“เครือข่ายสานต่อที่พ่อทำ” จัดโครงการ “เดิน ทาง พ่อ” (Walk of the King) เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ออกเดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์ตรง ตามรอยพระราชดาริและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมสัมผัสมุมมองใหม่ใน 5 สถานที่ กับ 5 ผู้สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อร่วมกันถ่ายถอดเรื่องราวความประทับใจและสานต่อสิ่งที่พระองค์ทรงทามาตลอด 70 ปี
1.สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ กับ อาย-กมลเนตร เรืองศรี นักแสดงและนักเขียนที่ชอบการค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ
2.โครงการหลวงแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน กับ มุนินฺ นักวาดการ์ตูนไทยที่ส่งต่อแรงบันดาลใจด้วยลายเส้น
3.สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ กับ เปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์ พิธีกรรายการ สารคดีชีวิต “เปอร์สเปคทีฟ”
4.อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับ เล็ก Greasy Café ศิลปินที่สร้างแรงบันดาลใจผ่านเสียงดนตรี
5.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี กับ สิงโต นาโชค นักร้อง-นักแต่งเพลงชื่อดัง และโค้ชรายการเดอะวอยซ์ไทยแลนด์
ทีมงาน Brand Buffet ได้มีโอกาสเข้าร่วมทริป ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่ พร้อมกับน้องๆ GEN Y (อายุ 19-35 ปี) ที่สมัครเข้ามากว่า 5,000 คน แต่คัดเลือกมาร่วมทริปเพียง 20 คนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็น Blogger ที่มีเพจของตัวเอง และสามารถถ่ายทอดเขียนเล่าเรื่องราวได้อย่างดี ทริปนี้มี อาย-กมลเนตร เรืองศรี นักแสดงและนักเขียนที่ชอบการค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆร่วมทริปด้วย
ความเป็นมาสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ต้นน้าลาธารที่เป็นแหล่งสาคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่นของประเทศได้ จึงทรงมีพระราชดาริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จานวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง
จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตาแหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอก เมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนาพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อม ได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”
วัตถุประสงค์ ในการดาเนินงานของสถานีฯ
1. เป็นสถานีดาเนินงานวิจัยหลักของโครงการวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวและงานวิจัยป่าไม้ และงานเกษตรที่สูง
2. เป็นสถานที่ ฝึกอบรม และเผยแพร่ผลงานแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร
3. ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ แก่เกษตรกรชาวเขาในหมู่บ้านรอบๆ สถานีฯ
การดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
1. งานศึกษาวิจัย สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดปี ดังนั้นจึงเป็นสถานีหลักในการศึกษาวิจัยไม้ผลเขตหนาวของโครงการหลวงนับเป็นสถานีวิจัยไม้ผลเมืองหนาวที่สาคัญที่สุดของประเทศไทยที่ได้ดาเนินการศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่
1.1 งานรวบรวมและศึกษาพันธุ์ไม้ผลเขตหนาวชนิดต่างๆ เช่น พี้ช, สาลี่, พลับ, พลัม, บ๊วย, กีวีฟรุ้ท และสตรอเบอรี่
1.2 งานศึกษาพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่าง ๆ และไผ่ต่าง ๆ สาหรับใช้ปลูกทดแทนป่าไม้ที่ถูกทาลาย เช่น ไม้โตเร็ว กระถินดอย, เมเปิ้ลหอม, จันทร์ทอง ฯ, เพาโลเนีย และไผ่หวานอ่างขาง, ไผ่หยก
1.3 งานศึกษาและทดสอบพันธุ์ไม้ตัดดอกบางชนิด เช่น กุหลาบ, ฟรีเซีย, โปรเทีย ไม้หัวและไม้ดอกกระถาง
1.4 งานศึกษาและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพร พืชผักเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ และผักใหม่ชนิดต่าง ๆ
1.5 งานศึกษาพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวสาลี, ลินิน
2. งานเผยแพร่และฝึกอบรม เนื่องจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งทางวิชาการปลูกพืชบนที่สูงที่สาคัญของประเทศในแต่ละปีใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรของมูลนิธิฯ จำนวนมากประกอบกับมีผู้สนใจจากองค์กรและสถาบันต่างๆ เข้าเยี่ยมชมและดูงานเป็นอันมาก มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้จัดสร้างอาคารฝึกอบรมการเกษตรที่สูง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมและเผยแพร่งานของโครงการหลวงในด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของโครงการหลวง ส่วนราชการ ผู้สนใจ และ แก่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคม 2540
3. งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร เป็นการดาเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขาบริเวณรอบๆ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ รวม 4 เผ่า ได้แก่ ปะหล่อง มูเซอ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ โดยมีส่วนราชการต่างๆ ร่วมดาเนินงานในรูปคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง
กิจกรรมที่สาคัญ ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ การวางแผนการใช้ที่ดิน การส่งเสริมการปลูกไม้ผล ไม้ตัดดอก พืชผัก ชาจีน การผลิตไหลสตอเบอรี่ การฟื้นฟูระบบนิเวศ ในพื้นที่ต้นน้าโดยการฟื้นฟูป่าโดยธรรมชาติและการปลูกป่าชาวบ้าน งานส่งเสริมที่นาไปสู่เกษตรกร ได้แก่
3.1 งานทดสอบและส่งเสริมพืชเครื่องดื่มชา ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกชาพันธุ์ No.12 (ชาเขียวและชาอูหลง), หย่วนจืออูหลง, พันธุ์ลูกผสม (ชาเขียวและอูหลง)
3.2 งานส่งเสริมผักมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักที่แปลง 2000 ,บ้านนอแล และ บ้านขอบด้งหลากหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผักกาดหางหงส์, คะน้าใบหยิก, กะหล่าปลีหัวใจ คะน้าฮ่องกง, ถั่วหวาน ฯลฯ
3.3 งานส่งเสริมไม้ดอก ได้ให้เกษตรกรปลูกดอกหลายชนิดด้วยกัน เช่น กุหลาบตัดดอก (บ้านนอแล), เบญจมาศ (บ้านขอบด้ง), ยูคาลิบตัส (บ้านนอแล),ไม้กระถางสาธิต(บ้านขอบด้ง)
3.4 งานส่งเสริมสตรอเบอรี่ มีการแนะนาเกษตรกรบ้านขอบด้งในการเก็บผลผลิตสตรอเบอรี่ที่ถูกต้องเพื่อจาหน่าย และวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูสตรอเบอรี่ รวมถึงการให้ปุ๋ย เป็นต้น
3.5 งานส่งเสริมไม้ผล ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูก บ๊วย, พี้ช, สาลี่, พลับ, และแนะนำวิธีการเปลี่ยนพันธุ์ ต่อกิ่ง การให้ปุ๋ย และ การดูแลรักษา
3.6 งานส่งเสริมกาแฟ มีการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ดูแลถึงวิธีการให้ปุ๋ย การใช้สาร เพื่อป้องกันโรคและแมลง
3.7 งานส่งเสริมพืชไร่ ส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกลินิน และ ปลูกข้าวบาร์เล่ย์ (เพื่อทาดอกไม้แห้ง)
3.8 งานป่าชาวบ้าน ส่งเสริมชาวเขาเผ่าปะหล่องที่เข้าร่วมโครงการป่าชาวบ้านปลูกป่าพวกพรรณไม้โตเร็วของประเทศไต้หวันและมีการตัดแต่งกิ่งไม้ที่โตแล้วนาไปใช้งาน (ทำฟืน)
คุณมณพัฒ ยานนท์ เจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ผู้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
คุณลุงจำรัส อินทร อดีตเจ้าหน้าที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ผู้ใกล้ชิดการทรงงานของพระองค์
ทั้งนี้เครือข่ายสานต่อที่พ่อทำ เชื่อว่าวิธีที่จะแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ดีที่สุดคือ การสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ท่านให้ยั่งยืนสืบไป โครงการ เดิน ทาง พ่อ จึงขอตั้งใจทำงานเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมเดินทางได้เรียนรู้และบอกต่อสิ่งที่พ่อสร้างไว้ พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจให้คนรุ่นต่อไปได้รับรู้ถึงความมุ่งมั่นที่พระองค์ทรงทำเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร
ผู้ร่วมทริปได้รับรู้เรื่องการมาทรงงาน ความยากลำบากของเส้นทางการเดินป่า การปลูกป่า และการปลูกพืชทดแทน รู้ที่มาของชื่อ ไร่ชา 2000 อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการมองการณ์ไกล พระองค์ทรงมีหลักการในการทำงาน จากพระราชดำรัสที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หมายถึง เข้าใจ “ภูมิสังคม” ของชนเผ่าต่างๆ เข้าถึงโดยทรงคลุกคลีกับกลุ่มชาวเขาจริงๆ เมื่อเข้าใจและเข้าถึงแล้วก็นำไปสู่การพัฒนา สิ่งนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่ในโครงการหลวงนำมาใช้กับการทำงานงานวิจัยและพัฒนาไม้ผลไม้ดอกและพืชผักในโครงการหลวงมาโดยตลอด อีกทั้งพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อชนเผ่าต่างๆจนหาที่สุดมิได้ ทรงพระราชทาน “โรงเรียนบ้านขอบด้ง” แก่เด็กชาวเขาให้มีการศึกษา ให้พวกเขามีสัญชาติไทย มีบัตรประชาชน และมีพื้นที่ทำกิน
สุดท้ายพาไปชมพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) พิพิธภัณฑ์เป็นที่ท่องเที่ยวเชิงการศึกษาด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงแนวพระราชดาริในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้รับรู้เรื่องการทรงงานผ่านห้องจัดแสดงต่างๆ ความตั้งใจของพระองค์ท่าน ที่ทั้งลองผิดลองถูกเพื่อให้ผลงานออกมาสามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้จริง พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) จึงเป็นสถานที่ที่ทำให้ได้ตกตะกอนและรวบยอดความคิดของผู้เข้าร่วมทริปได้เป็นอย่างดี
สำหรับการเดินทางสู่ดอยอ่างขางในครั้งนี้ ทำให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ กับการเดินตามรอยเท้าพ่อ ไปยังสถานที่ที่หยาดเหงื่อของพ่อเคยหลั่งริน จนสามารถพลิกฟื้นป่าฝิ่นให้กลายเป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ แก่เกษตรกรชาวเขาในหมู่บ้านรอบๆ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และในวันนี้เราทุกคนจะได้ร่วมกันสานต่อสิ่งที่พ่อทำไว้ เพื่อให้ปณิธานของพ่อยังคงอยู่ตลอดไป พวกเราจะร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวของพ่อต่อคนรุ่นต่อๆไป #สานต่อที่พ่อทำ #เดินทางพ่อ