจากชื่อเสียงที่สั่งสมมานาน และหาสินค้าทุกอย่างได้จากที่นี่ มีหลากหลาย ราคาไม่แพง สามารถต่อรองราคาได้ และเราไม่มี Zoning ทำให้นักท่องเที่ยวชอบตรงความไม่ค่อยมีระเบียบ”

ในขณะที่ MBK Center กลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมแวะมาช้อปปิ้งเมื่อมากรุงเทพฯ และร้านค้าได้ปรับเปลี่ยนสินค้าสำหรับขายให้กับคนต่างชาติมากขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ในกรุงเทพฯ เกิดศูนย์การค้าใหม่ ในคอนเซ็ปต์ใหม่ ทำให้ลูกค้าคนไทยบางส่วนที่เคยชอบมาเดิน MBK Center และวัยรุ่นยุคใหม่ เปลี่ยนไปเดินศูนย์การค้าที่อื่น

“เมื่อคนต่างชาติเดิน MBK Center มากขึ้นเรื่อยๆ ร้านค้าภายในศูนย์การค้าฯ ได้ปรับเปลี่ยนสินค้า ยกตัวอย่างร้านขายเสื้อยืด เน้นขนาดใหญ่สำหรับลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะ อย่างตอนที่เรามีลูกค้าต่างชาติ ประมาณ 40% ยอดขายของร้านค้า มาจากคนต่างชาติ 80% เพราะฉะนั้นเขาถึงได้เปลี่ยนสินค้าให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าหลักของร้าน

สิ่งที่เราคิดในวันนี้ คือ จะบาลานซ์ระหว่างลูกค้าต่างชาติ และลูกค้าไทยอย่างไร แต่การจะกลับไปที่สัดส่วนลูกค้าคนไทย 80% โดยในจำนวนนี้เป็นกลุ่มวัยรุ่น 40% อย่างในสมัยก่อน คงยาก และไม่ควรเดินกลับไปหาจุดนั้น อย่างไรก็ตามเราก็ไม่อยากเสียฐานลูกค้าไทย และเรายังคงรักษาฐานลูกค้าวัยรุ่น แต่ไม่ได้มีสัดส่วนมากเหมือนเดิม โดยจะเติมกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มครอบครัวเข้ามาแทนมากกว่า เพราะฉะนั้นใน 3 – 5 ปีจากนี้ MBK Center จะสร้างฐานลูกค้าไทยให้มีจำนวนมากขึ้น”

Resize คุณสุเวทย์ 2

คุณสุเวทย์ ธีรวชิรกุล

เติมเต็ม “Local Chic + Event” สร้างประสบการณ์คนไทยให้กลับมาเดิน

เมื่อโจทย์ท้าทายใหญ่ของ “MBK Center” ในเวลานี้อยู่ที่การทำให้คนไทยรู้สึกอยากมาเดินมากขึ้น ดังนั้นรูปแบบการทำตลาด และสินค้า – ร้านค้าภายในศูนย์การค้า ก็ต้องปรับเปลี่ยน หาจุดลงตัวที่สามารถรองรับความต้องการทั้งลูกค้าไทยมากขึ้น และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งระดับลูกค้าของ MBK Center เป็นกลุ่ม C – B แตกต่างจากศูนย์การค้าอื่นๆ ในย่านสยามสแควร์

ปัจจุบัน ตั้งแต่ชั้น 1 (G) – 2 – 3 เป็นร้านจำหน่ายสินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย, ชั้น 4 เป็นโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ไอที และบริการทางการเงิน, ชั้น 5 ปรับจากพื้นที่ร้านเฟอร์นิเจอร์ เป็นเอาต์เลตสินค้าแฟชั่น เครื่องกีฬา และร้านอุปกรณ์การถ่ายภาพ, ชั้น 6 เป็นพื้นที่ร้านอาหาร โดยเพิ่มโซน The Foodies เข้าไป, ชั้น 7 เป็นโรงภาพยนตร์ และ ชั้น 8 เป็นสำนักงาน

Resize The Foodies

“คนไทยมอง MBK Center เป็นสิ่งที่เขามาแล้ว ซื้อได้เลย เขาใช้จ่ายแน่นอน โดยส่วนใหญ่มาเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือ และรับประทานอาหาร แต่ถ้าเป็น Volume เยอะๆ จะเป็นลูกค้าต่างชาติ ดังนั้นเราอยากสร้างให้คนไทยรู้สึกอยากมาเดินมากขึ้น ซึ่งการปรับโฉมใหม่ของ MBK Center ที่จะเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนนี้ คนไทยจะรับรู้ได้ชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลง” คุณศิรฐา สุขสว่าง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายการตลาด อธิบาย

พร้อมขยายความเพิ่มเติมว่า แนวทางการทำตลาดที่จะทำให้คนไทย และวัยรุ่นเข้ามาเดิน MBK Center มากขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การสร้าง Brand Platform ให้ชัดเจนก่อนว่าจุดยืน หรือตัวตนของ MBK Center คืออะไร มีจุดแตกต่างตรงไหน อย่างไร

เนื่องจากปัจจุบันการแข่งขันของศูนย์การค้าสูงขึ้น และตั้งแต่ราชประสงค์ จนมาถึงปทุมวัน แต่ละศูนย์การค้ามีจุดยืนชัดเจน ในขณะที่ตัวตนของ MBK ที่แตกต่างจากศูนย์การค้าอื่น คือ ความเป็น “Local” หรือความเป็น “ไทย” ที่เวลานักท่องเที่ยวต่างชาติมาเดิน จะรู้สึกได้ถึงการเป็นศูนย์การค้าที่รวบรวมสินค้า Local จากที่ต่างๆ ของไทยมาไว้ที่นี่ แต่สิ่งเหล่านี้ ต้องปรับเปลี่ยนให้มีเสน่ห์ในมุมมองของคนไทยด้วย

“ปัจจุบันในศูนย์การค้า MBK Center มีร้านค้า 2,500 ร้าน ในจำนวนนี้ 80% เป็น SME  และด้วยความที่เป็น SME ทำให้สินค้าในร้านเปลี่ยนใหม่ได้เร็วมาก มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา เราดึงจุดนี้มาเป็นจุดแข็งที่เป็นเสน่ห์ของศูนย์การค้าเราได้”

Resize คุณศิรฐา สุขสว่าง 1

คุณศิรฐา สุขสว่าง

แต่ทั้งนี้ ความเป็น “Local” ที่คนไทยชื่นชอบ กับต่างชาติชื่นชอบ คนละสไตล์กัน สำหรับคนไทยชื่นชอบสินค้าไทยที่มีความทันสมัย มีดีไซน์ หรือที่เรียกว่า Local Chic ในขณะที่ต่างชาติ ชื่นชอบความเป็นไทยดั้งเดิม เพราะฉะนั้น MBK Center โฉมใหม่ จะเห็นการผสมผสานความเป็นไทย ทั้งในรูปแบบที่คนไทยชอบ และคนต่างชาติชอบไว้ด้วยกัน

“ร้านค้าภายในศูนย์การค้า จะปรับส่วนผสมของสินค้า ขณะเดียวกันตัวตนของ MBK Center จะถูกสื่อสารไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ ควบคู่กับการจัดอีเวนท์มากขึ้น โดยเจาะไปที่ไลฟ์สไตล์ หรือความสนใจแต่ละกลุ่ม ในลักษณะ Niche Market ไม่ได้ทำเป็น Mass เพราะเรามองว่า Niche Market แต่ละกลุ่มมีพลังในการดึงคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน หรือแฟนคลับของตัวเอง มารวมกันได้ ทำให้คนอยากลองมาเดิน ด้วยกระแสที่เขาได้ยินจากข้างนอก มาแล้ว เกิดประสบการณ์กับตัวศูนย์การค้า ร้านค้า กิจกรรมที่จัดขึ้น รู้สึกคุ้นเคย และอยากกลับมาทีนี่อีก ด้วยแนวทางนี้จะทำให้เราสามารถดึงคนไทยมาเดิน MBK Center ได้มากขึ้น” คุณศิรฐา กล่าวทิ้งท้าย

Resize ตึกแถวก่อนสร้างตึก-ปรับพื้นที่ก่อนก่อสร้าง

ปรับพื้นที่ก่อนก่อสร้างศูนย์การค้า ซึ่งเดิมทีที่ดินบริเวณนี้เป็นตึกแถวมาก่อน

 

Resize สร้างสำนักงานเพิ่ม

สร้างอาคารสำนักงานเพิ่ม


แชร์ :

You may also like